แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 1

Main Article Content

ฐานิตา หล่องคำ
ปณตนนท์ เถียรประภากุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 2. ศึกษาแนวทางการการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา รักษาการผู้บริหารสถานศึกษาและครู ในสถานศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 1 จำนวน 234 คน และกลุ่มเป้าหมายในการตรวจสอบร่างแนวทาง ได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ประเด็นการสนทนากลุ่มและแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นและการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า


1.ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 1 ด้านความรู้และทักษะทางดิจิทัล เป็นลำดับที่หนึ่ง (PNI modified = 0.210) ด้านการบริหารสภาพแวดล้อมและการใช้เครือข่ายดิจิทัล เป็นลำดับที่สอง (PNI modified = 0.209) ด้านการสร้างวัฒนธรรมดิจิทัล เป็นลำดับที่สาม (PNI modified = 0.208) ด้านการเสริมสร้างแรงจูงใจทางดิจิทัล เป็นลำดับที่สี่ (PNI modified = 0.196) ด้านการสื่อสารดิจิทัล เป็นลำดับที่ห้า (PNI modified = 0.186) และ ด้านวิสัยทัศน์และการเป็นต้นแบบทางดิจิทัล เป็นลำดับที่หก (PNI modified = 0.137)


2.ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 1 พบว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 36 แนวทาง ประกอบด้วย ด้านความรู้และทักษะทางดิจิทัล จำนวน 6 แนวทาง ด้านการบริหารสภาพแวดล้อมและการใช้เครือข่ายดิจิทัล จำนวน 6 แนวทาง ด้านการสร้างวัฒนธรรมดิจิทัล จำนวน 6 แนวทาง ด้านการเสริมสร้างแรงจูงใจทางดิจิทัล จำนวน 6 แนวทาง ด้านการสื่อสารดิจิทัล จำนวน 6 แนวทาง และด้านวิสัยทัศน์และการเป็นต้นแบบทางดิจิทัล จำนวน 6 แนวทาง

Article Details

How to Cite
หล่องคำ ฐ., & เถียรประภากุล ป. (2024). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 1. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 13(3), 153–168. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/273104
บท
บทความวิจัย

References

Chaemchoi, S. (2019). Educational institution administration in the digital age. 2nd printing: Chulalongkorn University.

Chawanapaisan, J. (2020). Guidelines for developing technological leadership of group educational institution administrators Saha Dvaravati Campus Under the Suphanburi Secondary Educational Service Area Office. (Master’s Thesis). Silpakorn University. Bangkok.

Keesukphan, E. (2018). School management in the digital age. Retrieved December 9, 2022, from https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/52232/-edu-t2s1-t2-t2s3-

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Prommin, P. & Wihakto, P. (2020). Development of leadership styles of school administrators in the digital era. Under the jurisdiction of the Secondary Educational Service Area Office 5, Lopburi Province. Journal of Buddhist Social Sciences and Anthropology, 5(8), 37.

Somjai, S. (2018). Educational institution administration with technological leadership. Dusit Thani College Journal, 12(1), 350-363.

Suksaen, K., & Trirat, P. (2021). Digital leadership development model of school administrators in Affiliated Foundation of the Saint Gabriel Society of Thailand. Journal of Buddhist Anthropology, 6(7), 129-146.

Wansri, J. (2021). Educational management in the digital age. Phitsanulok: Rattanasuwan Printing 3.

Wonglorsaichon, B., Wongwanich, S., & Wiratchai, N. (2014). The influence of students school engagement on learning achievement: A structural equation modeling analysis. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 116, 1748-1755.

Wongruthaiwattana, M. (2019). A small school administration model of Digital era to excellence under Chai Nat Primary Educational Service Area Office. Journal of Humanities and Social Sciences Valaya Alongkorn, 14(2), 22-30.

Yaidee, C. (2018). Study of guidelines for developing technology leadership of educational institution administrators Under the Nakhon Ratchasima Provincial Administrative Organization. Journal of Doctoral Studies in Social Sciences, 8(1), 150-164.