ภาพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยในเรื่องเล่าความทรงจำประเภทวรรณคดีและเกร็ดประวัติศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงเป็นที่จดจำในปัจจุบันในฐานะศิลปินเอก กระนั้นยังมีเรื่องเล่าต่าง ๆ ที่ถ่ายทอดภาพของพระองค์ในลักษณะอื่น บทความวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาการนำเสนอภาพของพระองค์ในเรื่องเล่าความทรงจำ 2 ประเภท ได้แก่ วรรณคดี 7 เรื่อง และเกร็ดประวัติศาสตร์ 17 เรื่อง ผลการศึกษาพบว่า ตัวบทวรรณคดีเสนอภาพ 4 ภาพ ได้แก่ ภาพกษัตริย์นักรบ ภาพกษัตริย์ผู้เป็นที่เคารพของนานาชาติ ภาพกษัตริย์ศิลปินผู้ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และภาพกษัตริย์ผู้ทรงสิทธิธรรม ภาพเหล่านี้มีลักษณะร่วมกันคือ แสดงภาพกษัตริย์ในอุดมคติตามขนบการยอพระเกียรติ แต่เหตุการณ์ที่นำเสนอมีความแตกต่างกัน สะท้อนให้เห็นความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับคติกษัตริย์และมุมมองด้านความสัมพันธ์กับต่างชาติ ส่วนตัวบทเกร็ดประวัติศาสตร์นำเสนอภาพ 2 ภาพ ได้แก่ ภาพชายหนุ่มผู้มีความรักร้อนแรง และภาพผู้สืบสายเลือดแห่งบรมราชจักรีวงศ์ ด้านหนึ่ง ภาพกลุ่มนี้สอดคล้องกับจุดเด่นของเกร็ดประวัติศาสตร์ที่เน้นเรื่องราวส่วนตัวในราชสำนัก ขณะเดียวกันก็สะท้อนการเน้นคติ “อุภโตสุชาติ” และอิสริยยศเจ้าฟ้า เรื่องเล่าความทรงจำทั้ง 2 ประเภทจึงแสดงความสำคัญของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยต่อสังคมไทย และสะท้อนว่าความทรงจำที่มีต่อพระองค์นั้นก็ยึดโยงอยู่กับความรู้สึกนึกคิดของคนไทยที่เปลี่ยนไปในแต่ละยุคสมัยด้วย
Article Details
References
ภาษาไทย
กรมศิลปากร. (2511). ตำนานวัตถุสถานต่าง ๆ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนา. พระนคร: กรมศิลปากร.
กัลยา เกื้อตระกูล. (2552). พระอัครมเหสี พระบรมราชินี พระชายานารี เจ้าจอมมารดาและเจ้าจอมในรัชกาลที่ 1-7. กรุงเทพฯ: ยิปซี.
กัลยา เกื้อตระกูล. (2560). จอมนางวังหลวงแห่งกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: ศรีปัญญา.
คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร. (2564). ประวัติศาสตร์อยุธยา: ห้าศตวรรษสู่โลกใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มติชน.
คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว.. (2548). โครงกระดูกในตู้ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า
โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี. (2469). พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร.
จารึกพ่อขุนรามคำแหง ด้านที่ 4. (2555). สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2566 จาก https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/51
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จ. (2511). ธรรมเนียมราชตระกูลในสยาม. พระนคร: เลี่ยงเซียงจงเจริญ.
จุลลดา ภักดีภูมินทร์. (2564). เลาะวัง: พระอัครมเหสี พระภรรยาเจ้า และเจ้าจอมในรัชกาลที่ 1-10. กรุงเทพฯ: แสงดาว.
จุลลดา ภักดีภูมินทร์. (2565). เลาะวัง: บุคคล สถานที่ และเหตุกาณ์สำคัญ. กรุงเทพฯ: แสงดาว.
ฉลอง สุนทราวณิชย์. (2519). วิวัฒนาการการเขียนประวัติศาสตร์ไทย. ใน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และสุชาติ สวัสดิ์ศรี (บ.ก.), ประวัติศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ไทย (น. 62-94). กรุงเทพ: ประพันธ์สาส์น.
