ประสิทธิผลการบริหารสถาบันอุดมศึกษาในยุคดิจิทัลดิสรัปชั่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของประสิทธิผลการบริหารสถาบันอุดมศึกษาในยุคดิจิทัลดิสรัปชั่น 2) อิทธิพลของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถาบันอุดมศึกษา 3) แนวทางปฏิบัติในการพัฒนาประสิทธิผลของการบริหารสถาบันอุดมศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี แบบแผนแบบขั้นตอนเชิงอธิบาย โดยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ทั้งหมด 38 แห่ง จำนวน 300 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามชนิดประมาณค่า 5 ระดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และโมเดลสมการเชิงโครงสร้าง ขณะที่ในการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นผู้บริหารของมหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 15 คน ด้วยการเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการนัดหมายสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ระดับของประสิทธิผลของการบริหารสถาบันศึกษาในยุคดิจิทัลดิสรัปชั่นอยู่ในระดับมาก โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลรวมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถาบันอุดมศึกษา คือ การจัดการองค์กรใหม่ ภาวะผู้นำของผู้บริหารระดับสูงในยุคดิจิทัลดิสรัปชั่น การบริหารจัดการศึกษา และองค์กรนวัตกรรม มีค่าเท่ากับ 0.60 0.48 0.47 และ 0.29 ตามลำดับ แนวทางปฏิบัติในการพัฒนาประสิทธิผลของการบริหารสถาบันอุดมศึกษา ควรให้ความสำคัญในประเด็นดังนี้ 1) ความสามารถในการสื่อสารของผู้บริหาร 2) วิสัยทัศน์ กลยุทธ์ และเป้าหมาย 3) ค่านิยม และวัฒนธรรม 4) ระบบการบริหารงานที่มุ่งผลการดำเนินงานระดับสูง 5) การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ 6) การมีงานทำของบัณฑิต
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Information and Learning ดำเนินการโดยสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ โดยเจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิในการทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่งานบทความ ทั้งรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การทำฉบับสำเนา การแปล และการผลิตซ้ำในรูปแบบต่างๆ ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไข การปรับข้อความ หรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียน
References
Aonlaor, C., Bangwiset, S., Saenpao, K., & Aonlaor, S. (2020). Digital era leadership for educational administration. College of Asian Scholars Journal, 10(1), 108-119.
Barns, W. (2012). Path dependence and behavioral lock-in at work: The challenge of sustaining high performance work system in the U.S. Journal of Business and Economics Research, 10(6), 325-331.
Blunch, N. J. (2013). Introduction to structural equation modeling using IBM SPSS statistics and AMOS (2nd Ed.). Cornwal: MPG books group.
Chaisuwan, S., Seetalarom, S., & Saengwong, W. (2020). Transformation of Thai higher education in student crisis era. Journal of Suvarnabhumi Institute of Technology, 6(1), 686-702.
Chatthong, N. (2018). Context Thailand government to step into an innovation organization. Journal of Information, 17(1), 25-35.
Drucker, P. (1999). Management challenges for the 21 st century. Harvard Business Review (p. 215). Retrieved from http://103.5.132.213:8080/jspui/bitstream/123456789/1378/1/Management%20Challenges%20for%20the%2021st%20Century%20%28%20PDFDrive.com%20%29.pdf
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis (7th Ed.). NY: Pearson Education.
Khumsamart, S., Kuljittree, S., & Juntapala, K. (2020). The guidelines for educational administration in the digital distribution era. Journal of Modern Learning Development, 5(3), 245-259.
Kongpetdit, C., & Chantuk, T. (2016). Change management role of leadership and organizational communication. Veidian E- Journal, Silapakorn University, 9(1), 895-919.
Kline, R. B. (2011). Principles and practice of structure equation modeling. (3rd Ed.). New York: The Guilford Press.
Leonidou, E., Christofi, M., Vrontis, D., & Thrassou, A. (2020). An integrative framework of stakeholder engagement for innovation management and entrepreneurship development. Journal of Business Research, 119, 245-258. Retrieved from https://doi.org/10.1016/j.jbusres.2018.11.054
Ministry of Higher, Science, Research Innovation. (2019). Higher education statistics: Academic year 2018. Bangkok: Sino Publishing and Packaging.
Ministry of Higher, Science, Research Innovation. (2021, July 30). Higher education statistics. Retrieved from: http://www.info.mua.go.th/info/
Nueangpanom, P. (2017). Strategic management of Rajabhat universities for sustainable local development (Doctor of education management). Dhurakij Pundit University, Bangkok.
Piampuchana, N. (2018). A causal factor model influencing empowerment in the workplace towards teacher effectiveness in private higher education in the northeast. Dhonburi Rajabhat University Journal, 12(2), 153-169.
Prajankett, O. (2014). Aneducational innovation organization: A new choice of educational administration. Journal of the Royal Thai Army Nurses, 15(1), 45-51.
Puncreobutr, V. (2019). Disruption in Thailand’s higher education. Association of Private Higher Education Institutions of Thailand, 25(1), 94-113.
Rattanaphien, P., & Chaiphan, S. (2018). Structural causal factors of changing leadership and attribute for educational administrators affecting on efficiency of administration in private university. Business Review, 10(1), 73-91.
Suksawang, P. (2014). The basics of structural equation modeling. Princess of Naradhiwas University Journal, 6(2), 136-145.
Teerathanachaiyakun, K. (2014). Knowledge management succees factors. Panyapiwat Journal, 5(Special issue), 134-143.
Trairat, C., & Sinjindawong, S. (2020). The development of school to innovation organization: A case study of vibhavadi academic group under the secondary educational service area office 2. Conference presentations graduate research 15th Rangsit University (pp. 1903-1914). Retrieved from https://rsujournals.rsu.ac.th/index.php/rgrc/article/view/1846
Van De Voorde, K., & Beijer, S. (2015). The role of employee HR attributes in the relationship between high-performance work systems and employee outcome. Human Resource Management Journal, 25(1), 62-78.