ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเวลา ความเครียด และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิต นักศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พรนับพัน อัศวมงคลศิริ คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

คำสำคัญ: การจัดการเวลา ความเครียด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

         วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษา 1) การจัดการเวลา และความเครียด และ

2) ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเวลา ความเครียด และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิต นักศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือนิสิต นักศึกษา มหาวิทยาลัยของรัฐในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า มากกว่าสองในสามเป็นเพศหญิง อายุโดยเฉลี่ย 20.39 ปี มากกว่าครึ่งศึกษาอยู่ในคณะสายวิทยาศาสตร์ เกือบหนึ่งในสามศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 คะแนนเฉลี่ยสะสม 3.03 เกือบครึ่ง พักอาศัยกับบิดามารดา ที่พักปัจจุบันอยู่ห่างจากมหาวิทยาลัย เฉลี่ย 11.03 กิโลเมตร   

ผลการศึกษาพบว่านิสิต นักศึกษามีการจัดการเวลา 3 -4 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยมีการกำหนดเป้าหมายของการจัดการ และการประเมินผล 5 - 6 ครั้งต่อสัปดาห์ การวิเคราะห์การใช้เวลา การวางแผน การดำเนินการตามแผน 3 -4 ครั้งต่อสัปดาห์ นิสิต นักศึกษามากกว่าสองในสามเล็กน้อย มีความเครียดสูงกว่าปกติเล็กน้อย และปกติ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเวลากับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความเครียดพบว่า

1) การจัดการเวลามีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  2)  การจัดการเวลา ด้านการกำหนดเป้าหมายของการจัดการ และการประเมินผล มีความสัมพันธ์กับความเครียดเชิงลบในระดับต่ำมาก และ 3) ความเครียดไม่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 

 

References

เอกสารและสิ่งอ้างอิง
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. 2550. แบบประเมิน และวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเอง (Stress Test). กรุงเทพมหานคร: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.
ฐิติมา เดชเรือง. 2549 . ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเรียน และการจัดการเวลากับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาคหกรรมศาสตรศึกษา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธัญญารัตน์ จันทรเสนา. จารุวรรณ สกุลคู และ อรรณพ โพธิสุข. 2556. ความเครียดของนิสิตระดับ
ปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารวิจัย มสด สาขามนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์. 9 (2): 139-157.
เนตรราตรี เท้าโสม. 2555. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล และ สุภาพ ฉัตราภรณ์. 2549. การออกแบบการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 5.
กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มรรยาท รุจิวิชชญ์. 2556. การจัดการความเครียดเพื่อสร้างเสริมสุขภาพจิต. พิมพ์ครั้งที่ 2.
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิศิษฐ์ วัชรเทวินทร์กุล. 2551. ความเครียด ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดและวิธีขจัดความเครียด
ของนักศึกษาสถาบันราชภัฏนครปฐม. วิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2559. ผลกระทบโลกาภิวัตน์ต่อการจัดการศึกษาไทยใน
5 ปีข้างหน้า. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. 2560. ข้อมูลสถิติการศึกษา. (Online)
http://www.info.mua.go.th/information/, 15 มิถุนายน 2560.
Burt, C.D. and S. Kemp, 1994. Construction of Activity Duration and Time Management Potential. Applied Cognitive Psychology. Vol.8 pp. 155-68.
Miqdadi, Z. F.; F.M ALMomani, T. Mohammad and M.N. Elmousel. 2014. The Relationship Between Time Management and the Academic Performance of Students from the Petroleum Institute in Abu Dhabi, The UAE. http://www.asee.org/documents/zones/zone1/2014/Student/PDFs/177.pdf 11/6/2018.
Trueman, M. and J. Hartley. 1996. A Comparison Between the Time Management Skills
and Academics Performance of Mature and Traditional-entry University
Students. Higher Education, Vol 32, pp. 421-34.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-15