แนวทางการบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์เกี่ยวกับการแจ้งให้ทราบและนำออก (Notice and Takedown): ขอบเขตการใช้งานลิขสิทธิ์โดยชอบธรรม (Fair Use)

Main Article Content

ศรุตยา ปิยะวัฒนกุล
ดร.วรรณวิภา พัวศิริ

บทคัดย่อ

          การแจ้งให้ทราบและนำออก (Notice and Takedown) ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2565 ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ปฏิบัติให้เจ้าของลิขสิทธิ์ต้องพิจารณาหลักในเรื่อง การใช้งานลิขสิทธิ์โดยชอบธรรม (Fair Use) ซึ่งถือเป็นข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยเจ้าของลิขสิทธิ์ต้องตรวจสอบก่อนทำการแจ้งไปยังผู้ให้บริการทราบถึงข้อกล่าวอ้างด้วยว่าเป็นการกระทำที่เข้าข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ เพื่อให้ผู้ให้บริการนำเนื้อหาข้อมูลนั้นออกจากระบบหรือเครือข่ายของผู้ให้บริการหรือระงับการเข้าถึง แต่หลักเกณฑ์ดังกล่าวไม่ได้กำหนดขั้นตอนปฏิบัติในการตรวจสอบไว้อย่างชัดเจนในการจะพิสูจน์ว่าเจ้าของลิขสิทธิ์ได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดแล้ว ซึ่งหากเจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ได้คำนึงถึงข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์อย่างเพียงพออาจส่งผลทำให้เป็นการแจ้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและอาจเกิดการจำกัดสิทธิในการใช้งานลิขสิทธิ์โดยชอบธรรมของผู้ใช้ บริการที่มากเกินสมควร โดยหากเจ้าของลิขสิทธิ์ได้แจ้งไปยังผู้ให้บริการโดยรู้หรือมีเหตุอันควรรู้ว่า ข้อมูลนั้นเป็นความเท็จก็ต้องรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วย


          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบกฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทย สหรัฐอเมริกาและประเทศเยอรมนี เพื่อหาขอบเขตการบังคับใช้หลักการใช้งานลิขสิทธิ์โดยชอบธรรม และเป็นแนวทางในการบังคับใช้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2565 จากการศึกษาผู้วิจัย มีความเห็นว่า ควรเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา โดยการเพิ่มโอกาสให้ผู้ใช้บริการสามารถโต้แย้งคำร้อง ของเจ้าของลิขสิทธิ์ได้ก่อนที่ผู้ให้บริการจะนำเนื้อหาข้อมูลออกจากระบบหรือเครือข่ายของผู้ให้บริการหรือระงับการเข้าถึงข้อมูลที่กล่าวอ้างว่าละเมิดลิขสิทธิ์และแก้ไขข้อกำหนดระยะเวลา ในการนำข้อมูลที่พิพาทกลับเข้าสู่ระบบหรือเครือข่ายของผู้ให้บริการหรือยุติการระงับการเข้าถึงข้อมูล เพื่อให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์เกี่ยวกับการแจ้งให้ทราบและนำออกที่มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องต่อการแก้ไขปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์บนอินเทอร์เน็ต

Article Details

บท
บทความ

References

ภาษาไทย

—— ‘การละเมิดลิขสิทธิ์วิดีโอออนไลน์กระทบ ศก.9 หมื่นล้าน ชี้ปม ก.ม.อ่อนแอไป’ (ไทยรัฐออนไลน์, 28 มกราคม 2563) <https://www.thairath.co.th/news/tech/1757873> สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565.

—— ‘เปรียบเทียบกฎหมายการแจ้งให้ลบเนื้อหา อเมริกาใช้เรื่องละเมิดลิขสิทธิ์ ไทยเน้นใช้เรื่องความมั่นคง’ (iLaw, 23 ตุลาคม 2560) <https://ilaw.or.th/node/4662> สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565.

—— ‘หลักการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม (Fair use) ตามกฎหมายไทย’ (IP Thailand, มปป.) <https://www.ip-thailand.com/%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%82%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C/%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%82%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1-fair-use-%E0%B8%95/> สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565.

กรณ์ อรรถเนติศาสตร์, ‘มาตรการทางปกครองในการกำกับดูแล Digital Platform ศึกษากฎหมายของสหภาพยุโรป’ (2565) 1 วารสารกฎหมายปกครอง 69.

กรมทรัพย์สินทางปัญญา, ‘คำอธิบายสรุปสาระสำคัญพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม’ (เมษายน 2565) <http://www.ipthailand.go.th/th/dip-law-2/item/description_copyright.html> สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565.

กรมยุโรป กระทรวงต่างประเทศ, ‘สหภาพยุโรปเสนอร่างกฎหมายดิจิทัลใหม่ 2 ฉบับป้องกันการผูกขาดบริการออนไลน์’ (29 พฤศจิกายน 2565) <https://europetouch.mfa.go.th/th/content/%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88-2-%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A?cate=5d6abf7c15e39c3f30001465> สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565.

พิรงรอง รามสูต รณะนันท์ และนิธิมา คณานิธินันท์, ‘รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การกำกับดูแลอินเทอร์เน็ต’ (รายงานผลการวิจัยโครงการการปฏิรูปสื่อ: การกำกับดูแลเนื้อหาโดยรัฐ การกำกับดูแลตนเองและสื่อภาคประชาชน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2547).

สืบสิริ ทวีผล และพลอยนภา จุลกสิกร, ‘มาตรการต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ในประเทศ: อดีต ปัจจุบัน และอนาคต’ (2563) 2 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ 98.

