การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้ พุ่งเข้าชนกับผลของโมเมนตัม และความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับเทคนิคการคิด-พูด-เขียน

ผู้แต่ง

  • นิติภูมิ โด่งพิมาย สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • วาสนา กีรติจำเริญ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2024.23

คำสำคัญ:

ปรากฏการณ์เป็นฐาน, เทคนิคคิด-พูด-เขียน, ความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

ที่มาและวัตถุประสงค์การวิจัย: การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน เป็นการนำปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงมาเป็นจุดเริ่มต้นในการเรียนรู้ เพื่อนำไปเชื่อมโยงกับชีวิตจริงและสอดคล้องกับเป้าหมายของความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ หลังการจัดการเรียนรู้กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และเปรียบเทียบความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับเทคนิคการคิด-พูด-เขียน

          ระเบียบวิธีวิจัย (วิธีดำเนินการวิจัย): การวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น โดยใช้กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว จำนวน 40 คน ด้วยการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ ที่มีค่าความเหมาะสมเท่ากับ 4.93 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ค่าความเชื่อมั่น (KR-20) เท่ากับ 0.91 และแบบวัดความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ที่มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาคอนบราค เท่ากับ 0.71 ในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการทดลองตามแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 4 แผนละ 4 ชั่วโมง รวมทั้งหมด 16 ชั่วโมง โดยทำการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานในการทดสอบสมมติฐานการวิจัย โดยใช้สถิติการทดสอบที (t-test) เปรียบเทียบระหว่างค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับเกณฑ์และค่าเฉลี่ยกับความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ตามวิธีทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่ม (One sample t-test for the mean)

          ผลการวิจัย: นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (x̄=14.65) สูงกว่าก่อนเรียน (x̄=8.00) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเท่ากับเกณฑ์ร้อยละ 70 (p=0.185) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ หลังเรียน (x̄=8.40) สูงกว่าก่อนเรียน (x̄=13.88) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

          อภิปรายผล: การเพิ่มขึ้นของผลการเรียนและความฉลาดรู้ทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนที่สูงขึ้น ขณะที่ผลสัมฤทธิ์กับเกณฑ์การเรียนรู้ก่อนและหลังไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้ การจัดการเรียนรู้ยังได้แสดงถึงการรับข้อมูลย้อนกลับทางกระบวนการเรียนการสอนที่ถูกออกแบบมาให้ตรงกับศักยภาพตามระดับการเรียนรู้อย่างเหมาะสม จึงกล่าวได้ว่าปัจจัยสภาพแวดล้อมการเรียนที่ดี การมีส่วนร่วม การได้รับการสนับสนุนจากครูผู้สอน ร่วมกับการเน้นเนื้อหาที่มีความน่าสนใจและท้าทาย สามารถบ่งชี้ถึงความสำคัญของการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการในวิชาวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา

          ข้อเสนอแนะ: ขนาดตัวอย่างที่เพียงพอมีความสำคัญต่อการทดสอบสมมติฐานและการใช้สถิติทดสอบที (t-test) ดังนั้น จึงควรให้ความสำคัญในการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างเพื่อให้ผลการวิจัยมีความน่าเชื่อถือและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง

References

Akkas, E., & Eker, C. (2021). The effect of phenomenon-based learning approach on students' metacognitive awareness. Journal of Educational Research and review, 16(5), 181-188.

Bureau of Academic Affairs and Educational Standards at Office of the Basic Education Commission. (2010). Guidelines for Measuring and Evaluating Learning Outcomes According to the Basic Education Core Curriculum, 2008 (2nd ed.). The Agricultural Co-operative Federation of Thailand.

Campbell, D. T., & Stanley, J. C. (1969). Experimental and quasi-experimental designs for research. Houghton Mifflin.

Chaiseeha, N., & Intasena, A. (2022). Learning management using Think Talk Write Learning Activities techniques to improve Mathematical problem solving ability for Mathayomsuksa 2 student. Journal of Roi Kaensarn Acadami, 7(11), 146-159.

Funfuengfu, V. (2022). The development of phenomenon-based learning Model for enhancing Active learning Competencies of Teacher Student. International journal of Positive School Psychology, 6(7), 1366-1377.

Huinker, D., & Laughlin,C. (1996). Talk your way into writing. In P. Elliott & M. Kenny (eds.), Communication in mathematics, K-12 and beyond (pp. 81-88). National Council of Teacher of Mathematics.

