การรับรู้และการเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน จังหวัดขอนแก่น ตามหลักสังคหวัตถุ 4

Main Article Content

สิทธิพร เกษจ้อย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและสภาพปัญหาของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน จังหวัดขอนแก่น 2) การรับรู้และการเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลของนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน จังหวัดขอนแก่น ตามหลักสังคหวัตถุ 4 และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการจัดบริการเกี่ยวกับการรับรู้และการเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลของนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน จังหวัดขอนแก่น และการสร้างกลไกลการรับรู้และการเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลตามหลักสังคหวัตถุ 4


ผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Research Methodologies) โดยการใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามจากกลุ่มประชากรตัวอย่างจำนวน 262 คนและการสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งเป็นตัวแทนนักศึกษาจาก 9 สาขาวิชา สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เพียร์สันไคว์สแควร์ (Pearson chi-square) F-test( one way-anova) และวิเคราะห์เนื้อหาจากแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า


ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 262 คน ร้อยละ 67.90 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 29.80 เป็นเพศชายร้อยละ 27.10 มีอายุระหว่าง 20-25 ปี ร้อยละ 29.80 ศึกษาในชั้นปีที่ 1 ร้อยละ 24.40 ศึกษาในสาขาวิชาการสอนภาษาไทย ร้อยละ 38.20 ครอบครัวมีรายได้ระหว่าง 5,000-10,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 59.20 ไม่เคยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลนอกเขตอำเภอที่อาศัยอยู่ ร้อยละ 77.90 ไม่ทราบเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการรักษาพยาบาลในภาวะฉุกเฉิน พ.ศ.2551 และ ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับการกำหนดผู้ป่วยฉุกเฉิน พ.ศ.2561 ร้อยละ 94.30 ไม่รู้เกี่ยวกับการเข้ารับบริการจากบริการ 30 บาทรักษาทุกโรค ร้อยละระดับการรับรู้และการเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลของนักศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( equation= 3.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า สิทธิการบริการด้านสุขภาพ มีค่าเฉลี่ย ( equation= 3.51) สิทธิการปกปิดข้อมูลและความเป็นส่วนตัว มีค่าเฉลี่ย ( equation= 3.51) สิทธิการรับรู้ข้อมูลที่เพียงพอและชัดเจนมีค่าเฉลี่ย ( equation= 3.51) และสิทธิความปลอดภัยในการรักษาพยาบาลมีค่าเฉลี่ย ( equation= 3.51) ตามลำดับ และสาขาวิชาไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้พระราชบัญญัติการรักษาพยาบาลในภาวะฉุกเฉิน พ.ศ.2551 และ ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับการกำหนดผู้ป่วยฉุกเฉิน พ.ศ.2561 และ การจัดบริการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรค

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

BBC News. (2020). Covid 'raises new psychiatric disorders risk'. Retrieved September 2, 2022, from https://www.bbc.com/news/health-54874010

Mahamakut Buddhist University Isan Cmapus. (2023). MBUISC Registration Office. Khonkaen: Klung NaNa Vitdaya Press.

National Health Security Office.( 2022). Medical Health Care Right. Retrieved March 19, 2023, from https://www.nhso.go.th/page/coverage_rights_authentication

Nakarawong, A. (2012). The Awaness of Outpatient Unit of Private Hospital, Hat Yai District, Songha Province. (Master’s Thesis). Thaksin University. Songha.

Piankaew, R. ( 2020). Field Work Practicum, Khonkaen Hospital. Khonkaen: Mahamakut Buddhist University Isan Campus.

Right and Liberties Department Ministry of Justice. (2018). National Human Right Plan No.4th (2562 B.E- 2566 B.E) .Retrieved June 20, 2022, from http://www.fio.co.th /fioWebdoc64/p640330.pdf

Rubama, M. et al. ( 2019). Medical Right Awareness of The People in Hat Yai Distirict, Songha Province. Proceeding 10th National Academic Conference. Walailak University.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). Harper and Row: New York.