มาตรการลงโทษที่เหมาะสมในความผิดฐานเจ้าพนักงานรับสินบน

Main Article Content

พัฒน์นรีลักษณ์ วิรยศิริ
รองศาสตราจารย์อัจฉรียา ชูตินันทน์

บทคัดย่อ

            การที่ผลการจัดอันดับดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน พ.ศ. 2563 และ พ.ศ. 2564 จากระดับความทุจริตในภาครัฐ ประเทศไทยได้คะแนนเพียง 36 และ 35 คะแนน ตามลำดับ จากคะแนนเต็ม 100 คะแนนอาจมีสาเหตุมาจากความไม่เหมาะสมของโทษในมาตรการทางกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 และมาตรา 201 ในการแก้ไขปัญหาการทุจริตของเจ้าพนักงานรับสินบน เป็นการลงโทษทางอาญาที่ไม่สอดคล้องกับทฤษฎีการลงโทษเพื่อเป็นการแก้แค้น ทดแทนและเพื่อเป็นการข่มขู่ยับยั้งการกระทำความผิด


          จากการศึกษาพบว่า ปัญหาเจ้าพนักงานรับสินบนถือเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของชาติ และเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคมเป็นอย่างมาก ผู้กระทำความผิดฐานเจ้าพนักงานรับสินบนต้องถูกลงโทษสถานหนักตามหลักความได้สัดส่วน (Principle of proportionality) และแนวคิดนิติเศรษฐศาสตร์ (economic analysis of law) โทษทางอาญาที่ผู้กระทำความผิดได้รับจะต้องได้สัดส่วนกับความร้ายแรงของความผิดที่ผู้กระทำความผิดได้กระทำและสอดคล้องกับความน่าตำหนิของตัวผู้กระทำความผิด การลงโทษต้องได้สัดส่วนกับลักษณะของการกระทำความผิด ตามหลักการลงโทษที่ได้สัดส่วนกับการกระทำความผิด ในแง่มุมของฝ่ายนิติบัญญัติที่ต้องบัญญัติโทษทางอาญาให้ได้สัดส่วนกับความผิดอาญาที่ผู้กระทำความผิดได้กระทำ จึงควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมอัตราโทษจำคุกขั้นตต่ำและโทษปรับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 และมาตรา 201 ให้สูงขึ้น และกำหนดจำนวนสินบนที่ผู้กระทำความผิดได้รับให้ชัดเจนในกรณีระวางโทษประหารชีวิต เพื่อให้เหมาะสมกับความผิดฐานเจ้าพนักงานรับสินบนและให้สอดคล้องกับทฤษฎีการลงโทษเพื่อเป็นการแก้แค้นทดแทนและเพื่อเป็นการข่มขู่ยับยั้งการกระทำความผิด

Article Details

บท
บทความ

References

ภาษาไทย

กิติมา แก้วนะรา, ‘หลักความได้สัดส่วนกับบทกำหนดโทษที่เหมาะสมสำหรับผู้กระทำความผิดในคดียาเสพติดให้โทษ : ศึกษากรณีแอมเฟตามีน’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 2559).

กิติมา แก้วนะรา และธานี วรภัทร์, ‘หลักความได้สัดส่วนกับบทกำหนดโทษที่เหมาะสมสำหรับผู้กระทำความผิดในคดียาเสพติดให้โทษ : ศึกษากรณีแอมเฟตามีน’ (สิงหาคม – พฤศจิกายน 2559) 1 วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 125.

คณิต ณ นคร, กฎหมายอาญา ภาคทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 6, สำนักพิมพ์วิญญูชน 2560).

ณรงค์ ใจหาญ, กฎหมายอาญาว่าด้วยโทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย (สำนักพิมพ์วิญญูชน 2543).

ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน, ทฤษฎีการลงโทษในแนวทางการศึกษาชุดวิชากฎหมายอาญาและอาชญาวิทยาชั้นสูง (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2554).

บรรเจิด สิงคะเนติ และสมศักดิ์ นวตระกูลพิสุทธิ์, ‘หลักความได้สัดส่วนตามหลักกฎหมายของเยอรมันและฝรั่งเศส’ (พฤษภาคม – สิงหาคม 2542) 2 วารสารศาลรัฐธรรมนูญ 40.

ปกป้อง จันวิทย์, ‘ความรู้เบื้องต้นว่าด้วยนิติเศรษฐศาสตร์’ (การสัมมนาเรื่อง การวิเคราะห์กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมทางอาญาด้วยเศรษฐศาสตร์, สถาบันรพีพัฒนศักดิ์ สำนักงานศาลยุติธรรม และมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, 26 มกราคม 2553).

