ความผิดอาญาเล็กน้อย

Main Article Content

ดร.สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์

บทคัดย่อ

            ในระบบกฎหมายต่างประเทศ เช่น ประเทศเยอรมนีและประเทศฝรั่งเศสได้มีการแบ่งแยกแนวคิดเกี่ยวกับความผิดอาญาร้ายแรงและความผิดอาญาเล็กน้อยไว้ ซึ่งประเทศไทยได้รับแนวคิดในเรื่องความผิดอาญาเล็กน้อยดังกล่าวมาจากประเทศเยอรมนี เมื่อทำการยกร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยปรับเป็นพินัย ซึ่งตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมีแนวคิดในการนำความผิดอาญาเล็กน้อยที่ไม่ได้มีผลกระทบต่อความสงบสุขของสังคมออกมาจากความผิดอาญาทั่วไป อันเป็นการสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๗๗ วรรคท้าย ที่วางหลักการในเรื่องการบัญญัติความผิดอาญาให้ทำได้เฉพาะในกรณีของความผิดอาญาร้ายแรงเท่านั้น การเข้าใจแนวคิดในเรื่องของความผิดอาญาเล็กน้อย ผู้เขียนมีความเห็นว่าน่าจะช่วยในการทำความเข้าใจความหมายของความผิดทางพินัยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยปรับเป็นพินัยได้ดียิ่งขึ้น เมื่อกฎหมายฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้ว ในบทความชิ้นนี้จึงจะได้กล่าวถึงวิวัฒนาการของความผิดอาญาเล็กน้อยและหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแยกข้อแตกต่างระหว่างความผิดอาญาร้ายแรงและความผิดอาญาเล็กน้อย โดยใช้แนวคิดของนักกฎหมายเยอรมัน นักกฎหมายฝรั่งเศส ในการนำเสนอเพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์แนวคิดดังกล่าวของนักกฎหมายไทยต่อไป โดยผู้เขียนมีความเห็นว่าความผิดอาญาเล็กน้อยอาจแบ่งออกได้เป็น ๒ กรณี กล่าวคือ ในทางรูปแบบ คือ ความผิดทางพินัยตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยปรับเป็นพินัย ซึ่งเป็นการพิจารณาในส่วนของมาตรการบังคับ ส่วนในทางเนื้อหา คือ การกระทำความผิดที่เป็นเรื่องในทางเทคนิคและขาดความน่าตำหนิในทางศีลธรรม   

Article Details

บท
บทความ

References

หนังสือภาษไทย

กมลชัย รัตนสกาววงศ์. (๒๕๖๐, ๒๙ กันยายน). ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับการกำหนดโทษทางปกครองในการตรากฎหมาย โครงการสัมมนา เรื่อง หลักเกณฑ์ในการกำหนดโทษทางปกครองในการตรากฎหมาย. การสัมมนาเรื่อง หลักเกณฑ์ในการกำหนดโทษทางปกครองในการตรากฎหมาย (น. ๑), สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, กรุงเทพมหานคร. https://www.lawreform.go.th/uploads/files/1570531312-obcrk-7npih.pdf

ชาญชัย แสวงศักดิ์. (๒๕๖๔). โทษทางปกครอง : กฎหมายเปรียบเทียบ. สำนักพิมพ์วิญญูชน.

มานิตย์ วงศ์เสรี. (๒๕๖๐, ๒๙ กันยายน). เกณฑ์การกำหนดโทษทางปกครอง, การประชุมสัมมนา เรื่อง หลักเกณฑ์ในการกำหนดโทษทางปกครองในการตรากฎหมาย ( น. ๓๓-๓๙), สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, กรุงเทพมหานคร. https://www.lawreform.go.th/uploads/files/1570531312-obcrk-7npih.pdf

สมคิด เลิศไพฑูรย์. (๒๕๖๑). เส้นแบ่งบาง ๆ ระหว่างความรับผิดทางอาญาและความรับผิดทางปกครอง. ใน อานนท์ มาเม้า (บ.ก.), นิติธรรมประจักษ์ สุรศักดิ์ ๖๐ ปี. (น. ๑๑๙–๑๓๔). โรงพิมพ์เดือนตุลา.

สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์. (๒๕๖๔). พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ.๒๕๖๒ : ศึกษากรณีบทบัญญัติของกฎหมายหมดความจำเป็นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรม (น. ๖๙-๗๓). สำนักงานศาลยุติธรรม. https://rabi.coj.go.th/th/file/get/file/20210907d17abfa009304ecfcdba6a2c42e068b0134038.pdf

สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์. (๒๕๖๔). หลักเกณฑ์การกำหนดความผิดอาญาตามกฎหมาต่างประเทศ. บทบัณฑิตย์, ๗๗ (๒), น. ๑๒๕–๑๕๙.

ศุภวัฒน์ สิงห์สุวงษ์. (๒๕๖๐, ๒๙ กันยายน). เกณฑ์พิจารณาในการเลือกกำหนดโทษทางปกครอง แทนโทษอาญา. การประชุมสัมมนาเรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดโทษทางปกครองในการตรากฎหมาย, สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, กรุงเทพมหานคร. https://www.krisdika.go.th/data/article77/filenew/03-1-3.pdf

หนังสือภาษาต่างประเทศ

Bohnert, J. (1989). Karlsruher Kommentar zum Gesetz ueber Ordnungswidrigkeiten. C.H.Beck.

Bohnert, J., & Bülte, J. (2016). Ordnungswidrigkeitenrecht (5 Auflage). C.H.Beck.

Heine, G. (1999). Unterscheidung zwischen Straftaten und Ordnungswidrigkeiten. Jurisprudencija, 12(4), 16–27. https://repository.mruni.eu/bitstream/handle/007/14306/3838-7978-1-SM.pdf?sequence=1&isAllowed=y

BVerfGE 9, 167, 171; 22, 49, 79; 27, 18, 33

BVerfGE 22, 49, 79

BVerfGE 22, 49, 80; 27, 18, 33

BVerfGE 22, 49, 81; 22, 125, 133; 23, 113, 126

BVerfGE 27, 18, 28; 45, 272, 289

BVerfGE 27, 18, 29; 22, 49, 80

BVerfGE 27, 18, 30 ff

BVerfGE 27, 18, 33

BVerfGE 51, 60, 74

Roxin, C. (2006). Strafrecht Allgemeiner Teil (4 Auflage) (pp. 178-185). C.H.Beck.

Staniszewska, L. (2018). Models of liability for the administrative tort sanctioned with financial penalties on the example of selected European countries. Studia Prawa Publicznego, 1(13), 67-84. https://doi.org/10.14746/stpp.2016.1.13.3