ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นหนี้นอกระบบของประชาชนในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล

Main Article Content

พรทิพย์ แสงช่วง
ศิวพงศ์ ธีรอำพน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของประชาชนที่เป็นหนี้นอกระบบในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล 2) ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านพฤติกรรมที่มีผลต่อการเป็นหนี้นอกระบบของประชาชนในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ทำการเก็บแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 400 คน และนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่ออธิบายถึงปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ที่เป็นหนี้นอกระบบ และสถิติเชิงอนุมานใช้แบบจำลอง Heckman Two Step ในการอธิบายถึงปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการเป็นหนี้นอกระบบของประชาชนในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ที่เป็นหนี้นอกระบบส่วนใหญ่ คือ เพศหญิง ระดับอายุต่ำกว่า 31 ปี มีระดับการศึกษาอยู่ระดับต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายมีอาชีพเป็นพ่อค้า/แม่ค้าซึ่งเป็นอาชีพที่มีระดับรายได้ที่ไม่แน่นอน ระดับรายได้ต่ำกว่า 7,000 บาท สถานภาพหย่าร้าง/แยกกันอยู่ จำนวนสมาชิกในครอบครัวมากกว่า 5 คน ขึ้นไป และจำนวนสมาชิกที่อยู่ในความดูแลรวมผู้ที่อยู่ในวัยเรียนและวัยเกษียณจำนวน 2 คน 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกู้ยืมหนี้นอกระบบของประชาชนในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล คือ เพศ ตามด้วยปัจจัยด้านการบริการของแหล่งกู้ยืมนอกระบบ อาชีพ ระดับรายได้ต่อคนต่อเดือน สถานภาพของบุคคล ปัจจัยด้านรายได้ ปัจจัยด้านการเข้าถึงแหล่งกู้ยืมในระบบ จำนวนสมาชิกในครอบครัว และปัจจัยพฤติกรรม ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2562). หนี้ครัวเรือนปี 62 สูงสุดประวัติการณ์ 3.4 แสนบาท. ค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/85635.

ขรรค์ชัย อนันตสมบูรณ์. (2556). การคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของประชาชนกรณีความเหลื่อมล้ำด้านปัญหาหนี้สินนอกระบบ. ค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2563, จาก http://www.constit utionalcourt.or.th/ occ_web/ ewt_dl_link.php?nid=1219.

ชฎาภรณ์ ณ นคร. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดหนี้นอกระบบในครัวเรือนของประชากรในเขตเทศบาลเมืองปากพูน

อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช. การค้นคว้าอิสระปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ชวโรจน์ แย้มกลิ่น. (2554). พฤติกรรมการก่อหนี้นอกระบบของผู้ค้าในตลาดกลางเพื่อการเกษตรตำบลตะพง จังหวัดระยอง. การศึกษาปัญหาพิเศษปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

ฐิติพร ทรัพย์สถิตย์, พัชรพงค์ โพธิตะนัง, สันติ สายเพชร, สิทธิศักดิ์ คำฟู และเอกพงษ์ พัฒชนะ . (2554). รายงานการวิจัยการก่อหนี้นอกระบบของประชาชนในเขตมีนบุรี กรุงเทพฯ (รายงานการวิจัยสาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ). มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

ฐานิตา มีลา. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นหนี้นอกระบบของชาวนา ในเขตอำเภอปากท่อจังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นภา ศรีนวล. (2555). มูลเหตุการเป็นหนี้นอกระบบของเกษตรกรในเขตอำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม (วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิชญ์พล พาณิชย์กุลไพศาล. (2558). พฤติกรรมการเป็นหนี้นอกระบบของประชาชนในตำบลสันกำแพง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วนิศา โชคปลอด. (2554). การเป็นหนี้นอกระบบของพนักงาน: กรณีศึกษา นิคมสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ศรีราชา จังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

วลายุ ถาวรวิริยะนันท์. (2548). แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมกับหนี้นอกระบบ (การศึกษาปัญหาพิเศษปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุกัญญา บุญศิริ. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการก่อหนี้นอกระบบของผู้ค้าปลีกสินค้าเกษตร ในตลาดสด สังกัดสำนักงานตลาดกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สันติ แก้วพินิจ. (2553). หนี้นอกระบบ: สาเหตุและผลกระทบที่มีต่อข้าราชการตำรวจชั้นประทวน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 31 ค่ายเจ้าพระยาจักรี (การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). เศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สองของปี 2562 และแนวโน้มปี 2563. ค้นเมื่อ 21 กันยายน 2563, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=10518&filename =QGDP_report

สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2558). กฎหมายค้ำประกันและการจำนองที่แก้ไขเพิ่มเติม: ความเป็นธรรมแก่ผู้ค้ำประกันและผู้จํานอง.ค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2563, จากhttps://library2. parliament. go.th/ejournal/content_af/2558 /aug2558-1.pdf

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techiques. (3nd ed.). New York: John Wiley & Sons, Inc.

Numbeo. (2019). Cost of Living. Retrieved May 20, 2020 from https://www.numbeo.com/cost-of-living/country_result.jsp?country= Thailand