เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • บทความต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด รวมทั้งต้องไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานอื่น
  • บทความต้องมีรูปแบบตามที่วารสารระบุไว้ในหัวข้อ "การเตรียมต้นฉบับ"
  • บทความต้องอยู่ในรูปแบบไฟล์เอกสาร Microsoft Word (.docx) ควรมีความยาวรวมบทคัดย่อ ตาราง รูปภาพ และเอกสารอ้างอิง ประมาณ 15-20 หน้า กระดาษขนาด A4
  • บทความภาษาไทยต้องระบุชื่อบทความ ชื่อ-สกุล ชื่อหน่วยงานต้นสังกัด ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งอีเมลผู้เขียนทุกคน
  • บทความภาษาไทยต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวแต่ละภาษาไม่ควรเกิน 300 คำ และมีคำสำคัญ 3-5 คำ
  • บทความภาษาไทยต้องมีชื่อภาพประกอบ (Figure) และชื่อตาราง (Table) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  • บทความต้องมีรูปแบบการอ้างอิงตามที่วารสารกำหนดไว้

Journal of Information and Learning [JIL] เป็นวารสารวิชาการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ การจัดการสารสนเทศและความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสารสนเทศ การบริหารจัดการห้องสมุดและศูนย์ข้อมูล การออกแบบระบบการเรียนรู้ เทคโนโลยีการศึกษา สื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรการเรียนรู้ และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

 

ประเภทบทความ (Article Type)

1) บทความวิจัย งานเขียนทางวิชาการที่เป็นงานศึกษาหรืองานค้นคว้าอย่างมีระบบ ด้วยวิธีวิทยาการวิจัยที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้น ๆ และมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล คำตอบหรือข้อสรุปรวมที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการหรือเอื้อต่อการนำวิชาการนั้นไปใช้ประโยชน์ บทความวิจัย ประกอบด้วย เนื้อหาที่สะท้อนให้เห็นกระบวนการค้นคว้าวิจัยในประเด็นปัญหาอย่างเหมาะสมตามระเบียบวิธีวิจัย เช่น บทนำหรือประเด็นปัญหาการวิจัย ผลการศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง วัตถุประสงค์ สมมติฐาน กรอบแนวคิด วิธีดำเนินการ การสรุปผล การอภิปรายผล และให้ข้อเสนอแนะ มีการอ้างอิงและรายการเอกสารอ้างอิงครบถ้วน ทั้งนี้อาจนำเสนอโดยจำแนกตามหัวข้อข้างต้นหรือประมวลสรุปกระบวนการวิจัยในผลงานวิจัยนั้นให้มีความกระชับและสั้น สำหรับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ

2) บทความวิชาการหรือบทความปริทัศน์ งานเขียนทางวิชาการซึ่งกำหนดประเด็นที่ต้องการอธิบายหรือวิเคราะห์อย่างชัดเจนตามหลักวิชาการ สามารถสรุปผลการวิเคราะห์ในประเด็นนั้นได้ อาจเป็นการนำความรู้จากแหล่งต่าง ๆ มาประมวลร้อยเรียงเพื่อวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยที่ผู้เขียนแสดงทัศนะทางวิชาการของตนไว้อย่างชัดเจน บทความวิชาการ ประกอบด้วย บทนำ เพื่อแสดงเหตุผลหรือที่มาของประเด็นที่ต้องการอธิบายหรือวิเคราะห์ กระบวนการอธิบายหรือวิธีการวิเคราะห์ ผลการวิเคราะห์ และบทสรุป มีการอ้างอิงและรายการเอกสารอ้างอิงครบถ้วน

 

การส่งต้นฉบับ (Submissions)

บทความที่จะได้รับการพิจารณาตีพิมพ์จะต้องผ่านกระบวนการพิจารณาจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (Peer review) โดยมีขั้นตอนดังนี้

1) ผู้เขียนต้องเตรียมต้นฉบับให้มีรูปแบบตามที่วารสารระบุไว้ในหัวข้อ "การเตรียมต้นฉบับ"

2) ผู้เขียนต้องลงทะเบียนเพื่อใช้งานระบบ ThaiJO และส่งบทความทางระบบออนไลน์ที่ Journal of Information and Learning [JIL] เท่านั้น พร้อมส่งข้อมูลผู้ประสานงานหลักบทความ

3) เมื่อกองบรรณาธิการได้รับบทความแล้วจะดำเนินการตรวจสอบบทความเบื้องต้น ซึ่งประกอบด้วย การตรวจสอบความสอดคล้องของบทความกับวัตถุประสงค์และขอบเขตวารสาร การตรวจสอบการตีพิมพ์ซ้ำซ้อนและการคัดลอกบทความด้วยโปรแกรม iThenticate และ CopyCatch และการตรวจสอบความถูกต้องของต้นฉบับบทความตามรูปแบบที่วารสารกำหนดไว้ รวมถึงการตรวจสอบคุณภาพและประโยชน์ทางวิชาการด้วย

4) หากผ่านการตรวจสอบบทความเบื้องต้น กองบรรณาธิการจะดำเนินการส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิกลั่นกรองคุณภาพบทความต่อไป

5) เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิกลั่นกรองคุณภาพบทความเรียบร้อยแล้ว กองบรรณาธิการจะพิจารณาผลการกลั่นกรองโดยอิงตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิในบทความนั้น ๆ ว่า เห็นควรรับการตีพิมพ์ หรือแก้ไขก่อนการตีพิมพ์ หรือปฏิเสธการตีพิมพ์ โดยผลการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิและการตัดสินใจของกองบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด

6) สำหรับบทความที่ผ่านการพิจารณาและได้รับการตีพิมพ์ ผู้เขียนต้องชำระเงินค่าตีพิมพ์ตามอัตราที่วารสารกำหนด โดยกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ทราบภายหลังกระบวนการพิจารณาบทความเรียบร้อยแล้ว

 

ขั้นตอนการดำเนินงาน (Workflow)


การส่งข้อมูลผู้ประสานงานหลัก (Corresponding Author)

ผู้เขียนสามารถส่งข้อมูลผู้ประสานงานหลักได้ที่ แบบฟอร์มข้อมูลผู้ประสานงานหลักบทความ เพื่อจัดเก็บข้อมูลผู้เขียนและใช้ในการติดต่อประสานงานกับกองบรรณาธิการวารสารเท่านั้น

 

อัตราค่าตีพิมพ์บทความ (Article Page Charges)


เงื่อนไขการพิจารณาตีพิมพ์บทความ

1) กำหนดแจ้งผลการพิจารณาบทความภายใน 60-90 วัน

2) บทความที่ได้รับการตอบรับตีพิมพ์ (Accept) ผู้เขียนต้องชำระเงินค่าตีพิมพ์บทความภายหลังได้รับการแจ้งผลการพิจารณา

3) บทความที่ได้รับการปฏิเสธตีพิมพ์ (Reject) ผู้เขียนไม่ต้องชำระเงินค่าตีพิมพ์บทความหรือค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์แต่อย่างใด

 

ช่องทางการชำระเงิน (Payment)

การชำระเงินกำหนดให้โอนผ่านบัญชีธนาคาร ดังนี้
ธนาคาร        ไทยพาณิชย์ (SCB)
ชื่อบัญชี       สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
เลขที่บัญชี     704-224316-1

พร้อมส่งสำเนาหลักฐานการชำระเงินมายังอีเมล khanitsorn.r@psu.ac.th

*** หมายเหตุ ผู้เขียนต้องชำระเงินภายหลังได้รับการแจ้งจากกองบรรณาธิการเท่านั้น ***