แนวทางการบริหารกิจกรรมหลักขององค์การนักวิชาชีพในอนาคต แห่งประเทศไทยสำหรับสถานศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในเขตภาคเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารกิจกรรมหลักขององค์การ นักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทยสำหรับสถานศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในเขตภาคเหนือ 2) ศึกษาแนวทางการบริหารกิจกรรมหลักขององค์การนักวิชาชีพ ในอนาคตแห่งประเทศไทยสำหรับสถานศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในเขตภาคเหนือ ประชากร ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 24 คน รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักเรียน นักศึกษา จำนวน 24 คน หัวหน้างานกิจกรรมนักเรียน นักศึกษา จำนวน 24 คนและ ครูที่ปรึกษา อวท. จำนวน 24 คน รวมจำนวน 96 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพการบริหารกิจกรรมหลักขององค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทยของสถานศึกษาศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในเขตภาคเหนือ มีลักษณะเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพการบริหารกิจกรรมหลักขององค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทยของสถานศึกษาศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในเขตภาคเหนือ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านการวางแผนมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านการดำเนินงาน และด้านการประเมินผลและการรายงานผล ตามลำดับ
2) แนวการบริหารกิจกรรมหลักขององค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทยของสถานศึกษาศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในเขตภาคเหนือมีจำนวนแนวทางทั้งสิ้น 11 แนวทาง แบ่งเป็น ด้านการวางแผน จำนวน 4 แนวทาง ด้านการดำเนินงานจำนวน 4 แนวทาง ด้านการประเมินผลและการรายงานผล จำนวน 3 แนวทาง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Bangmo, S. (2015). Organization and Management. Bangkok: June Publising Company Limited.
Chantarawong, K. (2019). Student Council Management Based on the Concept of Democratic Citizenship of Secondary School Students. (Master’s Thesis). Chulalongkorn University. Bangkok.
Isniah, S., Purba, H., & Debora, F. (2020). Plan do check action (PDCA) method: literature review and research issues. Journal Sistem dan Manajemen Industri, 4(1), 72-81.
Khakhai, N. (2019). The Management of Student Activities Section Using Participatory Approach of Chiangmai Thepbodint Withaa School. (Master’s Thesis). Chiangmai Rajabhat University. Chiangmai.
Meechart, W. (2016). Organizational Management. Bangkok: Chulalongkorn University Printery.
Office of National Economic and Social Development Council. (2018). National Strategy Goals (2018 – 2037). Bangkok: Office of National Economic and Social Development Council.
Office of the Vocational Education Commission. (2017). Guideline for Regulations About Association of Future Thai Professional. Bangkok : Office of the Vocational Education Commission.
Office of the Vocational Education Commission. (2019). Aseeesment of Association of Future Thai Professional. Bangkok: Office of the Vocational Education Commission.
Wirachnipawan, W. (2021). Management Administration and Development Administration. Bangkok: expernetbooks.
Yimwilai, C. (2014). Development of Public Administration: Part Present and Future. Bangkok: SJ Printing.