ชานนท์ ท. (2556). เกร็ดประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006).
ไชยวิชิต (เผือก), พระยา. (2518). ยอพระเกียรติ 3 รัชกาล. กรุงเทพฯ: บางกระบือการพิมพ์.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2493). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 5. พระนคร: กรมศิลปากร.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2562). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2. กรุงเทพฯ: ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006).
ตรัง, พระยา. (2547). วรรณกรรมพระยาตรัง (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.
ไตรภูมิกถา (พิมพ์ครั้งที่ 3). (2526). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
ธนากิต. (2543). พระบรมราชินี เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม. กรุงเทพฯ: ปิรามิด.
ธานีรัตน์ จัตุทะศรี. (2552). พระราชนิพนธ์อิเหนาในรัชกาลที่ 2: การสร้างนิทานปันหยีให้เป็นยอดแห่งวรรณคดีบทละครใน (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ธานีรัตน์ จัตุทะศรี. (2555). ลิลิตกระบวนพยุหยาตราสถลมารคและชลมารค: จากพระราชพิธีสู่วรรณคดีเฉลิมพระเกียรติ. วารสารมนุษศาสตร์วิชาการ, 19(1), 39-62.
ธานีรัตน์ จัตุทะศรี. (2566). วรรณคดีพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 2. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นนทพร อยู่มั่งมี และพัสวีสิริ เปรมกุลนันท์. (2562). เสวยราชสมบัติกษัตรา. กรุงเทพฯ: มติชน.
นฤมล ธีรวัฒน์. (2525). พระราชดำริทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
นัทธนัย ประสานนาม. (2562). ประพันธศาสตร์ของความหลัง: ความทรงจำวัฒนธรรมกรรมศึกษา. ใน สุรเดช โชติอุดมพันธุ์ (บ.ก.), นววิถี: วิธีวิทยาร่วมสมัยในการศึกษาวรรณกรรม (น. 45-117). กรุงเทพฯ: ศยาม.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2519). สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพกับอาร์โนลด์ ทอยน์บี. ใน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และสุชาติ สวัสดิ์ศรี (บ.ก.), ประวัติศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ไทย (น. 208-244). กรุงเทพ: ประพันธ์สาส์น.
นุชนารถ กิจงาม (บ.ก.). (2546). พระราชพิธีบรมราชาภิเษก: ประวัติศาสตร์จารีตประเพณี จากพระราชนิพนธ์ “ยอพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2”. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
บรรเจิด อินทุจันทร์ยง. (2521). พงศาวดารกระซิบ. กรุงเทพฯ: ประพันธ์สาส์น.
บุญเตือน ศรีวรพจน์. (2545). อภินิหารบรรพบุรุษและปฐมวงศ์ (สุจิตต์ วงษ์เทศ, บ.ก.). กรุงเทพฯ: มติชน.
ปัทมา ฑีฆประเสริฐกุล. (2556). ยวนพ่ายโคลงดั้น: ความสำคัญที่มีต่อการสร้างขนบและพัฒนาการของวรรณคดีประเภทยอพระเกียรติของไทย (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ปัทมา ฑีฆประเสริฐกุล. (2559). ภาพแทนของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถในยวนพ่ายโคลงดั้น. ใน รวมบทความวิจัยการประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS
ครั้งที่ 6: อัตลักษณ์แห่งเอเชีย 2016 (น. 58-69). ชลบุรี: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปิยวัฒน์ สีแตงสุก. (2566). นเรศวรนิพนธ์: การเมือง อนุสาวรีย์ และประวัติศาสตร์เรื่องแต่ง. กรุงเทพฯ: มติชน.
พิทยาลงกรณ, พระราชวรวศ์เธอ กรมหมื่น. (2495). สามกรุง. พระนคร: ชัยฤทธิ์
พิมาน แจ่มจำรัส. (2535). 49 ราชินีไทย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: นิตยสาร “คลังสมอง”.
พิมาน แจ่มจำรัส. (2554). รักในราชสำนัก (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์บุ๊คส์.
