การพัฒนานวัตกรรมหนังสือดิจิทัลภาษามลายู เรื่อง การสร้างคำกริยา สำหรับนักศึกษาสาขาการสอนภาษามลายู มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหนังสือดิจิทัลภาษามลายู เรื่อง การสร้างคำกริยา สำหรับนักศึกษาสาขาการสอนภาษามลายู มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของหนังสือดิจิทัลภาษามลายู เรื่อง การสร้างคำกริยา ตามเกณฑ์ 80/80 และค่าดัชนีประสิทธิผล และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการใช้หนังสือดิจิทัลภาษามลายู เรื่อง การสร้างคำกริยา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาชั้น ปีที่ 2-4 สาขาการสอนภาษามลายู มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ปีการศึกษา 2563 จำนวน 32 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบประเมินคุณภาพของหนังสือดิจิทัลภาษามลายูสำหรับผู้เชี่ยวชาญ 2) แบบทดสอบประเมินผลสัมฤทธิ์ และ 3) แบบสอบถามความความพึงพอใจ
ผลการวิจัยพบว่า 1) หนังสือดิจิทัลภาษามลายู เรื่อง การสร้างคำกริยา เป็นสื่อที่ได้มีคุณภาพตามที่กำหนด สามารถใช้เป็นสื่อในการเรียนภาษามลายูได้ โดยผ่านการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาภาษามลายูอยู่ในระดับดี (=4.44) และคุณภาพด้านการออกแบบสื่ออยู่ในระดับดี (=4.29) 2) หนังสือดิจิทัลภาษามลายู เรื่อง การสร้างคำกริยา มีประสิทธิภาพ E1/E2=81.45/81.84 และมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.5537 และ 3) การเรียนด้วยหนังสือดิจิทัลทำให้ผู้เรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก (=4.38)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Information and Learning ดำเนินการโดยสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ โดยเจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิในการทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่งานบทความ ทั้งรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การทำฉบับสำเนา การแปล และการผลิตซ้ำในรูปแบบต่างๆ ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไข การปรับข้อความ หรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียน
References
Abdulsata, S., Piyawasan, S., Tohlong, A., Tohlong, S., Tekhea, I., & Samae, R. (2013). Development of multilingual reading promoting book series for beginners to develop communication skills in the three southern border provinces of Thailand. AL-NUR, 15(2), 1-12.
Brahmawong, C. (2013). Development testing of media and instructional package. Silpakorn Education Research Journal, 5(1), 7-19.
Doungjino, T., & Pattanasith, S. (2020). The development of web-based Thai teaching training course by using tales for teachers of office of the basic education commission. Journal of Information and Learning, 31(3), 1-10.
Kurt, S. (2018, December 16). ADDIE model: Instructional design. Edecational Technology. https://educationaltechnology.net/the-addie-model-instructional-design/
Masae, A., Baleh, S., & Tamphu, S. (2020). The development of Malay lessons for travelers in Thai-MOOC of Malay language for communication course, Yala Rajabhat University. Journal of Yala Rajabhat University, 16(2), 258-266.
Mueangkaew, S., & Aphiratvoradej, K. (2018). Development of electronic book (E-book) on neighboring countries language and culture course for first year students in Bansomdejchaopraya Rajabhat University. CMU Journal of Education, 2(1), 18-32.
Nakornthap, T. (1994). Phra rāt damrat phra bāt somdet phračhaoyūhūa wādūai phāsā Thai læ khwāmsamkhan khō̜ng nangsư̄ [His Majesty the King's speech on Thai language and the importance of books]. Retrieved from http://bangkokideaeasy.com/informations/attt/index.php?
National Park & National Statistical Office. (2019, April 3). Phon samrūat kān ʻān Khon Thai pī hoksipʻet phœ̄m khưn chalīa pǣtsip nāthī/wan ʻān māk sut nai klum wairun nāhō̜ wong dektamkwā hok khūap ʻān phān thāng mư̄ thư̄ phœ̄m khưn sām thao [The results of the Thai reading survey in 2018 increased by an average of 80 minutes/day, the most read among teenagers. Worryingly, children under 6 years old read 3 times more via mobile phones]. Thaipost. https://www.thaipost.net/main/detail/32902
Poolwong, W. (2019, April 19). Phon samrūat chī Khon Thai ʻān nangsư̄ wan la pǣtsip nāthī nangsư̄ lem mai tāi ! tǣ ʻān phān ʻō̜nlai māk khưn [Survey results show that Thai people read 80 minutes a day, the book doesn't die! but read more online]. POSITIONING. https://positioningmag.com/1223380
Srisaat, B. (2010). Preliminary Research (8th ed.). Suwiriyasarn.
Waenasae, R., Napapongs, W., Kaosaiyaporn, O., & Tehhae, I. (2020). Effects of using augmented reality for improving learning achievementon Arabic consonant pronunciation of grade 3 students. Journal of Information and Learning, 31(3), 11-21.
Wayo, W., Charoennukul, A., Kankaynat, Ch., & Konyai, J. (2020). Online learning under the COVID-19 epidemic : concepts and applications of teaching and learning management. Regional Health Promotion Center 9 Journal, 14(34), 285-298.
Soidoksun, N., Ingard, A., Khusuponcharoen, S., & Tengwiradec, R. (2010). Development of English teaching program for visually handicapped children. Journal of King Mongkut's University of Technology North Bangkok, 20(3), 581-590.