ผลการฝึกการเคลื่อนที่ในแนวชันที่มีต่อความสามารถในการเลี้ยงลูกฟุตบอล ของนักกีฬาฟุตบอลรุ่นอายุ 15–18 ปี โรงเรียนจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเคลื่อนที่ในแนวชันและเปรียบเทียบระหว่างการฝึกการเคลื่อนที่ในแนวชันร่วมกับการฝึกตามปกติ กับการฝึกตามปกติของนักกีฬาฟุตบอล ก่อนและหลังการฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกการเคลื่อนที่ในแนวชัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตบอล รุ่นอายุ 15–18 ปี ของโรงเรียนจอมทอง จำนวน 40 คน ที่มีทักษะการเลี้ยงลูกฟุตบอลใกล้เคียงกัน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยการจับกลุ่มแบบ Matching Group คือ กลุ่มควบคุม จำนวน 20 คน และกลุ่มทดลอง จำนวน 20 คน กลุ่มควบคุมได้รับการฝึกตามปกติ และกลุ่มทดลองได้รับการฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกการเคลื่อนที่ในแนวชันร่วมกับการฝึกตามปกติ โดยฝึกวันละ 2 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 3 วัน จำนวน 8 สัปดาห์ต่อเนื่อง แล้วทำการทดสอบทักษะการเลี้ยงลูกฟุตบอล ก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4, 6 และ 8 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมการฝึกการเคลื่อนที่ในแนวชัน 2) โปรแกรมการฝึกตามปกติ 3) แบบทดสอบความสามารถในการเลี้ยงลูกฟุตบอล ในการหาคุณภาพเครื่องมือ (ดัชนีความสอดคล้อง) จากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้ค่า IOC = 0.94 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ Independent sample t-test
ผลการวิจัยพบว่า การเคลื่อนที่ในแนวชันของนักกีฬาฟุตบอล พบว่า เวลาในการเลี้ยงลูกฟุตบอลก่อนการฝึก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 18.67 วินาที หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 18.27 วินาที หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 6 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.12 วินาที และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.10 วินาที และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมพบว่า การฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกการเคลื่อนที่ในแนวชันร่วมกับการฝึกตามปกติและการฝึกตามปกติก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4, 6 และ 8 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Khakhai, T. & Kaewjaraswilai, T. (2024). Effects of agility training program combined with ball dribbling skills of football athletes of Chaloem Phrakiat Somdej Phra Srinagarindra Samut Sakhon School. Sikkha Journal of Education, 11(1), 52-60.
Krabuanrat, C. (2014). Science, sports training. Bangkok: Sinthana Copy Company.
Onsoi, A. & Siriratpaiboon, P. (2012). Football. Nonthaburi: Temrak Printing.
Panyo, K. (2017). Body Conditionning. Chiang Mai University: Faculty of Education.
Paradisis, G. P., & Cooke, C. B. (2001). Kinematic and postural characteristics of sprint running on sloping surfaces. J Sports Sci, 19(2), 149-159.
Poolsri, W. (2017). The results of physical education learning using simulation situations on football skills for the safety of upper primary school students. (Master’s Thesis). Chulalongkorn University. Bangkok.
Sanphasit, C. (2019). Development of a complex training model to increase the acceleration ability of sprinters aged 14-16 years. (Doctoral Dissertation). Chulalongkorn University. Bangkok.
Suksai, P. (2005). Development of a training program to improve the onset of fatigue in football athletes. (Master’s Thesis). Chulalongkorn University. Bangkok.