พินิจ หุตะจินดา. (2561). คนสำคัญในราชสำนัก จากอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: แสงดาว.
มหิศรราชหฤทัย, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่น. (2467). คำแก้กระทู้ธรรมของหม่อมเจ้าจันทรจุฑากับพระนิพนธ์ของเสด็จตาแลเสด็จพ่อ. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนาคร.
มารศรี สอทิพย์. (2551). เรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช: กลวิธีการเล่าเรื่องกับการสร้างภาพลักษณ์ (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ยุพร แสงทักษิณ. (2550). วรรณคดีสมัยกรุงธนบุรี - กรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2394. ใน เอกสารการสอนชุดวิชา พัฒนาการวรรณคดีไทย หน่วยที่ 1-7 (พิมพ์ครั้งที่ 7, น. 207-327. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เรื่องราชาภิเษกและจดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 5. (2509). พระนคร: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.
โรม บุนนาค. (2548). เรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ ในพงศาวดาร. กรุงเทพฯ: สยามอินเตอร์บุ๊คส์.
ลดา รุธิรกนก. (2551). ชีวิตรักเจ้าฟ้า (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ดีเอ็มจี.
วรพร ภู่พงศ์พันธุ์. (2564). สถาบันกษัตริย์ในกฎมณเฑียรบาล (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: แสงดาว.
วันชนะ ทองคำเภา. (2554). ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศราวิน ปานชัย. (2566). “ธงทอง-ชานันท์” ชี้ “พงศาวดารกระซิบ” เรื่องเล่ากอสสิป สร้างสีสันให้อดีต. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2566 จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_101949
ศักดิ์ชัย ตระกูลเลิศงาม. (2557). ลักษณะเด่นของวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ศุภร บุนนาค. (2519). วรรณกรรมไทยเรื่อง ผืนแผ่นไผทนี้ล้ำแหล่งคุณ. กรุงเทพฯ: ธนาคารกรุงเทพ.
ส.พลายน้อย. (2563). พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดา ฉบับปรับปรุงและเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.
สมบัติ จำปาเงิน. (2542). รักหลังราชบัลลังก์. กรุงเทพฯ: ฐานการพิมพ์.
สมภพ จันทรประภา. (2549). นรชาติ. กรุงเทพฯ: ศยาม.
สมศรี ชัยวณิชยา. (2536). คติความเชื่อเรื่องพระร่วงในงานเขียนประวัติศาสตร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 6 (พ.ศ.2325-2468) (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
สยามศิลปิน. (2558, 2 มีนาคม). พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ธ ผู้สร้างศาสตร์และศิลป์แผ่นดินไทย [วีดิทัศน์]. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2566 จาก https://www.youtube.com/watch?v=x8s8cOSvTpM&t=2235s
สาส์นสมเด็จ (เล่ม 1). (2505). พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา.
สาส์นสมเด็จ (เล่ม 10). (2504). พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา.
เสาวลักษณ์ อนันตศานต์. (2520). วรรณกรรมรัชกาลที่ 2. กรุงเทพฯ: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อรวรรณ ทรัพย์พลอย (บ.ก.). (2557). เทศนาพระราชประวัติและพระบวรราชประวัติ. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
อเนก มากอนันต์. (2562). จักรพรรดิราช: คติอำนาจเบื้องหลังชนชั้นนำไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มติชน.
TKParkchannel. (2558, 16 พฤษภาคม). ยุคทองวรรณคดีไทย ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย [วีดิทัศน์]. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2566 จาก https://www.youtube.com/watch?v=Tj7XVkbEuAg
ภาษาต่างประเทศ
Carlyle, T. (1846). On heroes, hero-worship, & the heroic in history. New York: Wiley and Putnam.
Gossman, L. (2003). Anecdote and history. History and Theory, 42(2), 143-168.
Linde, C. (2015). Memory in Narrative. In The International Encyclopedia of Language and Social Interaction (K. Tracy, C. Ilie, & T. Sandel, Eds.). NewJersey: John Wiley & Sons.