การเตรียมต้นฉบับ
จัดเตรียมต้นฉบับบทความด้วยโปรแกรม Microsoft Word กระดาษขนาด A4 ระยะขอบกระดาษทั้ง 4 ด้าน ขนาด 1 นิ้ว จัดรูปแบบเนื้อหาเป็น 1 คอลัมน์ ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK หรือ TH Sarabun New พร้อมระบุหมายเลขหน้าในตำแหน่งมุมขวาบน
1) ชื่อบทความ ใช้ตัวอักษรขนาด 18 pt ตัวหนา จัดย่อหน้าแบบจัดกลาง
2) ชื่อผู้เขียน ชื่อหน่วยงานต้นสังกัด และอีเมลผู้แต่ง ใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt ตัวปกติ จัดย่อหน้าแบบจัดกลาง
3) บทคัดย่อและคำสำคัญ ใช้ตัวอักษรขนาด 16 pt ตัวปกติ
4) หัวเรื่องหลัก ใช้ตัวอักษรขนาด 16 pt ตัวหนา จัดย่อหน้าแบบชิดซ้าย
5) หัวเรื่องรอง ใช้ตัวอักษรขนาด 16 pt ตัวเอียง จัดย่อหน้าแบบชิดซ้าย
6) เนื้อหา ใช้ตัวอักษรขนาด 16 pt ตัวปกติ
7) เอกสารอ้างอิง ใช้ตัวอักษร Arial ขนาด 10 pt ตัวปกติ จัดย่อหน้าแบบชิดซ้าย
ทั้งนี้ขอให้ผู้เขียนจัดเตรียมต้นฉบับด้วยไฟล์ต้นฉบับบทความของวารสาร รวมทั้งศึกษาคำแนะนำการเตรียมต้นฉบับเพิ่มเติม ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้จากลิงค์ด้านล่างนี้
ไฟล์ต้นฉบับบทความ
คำแนะนำการเตรียมต้นฉบับเพิ่มเติม (FAQ)
การอ้างอิง
รูปแบบการอ้างอิงใช้มาตรฐานของ APA 7th Edition (American Psychological Association) และเพื่อโอกาสในการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในวงกว้าง รูปแบบการอ้างอิงต้องเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น โดยกำหนดรูปแบบการอ้างอิงจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ ดังนี้
1) รายการอ้างอิงที่เป็นภาษาไทยต้องแปลงเป็นภาษาอังกฤษทุกรายการ
2) จัดเรียงลำดับรายการอ้างอิงตามลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษ
3) หากไม่ปรากฏชื่อผู้เขียนและชื่อเรื่องที่เป็นภาษาอังกฤษให้ใช้วิธีการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน (Thai Romanization) โดยใช้หลักเกณฑ์ของ Library of Congress ซึ่งแนะนำให้ใช้โปรแกรมแปลงสาส์นที่พัฒนาโดย NECTEC
4) แปลความหมายชื่อเรื่อง (Translated Title) ไว้ในวงเล็บเหลี่ยม [............] หลังข้อความ Thai Romanization
1. การอ้างอิงในเนื้อหา
การอ้างอิงในเนื้อหา (Citations in text) เพื่อระบุแหล่งที่มาของข้อมูลใช้วิธีการอ้างอิงแบบนาม-ปี โดยระบุนามสกุลผู้เขียนและปี ค.ศ. ที่พิมพ์ของเอกสารไว้หน้าหรือหลังข้อความที่ต้องการอ้าง และอาจระบุเลขหน้าของเอกสารที่อ้างด้วยก็ได้หากต้องการ (p. กรณีอ้างหน้าเดียว pp. กรณีอ้างหลายหน้าต่อเนื่องกัน)
1.1 กรณีอ้างหน้าข้อความ เช่น
Rashford (2022) .....
Rashford and Sancho (2022, p. 74) .....
Rashford et al. (2022, pp. 35-47) .....
Prince of Songkla University (PSU, 2022) .....
