หลักเกณฑ์การใช้ดุลพินิจกำหนดโทษกรณีกฎหมายหมดความจำเป็น

Main Article Content

ดร.สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์

บทคัดย่อ

          การใช้ดุลพินิจกำหนดโทษของศาลยุติธรรมในกรณีที่กฎหมายหมดความจำเป็น หรือไม่ สอดคล้องกับสภาพการณ์ หรือที่เป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิต หรือการประกอบอาชีพนั้น ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มาตรา 6 บัญญัติให้ศาลสามารถใช้ดุลพินิจไม่ลงโทษ หรือลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด หรือกำหนดสภาพบังคับที่เป็นผลร้ายแตกต่างจากที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจากผลการศึกษาสรุปได้ว่าแนวทางในการใช้ดุลพินิจกำหนดโทษดังกล่าวสามารถนำแนวคิดในเรื่องของการคุ้มครองนิติสมบัติที่สำคัญในวิถีทางสุดท้าย และแนวคิดในเรื่องโทษอาญาต้องได้สัดส่วนกับการกระทำความผิด ซึ่งเป็นแนวคิดในเรื่องของการกำหนดหลักเกณฑ์ความผิดอาญา ตลอดจน หลักการใช้ดุลพินิจกำหนด โทษที่เป็นไปตามความร้ายแรงของการกระทำความผิดและความน่าตำหนิของตัวผู้กระทำความผิด รวมทั้งทฤษฎีการลงโทษที่เป็นการผสมผสานที่เน้นการป้องกัน มาเป็นแนวทางในการปรับใช้ได้ จากเหตุผลดังกล่าว หากศาลใช้ดุลพินิจไม่ลงโทษ เนื่องจากกฎหมายหมดความจำเป็นก็เพราะว่าเป็นการขัดต่อหลักความได้สัดส่วนในความหมายอย่างแคบ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหลักการคุ้มครองนิติสมบัติในวิถีทางสุดท้าย ส่วนการใช้ดุลพินิจลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด หรือกำหนดสภาพบังคับที่เป็นผลร้ายแตกต่างจากที่กฎหมายกำหนดนั้น ใช้กับกรณีที่กฎหมายหมดความจำเป็น เนื่องจากเป็นกรณีของความผิดอาญาเล็กน้อย หรือแม้จะไม่ใช่การกระทำความผิดอาญาเล็กน้อย แต่สามารถใช้มาตรการอื่นที่ไม่ใช่มาตรการทางอาญาแล้วได้ผลในทำนองเดียวกัน ซึ่งเป็นแนวคิดในเรื่องของการคุ้มครองนิติสมบัติในวิถีทางสุดท้าย นอกจากนี้ ยังรวมถึงกรณีของโทษอาญาที่ไม่ได้สัดส่วนกับการกระทำความผิดซึ่งเป็นไปตามแนวคิดในเรื่องโทษอาญาต้องได้สัดส่วนกับการกระทำความผิดด้วย นอกจากนี้ ยังรวมถึงกรณีของความผิดพินัยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 ด้วย

Article Details

บท
บทความ

References

รายละเอียดดูใน สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์, ‘หลักเกณฑ์การกำหนดความผิดอาญาตามกฎหมายต่างประเทศ’ (2564) 2 บทบัณฑิตย์ 127, 127-151.

รายละเอียดดูใน สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์, ‘พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 : ศึกษากรณีบทบัญญัติของกฎหมายหมดความจำเป็นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรม’ (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สำนักงานศาลยุติธรรม 2564), 135-143.

รายละเอียดดูใน สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์, พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 : ศึกษากรณีบทบัญญัติของกฎหมายหมดความจำเป็นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรม (เชิงอรรถ 2) 83-85, 96-97.

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ, รายงานการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ... ครั้งที่ 11/2562 (31 มกราคม 2562) ครั้งที่ 10/2562 (28 มกราคม 2562).

ปกป้อง ศรีสนิท, กฎหมายอาญาชั้นสูง (พิมพ์ครั้งที่ 2, วิญญูชน 2561) 135-136.

เพิ่งอ้าง.

ณรงค์ ใจหาญ และคณะ, ‘การจัดแบ่งกลุ่มความผิดและโทษทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญาของไทย’ (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สำนักกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม 2554), 79-85.

