นวัตกรรมการบริหารจัดการการเรียนรู้สู่การศึกษา 4.0 ของโรงเรียนวัดหมื่นพุทธวิทยา

Main Article Content

พระปวรนันท์ แซ่ลี
ประเวศ เวชชะ
สุวดี อุปปินใจ
สมเกียรติ ตุ่นแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนวัดหมื่นพุทธวิทยา อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย 2.เพื่อศึกษาเหตุปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการบริหารจัดการการเรียนรู้สู่การศึกษา 4.0 ของโรงเรียนวัดหมื่นพุทธวิทยา อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ด้านพื้นที่วิจัย โรงเรียนวัดหมื่นพุทธวิทยาที่กำลังศึกษาเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ ณ วัดหมื่นพุทธเมตตาคุณาราม ซึ่งจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา และเป็นการศึกษาพระพุทธศาสนาทั้งแผนกบาลีสนามหลวงและธรรมสนามหลวง ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้แก่ พระภิกษุ และ สามเณร สังกัด สำนักงานการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างแบบออนไลน์ จาก Creative Research Systems ในระดับความเชื่อมั่นที่ 95% ได้แก่ ผู้บริหาร ครู กรรมการสถานศึกษา และนักเรียน รวมจำนวน 119 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการหลักสูตรสู่ห้องเรียน (2) การสัมภาษณ์เชิงลึก (3) การสนทนากลุ่ม และ(4) แบบวิเคราะห์เอกสาร


ผลการวิจัย พบว่า


1.สภาพการบริหารจัดการการเรียนรู้สู่การศึกษา 4.0 ของโรงเรียนวัดหมื่นพุทธวิทยาในภาพรวม อยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับดี โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการสนับสนุนการใช้หลักสูตรระดับห้องเรียน รองลงมาคือ ด้านการนิเทศกำกับติดตามหลักสูตรระดับห้องเรียน ด้านการนำหลักสูตรระดับห้องเรียนไปใช้ และด้านการวางแผนการนำหลักสูตรระดับห้องเรียนไปใช้ ตามลำดับ 


2. เหตุปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการบริหารจัดการการเรียนรู้สู่การศึกษา 4.0 ของโรงเรียนวัดหมื่นพุทธวิทยา อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย พบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวกับการบริหารและผู้บริหาร คือ ระบบการบริหารโรงเรียนที่ดี มีความชัดเจนตามกระบวนการ PDCA และโรงเรียนที่มีคุณภาพจะมีระบบของการนิเทศที่ดี ซึ่งช่วยให้ได้ข้อมูลใน การพัฒนา ปรับปรุง และแก้ไข ที่นำไปสู่ความสำเร็จในการทำงาน ซึ่งการนิเทศอาจประกอบด้วย การนิเทศจากต้นสังกัด การนิเทศของผู้บริหารโรงเรียน การนิเทศของบุคลากรในโรงเรียน ประกอบด้วย นวัตกรรมการบริหารจัดการการเรียนรู้สู่การศึกษา 4.0 ของโรงเรียนวัดหมื่นพุทธวิทยาวิทยา อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย หรือ 4E model ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ คือ E1: Emphasis on management  E2: Emphasis  on Learning  E3: Emphasis  on curriculum to the classroom และ E4: Emphasis on student characteristics มีความเหมาะสม ร้อยละ 98.15และความเป็นไปได้ ร้อยละ 95.19 ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะ กระบวนการได้มาซึ่ง 4E model มีการดำเนินการการโดยเริ่มจาการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของโรงเรียน อีกทั้งทั้ง 4 ประเด็นเป็นหัวใจหลักในการบริหารจัดการการเรียนรู้สู่การศึกษา 4.0

Article Details

How to Cite
แซ่ลี พ. . ., เวชชะ ป. . ., อุปปินใจ ส. . ., & ตุ่นแก้ว ส. . (2024). นวัตกรรมการบริหารจัดการการเรียนรู้สู่การศึกษา 4.0 ของโรงเรียนวัดหมื่นพุทธวิทยา. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 13(3), 218–233. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/273700
บท
บทความวิจัย

References

Asavapoom, S. (2014). Model for integrating internal quality assurance system with management Educational institutions for medium-sized basic facilities. Bangkok: Chulalongkorn University.

Khaemmanee, T. (2014). Teaching science: knowledge for organizing an effective learning process. (18th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Lapanchokdee, W. (2017). Factors affecting and development of the educational quality level of basic educational institutions from the results of three rounds of external quality assessment of ONESQA. Bangkok: Office of Educational Standards and Quality Assessment.

Ministry of Education. (2016). Announcement of the Ministry of Education regarding the use of basic education standards for internal quality assurance of educational institutions. Bangkok: Ministry of Education.

Office of the Basic Education Commission. (2003). Guidelines for preparing school curriculum. Bangkok: Office.

Office of the Secretariat of the Education Council. (2021). Innovation in educational institution management in Thailand and selected countries to develop students into the 21st century. Bangkok: Office of the Secretariat of the Education Council.

Salleh, H. et al.. (2020). A research agenda for professional learning communities: moving forward. Professional Development in Education, 43(1), 72-86.

Sinthukhet, P. (2017). Education in this era (digital era): Thailand 4.0. (Master’s Thesis). Lampang Rajabhat University. Lampang.

Wat Muean Phuttha Wittaya School. (2022). Self-evaluation report of the educational institution, academic year 2022, Wat Muen Phuttha Witthaya School. Chiang Rai: Wat Muean Phuttha Wittaya School.

Watjinda, A. (2017). Innovation. Retrieved May 3, 2023, from https://www.hrcenter.co.th/file/columns/hr_f_20170510_162245