เอกรินทร์ วิริโย, ‘มาตรการแจ้งเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์บนอินเทอร์เน็ต: ศึกษากลไกการตรวจสอบการแจ้งตามกฎหมายสหรัฐอเมริกา’ (2557) 2 วารสารนักบริหาร 46.

ภาษาต่างประเทศ

—— ‘EU: Regulation of Notice and Action procedures in the Digital Services Act’ (ARTICLE 19, 21 May 2021) <https://www.article19.org/resources/eu-regulation-of-notice-and-action-procedures-in-the-digital-services-act/> สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565.

—— ‘Request Rights’ (Touring Artists, no publication date) <https://www.touring-artists.info/en/authors-rights/translate-to-englisch-rechte-anfragen> สืบค้น เมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2566.

Alexandra Taylor, ‘The Digital Millennium Copyright Act and the First Amendment: Section 1201’s Disruptive Effect on the Fair Use Doctrine’ (Senior Thesis Computer Science Columbia University 2019).

Althaf Marsoof, ‘Notice and takedown: A copyright perspective’ (2015) 2 Queen Mary Journal of Intellectual Property 183.

Corynne McSherry and Kit Walsh, ‘In the Matter of Section 512 Study Docket No.2015- 7’ (Electronic Frontier Foundation, 1 April 2016) <https://www.eff.org/files/2016/04/01/eff_comments_512_study_4.1.2016.pdf> สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565.

European Commission, ‘Document 52020PC0825 Proposal for a REGULATION OF THE EUROPEAN PARLIAMENT AND OF THE COUNCIL on a Single Market For Digital Services (Digital Services Act) and amending Directive 2000/31/EC’ (EUR-Lex, 15 December 2020) <https://eur-lex.europa.eu/legal-content/en/TXT/?uri=COM%3A2020%3A825%3AFIN> สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565.

Gabriele Engels, ‘Das Gesetz über digitale Dienste (DSA) - Grundregeln für Online- Plattformen’ (DLP Piper, 12 May 2022) <https://www.lexology.com/library/detail.aspx?g=2dfea3f6-5953-422b-8448-520d85095703> สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565.

German Copyright Act 1965.

Jennifer M. Urban and Laura Quilter, ‘Efficient Process or Chilling Effects - Takedown Notices under Section 512 of the Digital Millennium Copyright Act’ (Summary Report) <https://www.law.berkeley.edu/files/Chilling_Effects_Report.pdf> สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565.

Jennifer M. Urban and Laura Quilter, ‘Efficient Process or Chilling Effects - Takedown Notices under Section 512 of the Digital Millennium Copyright Act’ (2006) 4 Santa Clara High Technology Law Journal 621.

Joel D. Matteson, ‘Unfair Misuse: How Section 512 of the DMCA Allows Abuse of the Copyright Fair Use Doctrine and How to Fix It’ (2018) 2 Santa Clara High Technology Law Journal 1.

Jonathan Bailey, ‘10 Ways EU Copyright is Different from the US’ (plagiarismtoday, 4 สิงหาคม 2563) <https://www.plagiarismtoday.com/2020/08/04/10-ways-eu-copyright-is-different-from-the-us/> สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565.

Lenz v. Universal Music Corp., 801 F.3d1126 (9th Cir. 2015).

Matt Zoller Seitz, ‘Copy Rites: YouTube vs. Kevin B. Lee’ (slantmagazine, 13 January 2009) <https://www.slantmagazine.com/news/copy-rites-youtube-vs-kevin-b-lee/> สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565.

Public Knowledge, ‘YouTube Film Critic Silenced by DMCA Takedown Notices’ (26 January 2009) <https://publicknowledge.org/youtube-film-critic-silenced-by-dmca-takedown-notices/> สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565.

Schlun & Elseven, ‘DMCA Takedown Notice in Germany: Legal Advice’ (no publication date) <https://selegal.de/intellectual-property-lawyer-in-germany/dmca-takedown-notice-in-germany-legal-advice/?lang=en#> สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565.

Single Market for Digital Services (Digital Services Act) and amending Directive 2000/ 31/EC.

Suebsiri Taweepon and Ploynapa Julagasigorn, ‘The 2022 Amendment of Thailand’s Copyright Act: The Good, the Bad, and the Backstory’ (Tilleke & Gibbins, 14 March 2022) <https://www.tilleke.com/insights/the-2022-amendment-of-thailands-copyright-act-the-good-the-bad-and-the-backstory/> สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565.

Suebsiri Taweepon and Ploynapa Julagasigorn, ‘Thailand: Draft Amendment to Copyright Act Promises Updated Protections’ (Tilleke & Gibbins, 21 May 2021) <https://www.tilleke.com/insights/thailand-draft-amendment-to-copyright-act-promises-updated-protections/> สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565.

Tom Wicker, ‘Online platforms: ‘notice and takedown’ procedures at heart of updated EU rules’ (International Bar Association, 3 September 2021) <https://www.ibanet.org/Online-platforms-notice-and-takedown-procedures-at%20heart-of-updated-EU-rules> สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565.

Tuteur v. Crosley-Corcoran, 961 F. Supp. 2d 333, 343-44 (D. Mass. 2013).

The U.S. Digital Millennium Copyright Act of 1998.

The U.S. Copyright Act of 1976.

Wendy Seltzer, ‘Free Speech Unmoored in Copyright’s Safe Harbor: Chilling Effects of the DMCA on the First Amendment’ (2010) 1 Harvard Journal of Law & Technology 171.