เพิ่งอ้าง 86 – 91.

ปกป้อง ศรีสนิท (เชิงอรรถ 5), 136; ณรงค์ ใจหาญ และคณะ (เชิงอรรถ 7), 79–85.

ณรงค์ ใจหาญ และคณะ (เชิงอรรถ 7), 88.

Joel Goh, ‘Porportionality – An Unattainable Ideal in the Criminal Justice System Manchester’ (2013) 41 Student Law Review 41, 53.

อย่างไรเป็นความผิดอาญาเล็กน้อย ดูรายละเอียดใน สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์, ‘ความผิดอาญาเล็กน้อย’ (2565) 2 บทบัณฑิตย์ 110, 110-144.

พระราชบัญญัติว่าด้วยปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 มาตรา 36 บัญญัติว่า “เมื่อพ้นกำหนดสามร้อยหกสิบห้าวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้เปลี่ยนความผิดในทางอาญาที่มีโทษปรับสถานเดียวบรรดาที่บัญญัติไว้ในกฎหมายทั้งปวง นอกจากที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา เป็นความผิดทางพินัยตามพระราชบัญญัตินี้ โดยให้เปลี่ยนอัตราโทษปรับทางอาญาที่บัญญัติไว้ในกฎหมายดังกล่าวเป็นอัตราค่าปรับเป็นพินัยตามพระราชบัญญัตินี้”.

พระราชบัญญัติว่าด้วยปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 มาตรา 35 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “เมื่อพ้นกำหนดสามร้อยหกสิบห้าวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้เปลี่ยนความผิดที่มีโทษปรับทางปกครองบรรดาที่บัญญัติไว้ในกฎหมายทั้งปวงที่ยังใช้บังคับอยู่ก่อนพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว เป็นความผิดทางพินัย และเปลี่ยนอัตราโทษปรับทางปกครองเป็นอัตราค่าปรับเป็นพินัยตามพระราชบัญญัตินี้”.

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (เชิงอรรถ 4).

รายละเอียดดูใน สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์, พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 : ศึกษากรณีบทบัญญัติของกฎหมายหมดความจำเป็นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรม (เชิงอรรถที่ 2) 81-86.

วัชรี วรรณลี, ‘ปัญหาการใช้โทษอาญาโดยไม่จำเป็น : กรณีการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้า’ (2564) 1 บทบัณฑิตย์ 95, 104.

รายละเอียดของการตีความกฎหมายที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ดูใน สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์, ‘การตีความกฎหมายที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญตามกฎหมายเยอรมัน’ (2565) 1 บทบัณฑิตย์ 150, 150-163.

ในกรณีนี้สามารถเทียบเคียงได้กับมาตรา 111 ของพระราชบัญญัติการละเมิดต่อระเบียบตามกฎหมายเยอรมัน ซึ่งบัญญัติให้เป็นความผิดเป็นพินัยและใช้โทษปรับเป็นพินัยกับกรณีดังกล่าว.

ในกรณีนี้สามารถเทียบเคียงได้กับมาตรา 117 ของพระราชบัญญัติการละเมิดต่อระเบียบตามกฎหมายเยอรมัน ซึ่งบัญญัติให้เป็นความผิดเป็นพินัยและใช้โทษปรับเป็นพินัยกับกรณีดังกล่าว.

ในกรณีนี้สามารถเทียบเคียงได้กับมาตรา 118 ของพระราชบัญญัติการละเมิดต่อระเบียบตามกฎหมายเยอรมัน ซึ่งบัญญัติให้เป็นความผิดเป็นพินัยและใช้โทษปรับเป็นพินัยกับกรณีดังกล่าว.

ในกรณีนี้สามารถเทียบเคียงได้กับมาตรา 121 ของพระราชบัญญัติการละเมิดต่อระเบียบตามกฎหมายเยอรมัน ซึ่งบัญญัติให้เป็นความผิดเป็นพินัยและใช้โทษปรับเป็นพินัยกับกรณีดังกล่าว.

กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ได้รับรองสิทธิมนุษยชนไว้หลายประการ เช่น สิทธิในการมีชีวิต สิทธิในการมีเสรีภาพและความปลอดภัย โดยที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้ให้คำอธิบายว่า มาตรการจำกัดสิทธิเสรีภาพจะต้องสอดคล้องกับหลักความได้สัดส่วน ซึ่งหมายความว่า มาตรการดังกล่าวจะต้องเหมาะสมที่จะบรรลุภารกิจแห่งการคุ้มกัน มาตรการดังกล่าวต้องเป็นสิ่งที่สร้างความเสียหายน้อยที่สุดในบรรดามาตรการต่าง ๆ ที่บรรลุเป้าหมายเดียวกัน และมาตรการดังกล่าวจะต้องได้สัดส่วนกับผลประโยชน์ที่ได้รับการคุ้มครอง ดูใน สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล และปกป้อง ศรีสนิท, ‘การศึกษาเพื่อพัฒนาแนวทางการลงโทษ : หลักการลงโทษที่ได้สัดส่วนกรณีคดียาเสพติดให้โทษ’ (2560) 4 วารสารนิติศาสตร์ 903, 909.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 28 วรรคสี่ บัญญัติว่า “การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม จะกระทำมิได้”.

สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล และปกป้อง ศรีสนิท (เชิงอรรถ 23) 905; ศุภกิจ แย้มประชา, ‘การลงโทษผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้ได้สัดส่วนกับความร้ายแรงของความผิด’ (2564) 3 ดุลพาห 1, 3.

Richard G Fox, ‘The Meaning of Proportionalityin Sentencing’ (1994) 3 Melbourne University Law Review 489, 490.

Silvia D’Ascoli, Sentencing in International Criminal Law : The approach of the two UN ad hoc Tribunals and future perspectives for the International Criminal Court (European University Institute 2008) 24.

เพิ่งอ้าง 27.

Mirko Bagaric, ‘The Punishment Should Fit the Crime’ (2014) 2 San Diego Law Review 343, 348.

เชลียง เทียมสนิท, ‘ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายในการบังคับใช้พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551’ (ธันวาคม 2559 - มีนาคม 2560) 2 วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 158, 164; ณัฐพล จุลละเกศ, ‘การใช้ดุลพินิจรับพิจารณาพิพากษาความผิดที่มีโทษทางอาญาบางบทหรือบางกรรมที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ’ (รายงานส่วนบุคคลหลักสูตรผู้พิพากษาผู้บริหารในศาลชั้นต้น สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม 2563) 555 <https://ipitc.coj.go.th/th/file/get/file/202005140cff61bc91c05e17d55e1778b0cedab1111834.pdf> สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2565.

ปกป้อง ศรีสนิท (เชิงอรรถ 5) 33-35.

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ, รายงานการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ... ครั้งที่ 9/2562 (21 มกราคม 2562).

ข้อ21/2 ในการพิจารณาว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีหมดความจำเป็นหรือไม่ตามระเบียบนี้ นอกจากต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5 และข้อ21/1 แล้ว ให้คำนึงถึงโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่า ได้สัดส่วนกับความร้ายแรงของการกระทำความผิดหรือไม่ หากโทษไม่ได้สัดส่วนกับความร้ายแรงของการกระทำความผิด ให้ถือว่าบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายที่หมดความจำเป็นในการพิจารณาว่าโทษได้สัดส่วนกับความร้ายแรงของการกระทำความผิดหรือไม่ ให้พิจารณาจากหลักความได้สัดส่วนในการลงโทษ

ข้อ 21/1 เป็นข้อเสนอของผู้เขียนในการทำวิจัยเล่มก่อน โดยมีสาระสำคัญดังนี้ กล่าวคือ ในการพิจารณาว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีหมดความจำเป็นหรือไม่ตามระเบียบนี้ นอกจากต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5 แล้ว ให้คำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ประกอบด้วย

(1) การกระทำที่ต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวไม่กระทบต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขและเสรีของคนในสังคม

การกระทำที่ไม่กระทบต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขและเสรีของคนในสังคม ให้พิจารณาจากข้อพิจารณาดังต่อไปนี้

(ก) การกระทำดังกล่าวไม่เป็นการก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นหรือสังคม หรือ

(ข) การกระทำดังกล่าวไม่มีความร้ายแรง หรือ

(ค) การกระทำดังกล่าวไม่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม หรือ

(ง) การกระทำดังกล่าวไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน

ในการพิจารณาถึงการกระทำที่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม หรือ ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชนนั้น ให้คำนึงถึง

