กลวิธีการปฏิเสธคำแนะนำของผู้เรียนภาษาไทยชาวจีน: การศึกษาตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์ภาษาระหว่างกลาง

Main Article Content

รุย หลิว
ประไพพรรณ พึ่งฉิม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการตอบปฏิเสธคำแนะนำของผู้เรียนภาษาไทยชาวจีน โดยเปรียบเทียบกับผู้พูดภาษาไทยและผู้พูดภาษาจีนกลาง ผลการวิจัยพบว่า กลวิธีที่ผู้เรียนภาษาไทยชาวจีนนิยมเลือกใช้ในการตอบปฏิเสธคำแนะนำ 3 อันดับแรก ได้แก่ กลวิธีการให้เหตุผล กลวิธีการขอบคุณ และกลวิธีการปฏิเสธคำแนะนำแบบตรงไปตรงมา ส่วนผู้พูดภาษาไทยนิยมเลือกใช้กลวิธีการให้เหตุผล กลวิธีเกี่ยวกับทางเลือก และกลวิธีการขอบคุณตามลำดับ สำหรับผู้พูดภาษาจีนกลางนิยมเลือกใช้กลวิธีการให้เหตุผลมากที่สุด และนิยมเลือกใช้กลวิธีการปฏิเสธคำแนะนำแบบตรงไปตรงมา และกลวิธีการขอบคุณเป็นอันดับสอง ส่วนกลวิธีที่นิยมเลือกใช้เป็นอันดับสาม คือ กลวิธีเกี่ยวกับทางเลือก นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้เรียนภาษาไทยชาวจีนมีการใช้กลวิธีการตอบปฏิเสธหลากหลายกว่าผู้พูดภาษาไทยและผู้พูดภาษาจีนกลาง ในด้านการปรากฏร่วมของกลวิธีพบว่า ผู้เรียนภาษาไทยชาวจีนใช้กลวิธีร่วมกันเพื่อปฏิเสธมากกว่าผู้พูดภาษาไทยและผู้พูดภาษาจีนกลาง

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

รุย หลิว, คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภาควิชาภาษาไทย

ประไพพรรณ พึ่งฉิม, คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภาควิชาภาษาไทย

References

ภาษาไทย

ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2555). การวิเคราะห์ภาษาไทยตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 2201783, กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (อัดสำเนา).

ปาริดา สุขประเสริฐ. (2552). กลวิธีและโครงสร้างปริจเฉทของการให้คำแนะนำในภาษาไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

พิริยา สุรขจร. (2558). การศึกษาเปรียบเทียบสำนวนจีนพุทธศาสนากับสำนวนไทยที่มีความหมายใกล้เคียงกัน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,กรุงเทพฯ.

วิมลพักตร์ พรหมศรีมาศ. (2543). กลวิธีการปฏิเสธในการตอบวัจนกรรมที่แสดงความปรารถนาดีในภาษาไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

วีณา วุฒิจำนงค์. (2559). หน้าที่ทางวัจนปฏิบัติศาสตร์ของคำว่า “โอเค” ในบทสนทนาภาษาไทย. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(2), 115-127.

Zheng, W. Y. (2557). กลวิธีการปฏิเสธการขอร้องของผู้พูดต่างวัฒนธรรม: การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างนักศึกษาไทยกับนักศึกษาจีน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, กรุงเทพฯ.

ภาษาอังกฤษ

Barron, A. (2003). Acquisition in interlanguage pragmatics: Learning how to do things with words in a study abroad context. Amsterdam: John Benjamins Publishing.

Beebe, L. M.; Takahashi, T. and Uliss- Weltz, R. (1990). Pragmatic transfer in ESL refusals. In R. C. Scarcella, E. S. Andersen & S. D. Krashen (Eds.), Developing communicative competence in a second language (pp. 55-73). New York: Newbury House Publishers.

Chen, H. J. (1996). Cross-Cultural comparison of English and Chinese metapragmatic in refusal (Doctoral dissertation, Department of Language Education). Indiana University, Indiana.

Chen, X., Ye, L., & Zhang, Y. (1995). Refusing in Chinese. In G. Kasper (Ed.), Pragmatics of Chinese as native and target language (pp.119-163). Honolulu, Hawaii: University of Hawaii Press.

Deng, P. (2008). 称赞语的语用内涵及表现形式.湖北成人教育学院学报 6, 79-80.

Ellis, R. (1997). Second language acquisition. Oxford: Oxford University.

Gu, Y. G. (1990). Politeness phenomena in Modern Chinese. Journal of Pragmatics, 14(2), 237-257.

Hao, X. M. (2005). 关于汉语道歉语“对不起”的话语功能分析.沈阳师范大学学报(社会科学版), 3, 136-138.

Jiang, L. Y. (2015). An empirical study on pragmatic transfer in refusal speech act produced by Chinese high school EFL learners. English Language Teaching, 8(7), 95-113.

Jiang, X. Y. (2005). Suggestion: What should ESl students know? Journal of System, 34(1), 36-54.

Kasper, G., & Blum-Kulka, S. (1993). Interlanguage pragmatics. New York: Oxford University Press.

Lin, M. F. (2014). An interlanguage pragmatic study on Chinese EFL learners’ refusal: Perception and performance. Journal of Language Teaching and Research, 5(3), 642-653.

Panpothong, N., & Phakdeephasook, S. (2014). The wide use of mai-pen-rai ‘It's not substantial’ in Thai interactions and its relationship to the Buddhist concept of Tri Laksana. Journal of Pragmatics, 69, 99-107.

Ren, W., & Woodfield, H. (2016). Chinese females’ date refusals in reality TV shows: Expressing involvement or independence? Discourse, Context & Media, 13(Part B), 89-97.

Searle, J. R. (1965). What is a speech act? In M. Black (ed.), Philosophy in America (pp. 221-239). London: Allen and Unwin.

Searle, J. R. (1976). A classification of illocutionary acts. Language in Society, 5(1), 1-23.

Wang, S. B., & Li., W. (2007). 拒绝言语行为的语用迁移研究——一项实证考察. 外语学刊, 4, 77-81.

Weerachairattana, R. (2014). Refusal strategies in English by Thai and Chinese graduate students: a cross-cultural study (Master’s Thesis, Department of English Language Studies). Suranaree University of Technology, Nakhon Ratchasima.

Wei, L. (2018). Pragmatic transfer and development: Evidence from EFL learners in China. Netherlands: John Benjamins Publishing Company.

Wei, Y. (2014). Pragmatic transfer and foreign language proficiency: A Study based on Chinese EFL learners’ refusal. Academics, 9(2014), 282-287.

Yan, X. C. (2007). 拒绝言语行为及其策略分析. (研究生毕业论文. 语言学及应用语言学). 上海外国语大学,上海.