การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมยุโรปในสังคมพหุวัฒนธรรม: กรณีศึกษารายวิชาการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมยุโรป (เยอรมันและฝรั่งเศส) ในสังคมพหุวัฒนธรรม 2) เพื่อศึกษาผลลัพธ์การเรียนรู้และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้รายวิชาการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนรายวิชาการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมสาขาภาษายุโรป จำนวนทั้งหมด 15 คน ในปีการศึกษา 1-2562, 3-2562 และ 1-2563 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การทดสอบปฏิบัติการภาคสนาม แบบประเมินความพึงพอใจ และการประเมินทวนสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้
ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1.1) การบูรณาการการเรียนรู้โดยการปรับเปลี่ยนผสานรูปแบบของการเรียนรู้แบบพลวัตและการผสมผสานความหลากหลายตามความต้องการของผู้เรียน 1.2) การมีกิจกรรมเสริมหลักสูตรหรือกิจกรรมเสริมภาคสนามในการลงมือปฏิบัติจริงร่วมกับเจ้าของภาษา 1.3) การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่มีความผ่อนคลาย เสมอภาค ยุติธรรม เป็นประชาธิปไตย 1.4) การเชื่อมโยงภาษายุโรปกับสิ่งรอบตัวภายในท้องถิ่น 1.5) การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่น 1.6) การพัฒนาปรับใช้เทคโนโลยีเพื่อการถ่ายทอดองค์ความรู้ 1.7) การสร้างความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ และการได้รับการสนับสนุนทางด้านงบประมาณ 2) ผลลัพธ์การเรียนรู้ คือ การเพิ่มทักษะการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมและความเข้าใจตนเองและผู้อื่นในสังคมพหุวัฒนธรรมที่มีความต่างศาสนา ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์จากการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ความพึงพอใจของผู้เรียนในการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับดีมากที่สุดทั้งสามภาคการศึกษา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Information and Learning ดำเนินการโดยสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ โดยเจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิในการทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่งานบทความ ทั้งรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การทำฉบับสำเนา การแปล และการผลิตซ้ำในรูปแบบต่างๆ ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไข การปรับข้อความ หรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียน
References
Banks J. A. (1994). Approaches to multicultural curriculum reform. In J. Banks & C. Banks (Eds), Multicultural education: Issues and perspectives (pp. 137-157). Allyn & Bacon.
Banks, J. A. (1988). Multiethnic education: Theory and practice (2nd ed.). Allyn and Bacon.
Banks, J. A. (2004). Introduction: Democratic citizenship education in multicultural societies. In J. A. Banks (Ed.), Diversity and citizenship education: Global perspectives (pp. 3-15). Jossey-Bass.
Banks, J. A., Banks, C. A. Mc Gee (2020). Multicultural education: Issues and perspective (10th ed). John Willy& Sons.
Bolten, J. (2007). Interkulturelle kompetenz. Druckerei Sömmerda GmbH. Cortes, C. E. (1996). Cultural diversity and education: Foundations, curriculum, and teaching (5th ed.). Allyn and Bacon.
Dejamonchai, S. (2013). A study of the state of researches on French teaching and learning in Thailand during the past decade. Humanities Journal, 20(2), 178-202.
Derman-Sparks, L., & Brunson Phillips, C. B. (1997). Teaching/learning antiracism: A developmental Approach. Teachers College Press.
Hollins, E. R. (1999). Relating ethnic and racial identity development to teaching. In R. H. Sheets & E. R. Hollins (Eds.), Racial and ethnic identity in school practices: Aspects of human development (pp. 183-194). Erlbaum.
Luecha, R., Nilayon, N., khotthaphan, W., & Thongprayoon, T. (2019). Guidelines for language and intercultural communication instruction at vocational education in Thailand. Journal of industrial education. Faculty of Education. Srinakharinwirot University, 13(1), 1-23.
Nieto, S. (2000). Affirming diversity: The sociopolitical context of multicultural education (3rd ed). Longman.
Paripanyaporn, K., Pikulkantalers, R., & Bunyamongkolwat, K. (2018). Learning management of German as a foreign language. Journal of Education Studies, 46(4), 523-533.
Seeberg, V., & Minick, T. (2012). Enhancing cross-cultural competence in multicultural teacher education: Transformation in global learning. International Journal of Multicultural Education, 14(3), 1-22.
Shotipongviwat, P. (2017). Analysis of the progressivism philosophy. Faculty of Education: Mahamakut Buddhist University, 5(2), 91-98.Sleeter, C. E. (1991). Empowerment through multicultural Education. State University of New York Press.
Sungtong, E. (2008). Multicultural leadership of public school principals in the Three Southern Border Provinces. Prince of Songkla University.
Thongad, C. (2010). The actual demonstration school: Learning management based on progressive education philosophy. Journal of Education Naresuan University, 12(1), 72-93.
Titus, D. (1998, March 23). Teaching tolerance and appreciation for diversity; applying the research on prejudice reduction [Paper presentation]. The Association of Supervision and Curriculum Development 53rd. Annual Conference and Exhibit Show, San Antonio.
Udomrat, T. (2014). Policies and strategies for the promotion of foreign language instruction in ASEAN+3 countries: A case study of Malaysia. Journal of Education Naresuan University, 16(1), 127-139.
Yongyuan, B., & Padungpong, C. (2007). Using art activities to promote respect for cultural diversity of elementary school students, Pattani province. Songklanakarin Journal of Social Sciences & Humanities, 16(6), 953-972.
Yothakhun, S. (1998). A development of a multicultural education program to promote self understanding of preschool children in the Northeastern region [Master's thesis]. Chulalongkorn University.