Keeratichamroen, W., & Phonnong, I. (2020). A comparison of learning of learning achievement and communication skills for undergraduate students using 5E inquiry-based Leraning and Phenomenon-based Learning. NRRU Community Research Journal, 14(1), 29-43. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.3

Kuder, G., & Richardson, M. (1937). The theory of estimation of test reliability. Psychometrika.

Milton, J. S., & Arnold. J. C. (1995). Introduction to Probability and Statistics (3rd ed.). McGraw-Hill.

Ministry of Education. (2022). Announcement from the Thai Ministry of Education on education management policies for fiscal year 2023-2024. Bureau of Policy and Strategy.

Muhaini, R. N., Putro, N. H. P. S., & Istiyono, E. (2023, December). The effect of think talk write learning model on students’ cognitive biology learning outcomes. In AIP Conference Proceedings (Vol. 2621, No. 1). AIP Publishing.

Pengsantia, S., Tulmethakaan, M., & Suwathanpornkul, I. (2022). Effect of Learning Management by Using Phenomenon-based Learning on Critical Thinking and Creative Thinking of Grade 12 Students. Journal Silpakorn Educational Research, 13(2), 240-257.

Phimai Wittaya School. (2022). Number of Grade 7 and 10 Students in School Classifiled by Study Plans [Unpublished document]. Phimai Wittaya School.

Purwita, T. D., Sari, L. P., & Wilujeng, I. (2020). Utilizing of TTW (Think-Talk-Write) instructional model in the use of pictorial riddle-aided student worksheets for students’ critical thinking skills enhancement. In Journal of Physics: Conference Series (Vol. 1440, No. 1, p. 012046). IOP Publishing. 10.1088/1742-6596/1440/1/012046

Rosana, D., Widodo, E., Setianingsih, W., & Setyawarno, D. (2020). Developing assessment instruments of PISA model to measure students’ problem-solving skills and scientific literacy in junior high schools. Jurnal Pendidikan Sains Indonesia (Indonesian Journal of Science Education), 8(2), 292-305. https://doi.org/10.24815/jpsi.v8i2.17468

Saengchan, S., & Kijkuakul, S. (2023). Phenomenon-based learning Approach Promoting Scientific Literacy on the Buoyancy of Liquids for 8th Grade Students. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(9), 56-73.

Sankaburanurak S., Kornpiphat W., Chukieatwattanakul W., & Thongteangyai, P. (2020). Developing learning skills that are related to real life by phenomenon based learning, learning styles from Finland. Chinese Studies Journal, 13(1), 61-81.

Santhalia, P. W. & Yuliati, L. (2021). An Exploration of Scientific Literacy on Physics Subjects within Phenomenon-based Experiential Learning. Journal Penelitian Fisika dan Aplikasinya (JPFA), 11(1), 72-81.

Shohib, M., Rahayu, Y. S., Wasis, W., & Hariyono, E. (2021). Scientific literacy ability of junior high school students on static electricity and electricity in living things. IJORER: International Journal of Recent Educational Research, 2(6), 700-708. https://doi.org/10.46245/ijorer.v2i6.170

Srisa-ard, B. (2011). Basic Research (9th ed.). Suweeriyasan.

Sthapitanonda, P. (2014). Communication Research Methods. (7th ed. (Rev. ed.)). Chulalongkorn University.

Tanya, S. (2012). Educational Research Methodology. Faculty of Education at Nakhon Ratchasima Rajabhat University.

Taylor, C. (2022). Phenomenon-based Instruction in the Elementary Classroom: Impact on Student Engagement and Student Achievement in Science Content Learning [Doctoral dissertation, Boise State University]. https://scholarworks.boisestate.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=3089&context=td

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2017). Student evaluation structure framework for the PISA 2015 project. Evaluation framework.

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2023, December 6). Press Conference on PISA Evaluation Results 2022. Press Conference. https://pisathailand.ipst.ac.th/news-21/

The Organization for Economic Co-operation and Development. (2023). PISA 2022 assessment and analytical framework. OECD Publishing.

ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดการวิจัย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-11

How to Cite

โด่งพิมาย น., & กีรติจำเริญ ว. (2024). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้ พุ่งเข้าชนกับผลของโมเมนตัม และความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับเทคนิคการคิด-พูด-เขียน. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 18(3), 397–411. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2024.23