1.2 กรณีอ้างหลังข้อความ เช่น
..… (Rashford, 2022)
..… (Rashford & Sancho, 2022, p. 74)
..… (Rashford et al., 2022, pp. 35-47)
..... (Prince of Songkla University [PSU], 2022)
รายการอ้างอิงที่มีผู้เขียน 3 คนขึ้นไป ระบุนามสกุลผู้เขียนคนแรกตามด้วย et al. และปี ค.ศ. ที่พิมพ์เอกสาร เช่น Rashford et al. (2022) ..... หรือ ..… (Rashford et al., 2022, pp. 35-47) อย่างไรก็ตาม เอกสารอ้างอิงท้ายบทความต้องระบุผู้เขียนทุกคน
กรณีอ้างอิงชื่อหน่วยงานการอ้างครั้งแรกให้ระบุชื่อเต็มและวงเล็บเหลี่ยมชื่อย่อ (ถ้ามี) และในการอ้างครั้งที่สองให้ระบุชื่อย่อ เช่น Prince of Songkla University (PSU, 2022) ..... เมื่ออ้างครั้งที่สองจะเป็น PSU (2022) ..... หรือ ..... (PSU, 2022)
2. เอกสารอ้างอิงท้ายบทความ
การรวบรวมรายการเอกสาร (References) ที่ใช้อ้างอิงในผลงานทั้งหมดไว้ท้ายบทความ ซึ่งผู้อ่านสามารถตรวจสอบข้อมูลทางบรรณานุกรมของเอกสารได้จากรายการเอกสารอ้างอิง
ชื่อบทความและชื่อหนังสือใช้อักษรพิมพ์ใหญ่เฉพาะอักษรแรกของชื่อบทความและหลังเครื่องหมายทวิภาค (Colon) เท่านั้น ยกเว้นชื่อเฉพาะใช้อักษรพิมพ์ใหญ่ได้
2.1 บทความวารสาร (Journal Articles)
รูปแบบ
Author, A. A. (year). Title of article. Title of Journal, Volume(Issue), pp-pp. https://doi.org/xxxx (for article with a DOI)
Author, A. A., & Author, B. B. (year). Title of article. Title of Journal, Volume(Issue), pp-pp. https://xxxxx (for article without a DOI, with a nondatabase URL)
Author, A. A., Author, B. B., & Author, C. C. (year). Title of article. Title of Journal, Volume(Issue), pp-pp. (for article print version)
ตัวอย่าง
Duangnim, A., Napapongs, W., Kaosaiyaporn, O., Tansakul, J., & Inkaew, C. (2021). Development of massive open online learning environments to promote self-directed learning based on constructivist approach. Journal of Information and Learning, 32(3), 1-13. https://doi.org/10.14456/jil.2021.19
รูปแบบการแปลงอ้างอิงภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ
Author, A. A. (year). Romanized title of article [Translated title of article]. Title of Journal, Volume(Issue), pp-pp. https://doi.org/xxxx or https://xxxxx
2.2 หนังสือ (Books)
รูปแบบ
Author, A. A. (year). Title of book. Publisher Name. https://doi.org/xxxx (for book with a DOI)
Author, A. A., & Author, B. B. (year). Title of book. Publisher Name. https://xxxxx (for ebook without a DOI, with a nondatabase URL)
Author, A. A., Author, B. B., & Author, C. C. (Eds.). (year). Title of book (2nd ed.). Publisher Name. (for book print version)
ตัวอย่าง
American Psychological Association. (2020). Publication manual of the American Psychological Association (7th ed.). https://doi.org/10.1037/0000165-000
รูปแบบการแปลงอ้างอิงภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ
Author, A. A. (year). Romanized Title of book [Translated title of book]. Publisher Name.
ต้นฉบับภาษาไทย
ดิชิตชัย เมตตาริกานนท์. (2558). เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการสารสนเทศ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ตัวอย่างการแปลงอ้างอิง
Mettarikanon, D. (2015). Theknōlōyī sārasonthēt læ kānsư̄sān phư̄a kānčhatkān sārasonthēt [Information and communication technology for information management]. Chulalongkorn University.