ปกป้อง ศรีสนิท, กฎหมายอาญาชั้นสูง (พิมพ์ครั้งที่ 2, สำนักพิมพ์วิญญูชน 2561).

ปราโมทย์ เสริมศีลธรรม, หลักเกณฑ์ในการกำหนดโทษทางอาญาภายใต้โครงการสนับสนุนสารสนเทศ เพื่อการทำงานของสมาชิกรัฐสภา (สถาบันพระปกเกล้า 2564).

มนสิชา บุนนาค, ‘การกำหนดโทษทางเลือกกับการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 2556).

ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ‘ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน’ <https://www.nesdc.go.th/article_attach/article_file_20210129165621.pdf> สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2565.

สัญญพงศ์ ลิ่มประเสริฐ สุธีราภรณ์ แสงจันทร์ศรี และอนิสา มานะทน, ‘การลงโทษผู้กระทำผิดทางอาญา’ (งานประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2562, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, 26 เมษายน 2562).

สุพิชฌาย์ ศิริวัฒนา สีตะสิทธิ์, ‘แนวทางที่เหมาะสมในการลงโทษและแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดซ้ำในกระบวนการยุติธรรมไทย’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์ 2558).

สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล และปกป้อง ศรีสนิท, ‘การศึกษาเพื่อพัฒนาแนวทางการลงโทษ : หลักการลงโทษที่ได้สัดส่วน กรณีคดียาเสพติดให้โทษ’ (ธันวาคม 2560) 4 วารสารนิติศาสตร์ 903.

สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์, ‘กฎหมายอาญาที่หมดความจำเป็นตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 : ความหมายและหลักเกณฑ์ (ตอน 1)’ (กรกฎาคม – กันยายน 2564) 3 บทบัณฑิตย์ 189.

—— พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 : ศึกษาหลักเกณฑ์ในการใช้ดุลพินิจกำหนดโทษกรณีบทบัญญัติของกฎหมายหมดความจำเป็น (สำนักงานศาลยุติธรรม 2565).

—— ‘หลักเกณฑ์การใช้ดุลพินิจกำหนดโทษกรณีกฎหมายหมดความจำเป็น’ (ตุลาคม – ธันวาคม 2565) 4 บทบัณฑิตย์ 108.

หยุด แสงอุทัย, ‘การวินิจฉัยปัญหาคดีอาญา’ (2483) 11 บทบัณฑิตย์.

—— กฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 21, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2556).

อัจฉรียา ชูตินันทน์, อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 4, สำนักพิมพ์วิญญูชน 2563).

—— ‘หลักการกำหนดความผิดอาญาและหลักการกำหนดโทษอาญาในการตรากฎหมาย’ (กรกฎาคม – กันยายน 2564) 3 วารสารสุทธิปริทัศน์ 21.

ภาษาต่างประเทศ

Bentham Jeremy, An Introduction to the Principles of Morals and Legislation (Batoche Books 2000).

Crimes Act 1961.

Criminal Code of The French Republic English Version.

Criminal Law of The People’s Republic of China.

D’Ascoli Silvia, Sentencing in International Criminal Law : The approach of the two UN ad hoc Tribunals and future perspectives for the International Criminal Court (European University Institute 2008).

Das Amit Kumar, ‘8 kinds and theories of punishment’ (writinglaw, no publication date) <https://www.writinglaw.com/5-theories-of-punishment/> สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2565.

Edwin H. Sutherland, Donald R. Cressey and David F. Luckenbill, Principle of Criminology (11th edn, General Hall 1993).

Franklin Richard Langdon, Freewill and Determinism : A Study of Rival Conceptions of Man (Routledge 2018).

John J. DiIulio, Jr., ‘Deterrence Theory’ in Mary Bosworth (ed) Encyclopedia of Prisons & Correctional Facilities (SAGE Publications 2005) <https://marisluste.files.wordpress.com/2010/11/deterrence-theory.pdf> สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2565.

Sudeshna, ‘Theories of Punishment’ (ccsuniversity, no publication date) <https://ccsuniversity.ac.in/bridge-library/pdf/LLM-II-SEM-JURISPRUDENCE-II-L-2002-Lecture-on-Theories-of-punishment.pdf> สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2565.

Transparency International, ‘Corruption Perceptions Index 2020’ <https://www.transparency.org/en/cpi/2020> สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2565.

Transparency International, ‘Corruption Perceptions Index 2021’ <https://www.transparency.org/en/cpi/2021> สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2565.

United Nations Treaty Collection, ‘United Nations, Treaty Series’ <https://treaties.un.org> สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2565.

Upton Ben, ‘Bribery & Corruption’ in Jonathan Pickworth and Jo Dommock (eds) Bribery & Corruption (Global Legal Insights 2016).