การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับการกำหนดกลยุทธ์เพื่ออนาคตของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มในประเทศไทย

Main Article Content

จิรชาติ บุญสุข
กุลธิดา ท้วมสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับการกำหนดกลยุทธ์เพื่ออนาคตของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มในประเทศไทย ดำเนินการวิจัยโดยใช้วิธีวิจัยแบบผสม ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ครอบคลุมประเด็นการนำข้อมูลขนาดใหญ่มาใช้ในการกำหนดกลยุทธ์เพื่ออนาคต 7 ด้านคือ การกำหนดนโยบายและโครงสร้างการจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ความต้องการข้อมูล การใช้แหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ การจัดหาและเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอและรายงานข้อมูล และการนำข้อมูลไปใช้ โดยมีหน่วยวิจัยคือ บริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่จดทะเบียนกับกระทรวงอุตสาหกรรม การวิจัยเชิงปริมาณศึกษาโดยวิธีการสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้รับผิดชอบการจัดการข้อมูลโดยตรงของบริษัท แบ่งเป็นผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงาน จำนวนรวม 120 คน ได้แบบสอบถามกลับคืนจำนวน 108 ชุด ร้อยละ 90.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหารระดับสูงหรือที่ปรึกษาของบริษัท ที่มีบทบาทในการกำหนดกลยุทธ์เพื่ออนาคตของบริษัท รวม 12 คน ผลการวิจัยเชิงปริมาณสรุปได้ว่า บริษัทส่วนใหญ่มีการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับการกำหนดกลยุทธ์เพื่ออนาคตในบางส่วนทั้ง 7 ด้าน เรียงตามลำดับคือ การนำเสนอและรายงานข้อมูล ร้อยละ 65.74 การจัดหาและเก็บรวบรวมข้อมูล ร้อยละ 64.81 การใช้แหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ และการนำข้อมูลไปใช้ ร้อยละ 63.89 เท่ากัน การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ร้อยละ 62.04 การกำหนดนโยบายและโครงสร้างการจัดการข้อมูล ร้อยละ 59.26 และการวิเคราะห์ความต้องการข้อมูลเพื่อนำมากำหนดกลยุทธ์ ร้อยละ 57.41 ส่วนผลการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำให้ได้ข้อมูลเชิงลึกในประเด็นเกี่ยวกับนโยบายการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ ความพร้อมและความจำเป็น ข้อพึงระวังและปัญหา ความต้องการใช้ข้อมูล และแนวทางการพัฒนา

Article Details

How to Cite
บุญสุข จ., & ท้วมสุข ก. (2021). การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับการกำหนดกลยุทธ์เพื่ออนาคตของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มในประเทศไทย. Journal of Information and Learning, 32(2), 1–14. https://doi.org/10.14456/jil.2021.6
บท
บทความวิจัย

References

Amornvivat, S., Charoenpol, W., Khantachawana, S., Jeerasuwannakij, N., Kaweewiwitchai, N., Chayanond, W., & Kantaumong, I. (2017). Insight business perspectives with big data. Bangkok: Economic Intelligence Center, Siam Commercial Bank PCL.

Galetto, M. (2016, March 31). A definition of data management.Retrieved from https://www.ngdata.com/what-is-data-management

Government Savings Bank. (2018). Food and beverage industries. Bangkok: Economics, Business, and Grassroots Economy Research Center, Government Savings Bank.

Harvey, C. (2017, June 20). Big data management. Retrieved from https://www.datamation.com/big-data/big-data-management/

Johnston, K. (2020, June 16). What is strategic forecasting. Retrieved from https://yourbusiness.azcentral.com/quotas-goals-10569.html

Joungtrakul, J., & Ferry, K. N. (2019). Mixed methods research (MMR): choosing among seven MMR designs. NRRU Community Research Journal, 14(1), 1-13.

Kitanuwat, K. (2015). A study of the relationship of big data and data management towards the success of electronic industries (Master’s Thesis). Rajamangala University of Technology Thanyaburi, Prathum Thani.

Koochaiyasit, S. (2013). Transforms a new era of data “big data”. Executive Journal, 33(1), 22-28.

Markgraf, B. (2021, February 4). What is strategic forecasting. Retrieved from https://smallbusiness.chron.com/strategic-forecasting-42245.html

Norathas, T. (2009). Konlayut kānphatthanā rabop sārasonthēt ʻongkō̜n phāk rat sū khwāmsamret [Strategy for development of the success government information system]. Bangkok: Chulalongkorn University.

Oguntimilehin, A. & Ademola, E.O. (2014). A review of big data management, benefits and challenges. Journal of Emerging Trends in Computing and Information Sciences, 5(6), 433-438.

Oishi Group. (2021, March 16). Risk factors, food business, restaurant business. Retrieved from https://investor.oishigroup.com/en/about-oishi/corporate-governance/risk-factors

Pornchalermpong, P., & Ratanapanond, N. (2021, March 1). Khrōngsāng ʻutsāhakam ʻāhān [Structure of Food industry]. Retrieved from http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/3114/โครงสร้างอุตสาหกรรมอาหาร

Promsri, C. (2015). Concept of scenario planning for applying in Thai automotive industry. Executive Journal, 35(2), 107-123.

Tansiri, P. (2013). Big data and challenges. Executive Journal, 33(1), 15-21.

Technopedia. (2021, February 6). Big data management. Retrieved from https://www.techopedia.com/ definition/29587/big-data-management#techopedia-explains-big-data-management

The Office of Industrial Economics. (2021). Report on the industrial economics, first quarter 2021, and trends of second quarter 2021. Bangkok: The Ministry of Industry, Thailand.

Wicharat, N. (2019). A study of the relationship of big data and data management towards the business success. Journal of Information Technology and Innovation Management, 6(2), 39-46.

Yongpisanpop, W. (2019). Trends of businesses and industries, 2019-2021. Bangkok: Krungsri Bank.

Zulkarnain, N., & Anshari, M. (2016, November). Big data: concept, applications, & challenges. Proceedings of the 2016 International Conference on Information Management and Technology (ICIMTech) (pp. 307-310). Bandung, Indonesia.