2.3 หนังสือที่มีบรรณาธิการรับผิดชอบ (Book Chapters)
รูปแบบ
Author, A. A., & Author, B. B. (year). Title of chapter. In A. Editor (Ed.), Title of book (pp. xx-xx). Publisher Name. https://doi.org/xxxx
ตัวอย่าง
Hartley, J. T., Harker, J. O., & Walsh, D. A. (1980). Contemporary issues and new directions in adult development of learning and memory. In L. W. Poon (Ed.), Aging in the 1980s: Psychological issues (pp. 239-252). American Psychological Association.
รูปแบบการแปลงอ้างอิงภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ
Author, A. A., & Author, B. B. (year). Romanized title of chapter [Translated title of chapter]. In A. Editor (Ed.), Romanized title of book [Translated title of book] (pp. xx-xx). Publisher Name.
2.4 ผลงานในการประชุมวิชาการ (Conference Sessions and Presentation)
รูปแบบ
Author, A. A., Author, B. B., & Author, C. C. (year, month day). Title of contribution [Conference session]. Conference Name, Location. https://doi.org/xxxx or https://xxxxx (for conference session)
Author, A. A., & Author, B. B. (year, month day). Title of contribution [Paper presentation]. Conference Name, Location. https://doi.org/xxxx or https://xxxxx (for paper presentation)
Author, A. A. (year, month day). Title of contribution [Poster presentation]. Conference Name, Location. https://doi.org/xxxx or https://xxxxx (for poster presentation)
Author, A. A. (year, month day). Title of contribution. In C. C. Chairperson (Chair), Title of symposium [Symposium]. Conference Name, Location. https://doi.org/xxxx or https://xxxxx (for symposium contribution)
ตัวอย่าง
Sanchol, P., & Fugkeaw, S. (2020, May 13–14) An analytical review of data access control schemes in mobile cloud computing [Conference session]. The 17th International Conference on Computing and Information Technology (IC2IT 2021), Bangkok, Thailand. https://doi.org/10.1007/978-3-030-79757-7_30
2.5 วิทยานิพนธ์ (Dissertations and Theses)
รูปแบบ
Author, A. A., & Author, B. B. (year). Title of dissertation [Unpublished doctoral dissertation]. Name of Institution. (for unpublished dissertation or thesis)
Author, A. A., Author, B. B., & Author, C. C. (year). Title of thesis [Master's thesis, Name of Institution]. Database Name or Archive Name. https://xxxxx (for published dissertation or thesis)
ตัวอย่าง
Waenasae, R., & Wichai, N. (2020). Effects of using augmented reality for developing learning achievement on arabic consonant pronunciation of grade 3 [Master's thesis, Prince of Songkla University]. PSU Knowledge Bank. https://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17286
2.6 เว็บไซต์ (Websites)
รูปแบบ
Author, A. A. (year, month day). Title of content. Site Name. https://xxxxx
ตัวอย่าง
Collins, A. (2018, September 26). The ultimate guide to virtual reality. Hubspot. https://blog.hubspot.com/marketing/monetizing-immersive-technology
รูปแบบการแปลงอ้างอิงภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ
Author, A. A. (year, month day). Romanized title of content [Translated title of content]. Site Name. https://xxxxx
ต้นฉบับภาษาไทย
วิจารณ์ พานิช. (2563, มกราคม 21). ทฤษฎีเป็นเครื่องมือมากกว่าเป็นเป้าหมายของการเรียนรู้. GotoKnow. https://www.gotoknow.org/posts/674605
ตัวอย่างการแปลงอ้างอิง
Panich, V. (2020, January 21). Thritsadī pen khrư̄angmư̄ māk kwā pen paomāi khō̜ng kān rīanrū [Theory is more than a tool for the goal of learning]. GotoKnow. https://www.gotoknow.org/posts/674605