ความสอดคล้องกับยุคสมัย สภาพสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและประเพณีที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย

(2) แม้การกระทำที่ต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวจะกระทบต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขและเสรีของ

คนในสังคม แต่ถ้ามีมาตรการอื่นที่ได้ผลในทำนองเดียวกันหรือดีกว่าการใช้มาตรการในทางอาญาแล้ว ถือว่าเป็นกรณีที่บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีหมดความจำเป็น

กรณีของการมีมาตรการอื่นที่ได้ผลในทำนองเดียวกัน หรือดีกว่าการใช้มาตรการในทางอาญา ให้พิจารณาจากข้อพิจารณาดังต่อไปนี้เรียงตามลำดับกันไป กล่าวคือ

(ก) ประเภทของสิทธิขั้นพื้นฐานของปัจเจกชนที่ถูกกระทบ

(ข) ประโยชน์ที่สังคมจะได้รับจากบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับปัจเจกชนแต่ละคน

(ค) การชั่งน้ำหนักประโยชน์ระหว่างประโยชน์ของปัจเจกชนที่ถูกกระทบกับประโยชน์ที่สังคมจะได้รับว่าได้สัดส่วนกันหรือไม่

หากไม่ได้สัดส่วนกันเพราะประโยชน์ที่สังคมได้รับมีมากกว่าประโยชน์ที่ปัจเจกชนแต่ละคนจะต้องสูญเสียไปอย่างมากแล้ว ถือว่าเป็นกรณีที่บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีหมดความจำเป็น

สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล และปกป้อง ศรีสนิท (เชิงอรรถ 23) 907–908.

Silvia D’Ascoli (เชิงอรรถ 27) 27.

Franz Streng, Strafrechtliche Sanktionen : Die Strafzumessung und ihre Grundlagen (3rd edn, Verlag W. Kohlhammer 2012) 268–284.

James M. Markham and Shea Riggsbee Denning, North Carolina Sentencing Handbook with Felony, Misdemeanor, and DWI Sentencing Grids (2018 edn, UNC School of Government 2018) 56.

The Sentencing Council of England and Wales, ‘Aggravating and mitigating factors’ (sentencingcouncil, no publication date) <https://www.sentencingcouncil.org.uk/explanatory-material/magistrates-court/item/aggravating-and-mitigating-factors/> สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2565.

รายละเอียดของทฤษฎีดังกล่าว ดูใน สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์, พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 : ศึกษากรณีบทบัญญัติของกฎหมายหมดความจำเป็นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรม (เชิงอรรถที่ 2) 16-19.

Claus Roxin, Strafrecht Allgemeiner Teil Grundlagen. Der Aufbau der Verbrechenslehre (4 Auflage, Verlag C.H. Beck 2006) 85-95.

ประสพสุข บุญเดช, ‘ดุลพินิจในการกำหนดโทษ’ (2540) 2 ดุลพาห 161, 163.

Catherine Heard, Community sentences since 2000 : How they work – and why they have not cut prisoner numbers (Centre for Crime and Justice Studies 2015) 13–20 <https://www.crimeandjustice.org.uk/sites/crimeandjustice.org.uk/files/CCJS_ACE_Rep_Sept15_ONLINE%20FINAL3.pdf> สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2565.

ดล บุนนาค, ‘ทางเลือกในการลงโทษจำเลยในคดีอาญา : มาตการลงโทษระดับกลาง’ (2556) 1 ดุลพาห 148, 148-170.

Hans-Jörg Albrecht, ‘Sanction Policies and Alternative Measures to Incarceration : European Experiences with Intermediate and Alternative Criminal Penalties’ (Visiting Experts’ Papers of the UNAFEI’s 142nd International Training Course) 33–40 <https://www.unafei.or.jp/publications/pdf/RS_No80/No80_07VE_Albrecht.pdf> สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2565.

The United Nations Standard Minimum Rules for Non-custodial Measures (The Tokyo Rules).

ข้อ 21/1 เป็นข้อเสนอของผู้เขียนในการทำวิจัยเล่มก่อน รายละเอียดดูใน สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์, พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 : ศึกษากรณีบทบัญญัติของกฎหมายหมดความจำเป็นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรม (เชิงอรรถ 2) 123-124.