การวิเคราะห์กลยุทธ์พัฒนาโรงเรียนต้นแบบด้านการสอนภาษาอาหรับสำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามระดับมัธยมศึกษาฝั่งทะเลอันดามัน

Main Article Content

สราวุธ สายทอง
มูฮัมหมัดอาฟีฟี อัซซอลีฮีย์

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์กลยุทธ์พัฒนาโรงเรียนต้นแบบด้านการสอนภาษาอาหรับสำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามระดับมัธยมศึกษาฝั่งทะเลอันดามัน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์การสอนภาษาอาหรับที่สอดคล้องกับความต้องการและบริบทโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามระดับมัธยมศึกษาฝั่งทะเลอันดามัน และ 2) วิเคราะห์กลยุทธ์พัฒนาโรงเรียนต้นแบบด้านการสอนภาษาอาหรับสำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามระดับมัธยมศึกษาฝั่งทะเลอันดามัน โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในรูปแบบการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง ประกอบด้วย ครูผู้สอนวิชาภาษาอาหรับในระดับชั้นมัธยมศึกษาจำนวน 15 คน ผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 10 คน และนักเรียนจำนวน 25 คน จากโรงเรียนในจังหวัดสตูล ตรัง กระบี่ พังงา และภูเก็ต จำนวน 5 โรงเรียน และนำผลการศึกษาที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาด้วยเทคนิค TOWS Matrix เพื่อร่างกลยุทธ์พัฒนาโรงเรียนต้นแบบด้านการสอนภาษาอาหรับสำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามระดับมัธยมศึกษาฝั่งทะเลอันดามัน และจัดสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน เพื่อยืนยันกลยุทธ์ดังกล่าว ผลการวิจัยพบว่า การสอนภาษาอาหรับที่สอดคล้องกับความต้องการและบริบทโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามระดับมัธยมศึกษาฝั่งทะเลอันดามันมี 6 ด้าน คือ 1) การเสริมแรงกระตุ้นการเรียนรู้ภาษาอาหรับ 2) การออกแบบหลักสูตรให้สอดคล้องกับบริบทผู้เรียนในพื้นที่ 3) การพัฒนาเทคนิคและวิธีการสอนให้ดึงดูดความสนใจของผู้เรียน 4) การจัดทรัพยากรสนับสนุนการเรียนรู้ที่ทันสมัยและสร้างสรรค์ 5) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้รายบุคคลตามสภาพจริง และ 6) การนิเทศและพัฒนาผู้สอนภาษาอาหรับตามมาตรฐานวิชาชีพ สำหรับกลยุทธ์ในการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบด้านการสอนภาษาอาหรับสำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามระดับมัธยมศึกษาฝั่่งทะเลอันดามันนั้นประกอบด้วย 7 กลยุุทธ์สำคัญ คือ 1) พัฒนาความสามารถทางภาษาอาหรับของผู้เรียนตามความสนใจ 2) พัฒนาหลักสูตรเสริมศักยภาพทางภาษาเทียบเคียงมาตรฐานต่างประเทศ 3) พัฒนาครูผู้สอนให้มีสมรรถนะการจัดการเรียนรู้อย่างมืออาชีพ 4) พัฒนาสื่อการเรียนรู้ภาษาอาหรับให้มีความสร้างสรรค์ 5) สร้างระบบการนิเทศครูสอนภาษาอาหรับภายในโรงเรียน 6) พัฒนาเครือข่ายชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูสอนภาษาอาหรับ 7) สร้างความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันอุดมศึกษา

Article Details

How to Cite
สายทอง ส., & อัซซอลีฮีย์ ม. (2021). การวิเคราะห์กลยุทธ์พัฒนาโรงเรียนต้นแบบด้านการสอนภาษาอาหรับสำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามระดับมัธยมศึกษาฝั่งทะเลอันดามัน. Journal of Information and Learning, 32(2), 30–39. https://doi.org/10.14456/jil.2021.8
บท
บทความวิจัย

References

Abdullah H. A.,(2014). The Arabic language and the importance of teaching it to non-native speakers, its curricula and methods. Al Rawaa Newspaper, p. 170.

Abdulqadir, N. (2015). The role of the League of Arab States in preserving the territorial sovereignty of member states. Tilmisan: Abibakr Alqayid University.

Al-maarifah, I. (2013). A language course in building an Islamic character. Journal of Contemporary Islamic Thought, 19(73), 5-12.

Dahab, I. M. (2011). The use of Arabic speaking and writing skill in the civil secondary stage in Jala. Pattani: Fatoni University.

Guest, G. N. (2017). How many focus groups are enough? Building an evidence base for nonprobability sample sizes. Field methods, 29(1), 3-22.

Holy Quran with Thai. (1998). Surah Yusuf. Saudi Arabia: Madinah King Center for Quran Printing.

Jullarat, P. (2020). Cognitive Psychology. Bankok: Chulalongkorn University Press.

Lubohdeng, A. (2016). Conditions and Problems in Teaching Arabic Language in Islamic Education Centers. Pattani: Prince of Songkla University.

Malee, M. (2014). Study the problems, difficulties and the trends solving of learning and teaching Arabic in higher education institutions in the three southern border provinces. Al-Hikmah Journal, 4(8), 64-75.

Palys, T. (2008). Purposive Sampling. In L. M. Given (Ed.), The Sage encyclopedia of qualitative research methods. California: Sage Publications.

Plodpluang, U. (2013). Data Analysis in Phenomenology Studies. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 23(2), 1-10.

Ratchakitcha. (2017). to use the Islamic Studies Fardueen curriculum at the mosque Elementary Islamic Studies. Bangkok: n.p.

Saeed, M. (2005). The virtue of Arabic and the obligation to teach it to Muslims. Monofia: Iblagh Library.

Sheidow, M. A. (2015). Language performance weakness of the first year female students in the Arabic department: Aspects and Treatments. Al-Hikmah Journal, 5(10), 95-107.

Thai Ministry of Education. (2012). Implementing Islamic Studies Fardueen curriculum at the mosque in elementary Islamic Studies level BC 2559. Bangkok: Ministry of Education.

Useng, A. (2014). Problems in teaching Arabic listening skills at the Center for Teaching Arabic-Fatoni University. Pattani: Fatoni University.

Useng, M. (2004). The problem of teaching Arabic in secondary Islamic institutes in southern Thailand. Sudan: International University of Africa.

Uzman, A.(2013). The metropolis of the Arabic language. Morocco: Isesco Library.

Wichai, W., & Marut, P. (2019). Coaching to develop students' potential. Bangkok: Charansanitwong printing.