บรรยากาศการประชุมประชาพิจารณ์ กิจกรรมการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์สู่แนวทางการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม ภายใต้โครงการ “ส่งเสริมการพัฒนาผู้ประกอบการ / วิสาหกิจชุมชนในการผลิตสินค้าเกษตรผลิตภัณฑ์” ปีงบประมาณ 2563

2020-09-29

Logo.jpg

เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม (IAID) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ดำเนินการจัดประชุมประชาพิจารณ์  ในกิจกรรมการจัดกิจกรรมการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์สู่แนวทางการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม ภายใต้โครงการ “ส่งเสริมการพัฒนาผู้ประกอบการ / วิสาหกิจชุมชนในการผลิตสินค้าเกษตรผลิตภัณฑ์” ปีงบประมาณ 2563 ขึ้น ณ โรงแรมอมารี ดอนเมืองแอร์พอร์ต เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานครฯ ห้องดอนเมือง 2 ซึ่งได้รับเกียรติจาก ท่านอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (อดีตนายกรัฐมนตรี / ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์) มาเป็นผู้บรรยายในหัวข้อ “การเปลี่ยนแปลงของเกษตรอุตสาหกรรม ในยุค 5.0” โดยมี ดร.อริยาพร อำนรรฆสรเดช (ผอ.กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม) เป็นผู้กล่าวเปิดงาน และมี รศ.ดร.เมธินี วงศ์วานิช รัมภกรภรณ์ (หัวหน้าโครงการ / บรรณาธิการ วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์) ทำหน้าที่เป็นวิทยากรดำเนินรายการระดมความคิดเห็นและรับฟังการประชาพิจารณ์ ร่างแผนยุทธศาสตร์หรือแผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2564 - 2568) ของกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม (IAID) เพื่อให้ได้แผนยุทธศาสตร์มีประสิทธิภาพ และสามารถนำไปใช้ได้จริง

          เริ่มต้นด้วยการแสดงปาฐกถาพิเศษจาก ท่านอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งได้กล่าวถึงปัญหาที่เกิดขึ้นของภาคการเกษตรในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างที่ขาดความเชื่อมโยงการวางแผน ปัญหาความโดดเด่นด้านตัวเลขของผลิตภาพ รวมถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมที่สูง เป็นเหตุให้เกิดความยากจนของเกษตรกร ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหา ดังนี้

  1. ต้องมีการปรับปรุงขีดความสามารถในการขับเคลื่อนภาคการเกษตร เช่น การให้บริการด้านเครื่องจักรกลทางการเกษตร และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมในการทำเกษตรกรรมให้เหมาะสมและตอบสนองเป้าหมายต่าง ๆ ได้ อีกทั้งต้องมีเทคโนโลยีชีวภาพ ที่ช่วยเรื่องการปรับปรุงพันธุ์ของผลผลิตให้มีภูมิคุ้มกันที่ดี และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น
  2. ต้องมีความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา บริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ และมุ่งตอบสนองความต้องการของตลาด ใช้อุปสงค์เป็นตัวนำ โดยต้องพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกระแสสังคมที่มีแนวโน้มขัดแย้งกัน ยกตัวอย่างเช่น ผู้บริโภคต้องการพลังงานจากเนื้อสัตว์ แต่ในขณะเดียวกันผู้บริโภคก็เกิดการตื่นตัวด้านสุขภาพ ระมัดระวังในเรื่องการบริโภคหรือแสวงหาทางเลือกใหม่ เป็นต้น
  3. ต้องแก้ไขกฎระเบียบที่ล้าสมัย และกฎกติกาการแข่งขันที่อาจทำให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบได้ โดยรัฐบาลจะต้องเข้ามาดูแลในส่วนนี้ ภายใต้ขอบเขตที่เหมาะสม

 เมื่อเสร็จสิ้นการแสดงปาฐกถาพิเศษ ได้มีการระดมความคิดเห็นเพิ่มเติมจากผู้เข้าร่วมการประชุม โดยสามารถสรุปได้ ดังนี้

  1. ภาครัฐกับภาคเอกชนจะต้องสร้างความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาของภาคการเกษตรร่วมกัน โดยเน้นการพัฒนาบุคลากร (HR Development) ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรภาครัฐ เกษตรกรรายย่อย และผู้มีส่วนได้เสียต่าง ๆ ให้มีความรู้ความสามารถที่ทันต่อสมัย โดยเฉพาะทักษะทางดิจิทัล (Digital Literacy) เพื่อให้เรื่องเทคโนโลยีเป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน ทุกหน่วยงาน และสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองได้ และการออกนโยบายและกฎระเบียบจากทางภาครัฐ ต้องรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชนด้วย
  2. ควรออกแบบนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้ตรงความต้องการของผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการยกระดับคุณภาพสินค้าและลดการใช้แรงงาน โดยราคาของนวัตกรรมจะต้องไม่แพงเกินไปสำหรับเกษตรกรรายย่อย อีกทั้งยังต้องมีนวัตกรรมในการจัดการข้อมูลเกี่ยวกับเกษตรกรรมอย่างครบวงจร เช่น ระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อให้บริการข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับเกษตรกรในการทำเกษตรกรรม ซึ่งมีความสำคัญมากในการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม
  3. เครือข่ายในแต่ละชุมชน หรือศูนย์การเรียนรู้ จะต้องเป็นสื่อกลางที่จะช่วยต่อยอดความรู้และแนวคิดที่มีอยู่เดิมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งต้องเป็นแหล่งประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนนั้น ๆ

จากนั้นก็เข้าสู่ช่วงประชาพิจารณ์ ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.เมธินี วงศ์วานิช รัมภกรภรณ์ ได้เปิดให้ผู้เข้าร่วมการประชุม ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน แสดงความเห็นและประชาพิจารณ์ (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์ระดับหน่วยงานของกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม (IAID) ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านได้แบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ และข้อเท็จจริงอันเป็นประโยชน์มากมาย โดย รศ.ดร.เมธินี วงศ์วานิช รัมภกรภรณ์ แจ้งต่อผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านไว้ว่า ได้รับฟังทุกความเห็น โดยทีมงานกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม (IAID) จะนำมาประกอบการพิจารณาปรับปรุงร่างแผนยุทธศาสตร์หรือแผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2564 - 2568) ให้มีประสิทธิภาพต่อไป

สามารถรับชมการประชุมประชาพิจารณ์ย้อนหลังได้ที่ Link

119988388_172340524513731_8945110856633695697_o.jpg

119973540_172340727847044_2718147693813812458_o.jpg

119979466_172340754513708_3762061211972779208_o.jpg

119934897_172340771180373_614246695291822755_o.jpg

119900958_172340837847033_8122659043273164398_o.jpg

119825889_172340821180368_7601064653220998681_o.jpg

119883039_172340867847030_6543535499108554512_o.jpg

119912659_172340884513695_3106409402072092146_o.jpg