การพัฒนาชุดการเรียนรู้สำหรับครูผู้ดูแลเด็ก เรื่อง การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสตูล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดการเรียนรู้สำหรับครูผู้ดูแลเด็ก เรื่อง การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสตูล ให้ได้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) เปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของครูผู้ดูแลเด็กเกี่ยวกับการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสตูล ก่อนและหลังการใช้ชุดการเรียนรู้ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของครูผู้ดูแลเด็กที่มีต่อชุดการเรียนรู้ เรื่อง การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสตูล กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดสตูล จำนวน 34 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสตูล แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจครูผู้ดูแลเด็ก เรื่อง การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย และแบบประเมินความพึงพอใจของครูผู้ดูแลเด็กที่มีต่อชุดการเรียนรู้ เรื่อง การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการศึกษาปรากฏว่า 1) ชุดการเรียนรู้สำหรับครูผู้ดูแลเด็ก เรื่อง การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสตูล มีประสิทธิภาพ 83.17/82.78 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 85/85 2) ครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยสูงกว่าก่อนใช้ชุดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 และ 3) ครูผู้ดูแลเด็กมีความพึงพอใจต่อชุดการเรียนรู้ เรื่อง พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Information and Learning ดำเนินการโดยสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ โดยเจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิในการทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่งานบทความ ทั้งรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การทำฉบับสำเนา การแปล และการผลิตซ้ำในรูปแบบต่างๆ ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไข การปรับข้อความ หรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียน
References
Astuti, Y. (2017). Collaborative game development in physical education and sport primary schools to optimizing character formation. Journal of Physical Education and Sport, 9(2), 79-86.
Brahmawong, C. (2013). Developmental test of media and instructional packge. Silpakorn Educational Research Journal, 5(1), 7-20. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/28419
Brahmawong, C., & Taweekulasup, W (2016) Chut kānsō̜n rāi bukkhon [individual teaching series] nai ʻēkkasān kānsō̜n chut wichāsư̄kānsưksā phatthana san [creative and appropriate educational media] (2nd ed.). Department of Education Sukhothai Thammathirat Open University
Department of Mental Health. (2007). ʻīkhiu: khwām chalāt thāng ʻāromphim khrang thī sī [EQ: Emotional Quotient] (4th ed.). Department of Mental health, Ministry of Public Health.
Goleman, D. (1998). Working with emotional intelligence. Bantam. Goleman, D. (2011, Nov 1). They’ve taken emotional intelligence too far the author of emotional intelligence explains how this popular concept has been overused. https://ideas.time.com/2011/11/01/theyve-taken-emotional-intelligence-too-far/
Mupana, G., Pishlag, Kh., & Guapathip, W. (2015). Rūpbǣp kān songsœ̄mkhwām chalāt thāng ʻārom khō̜ng dekkō̜n wai rīan nai sūn phatthanā dek lek čhangwat Chīang RāI [Model of emotional intelligence promotion of preschool children in child development center Chiang Rai Province]. Mae Fah Luang University.
Office of the Education Council. (2017). Phǣnkān sưksā hǣng chāt Phō̜.Sō̜. sō̜ngphanhārō̜ihoksip-sō̜ngphanhārō̜ičhetsipkāo [National education plan (2017-2036)]. Office of the Education Council Secretariat Ministry of Education.
Office of the National Economic and Social Development Board. (2017). Phǣnkān sưksā hǣng chāt (Phō̜.Sō̜. sō̜ngphanhārō̜ihoksip-sō̜ngphanhārō̜ičhetsipkāo [The national economic and social development plan (2017-2021)]. Office of the National Economic and Social Development Board, Office of the Prime Minister.
Phengsawat, W. (2003). Kānwičhai nai chan rīan [Classroom research]. Suwiriyasan.
Pongput, N., & Porncharoen, R. (2012). A developing learning package to increase a competency learning management and professional teacher for teacher license [Master’sThesis]. Rajamangala University of Technology Phra Nakhon.
Prayoonmahisorn, S. (2013). Development of an infection prevention self-learning kit for caregivers in child development centers [Master’s Thesis]. Chiang Mai University.
Rohaizad, A. A., Kosnin, A. M., & Khan, M. U. (2017, May 30). The effectiveness of teaching and learning module to enhance preschool children’s emotional intelligence. In: F. l. Gaol, & F. D. Hutagalung (eds), Social interactions and networking in cyber society. Springer. https://doi.org/10.1007/978-981-10-4190-7_1
Sangiamngam, S. (2017). Self-study kit development on the production of Academic Journals for Personnel Faculty of Education Burapha University [Master’s Thesis]. Burapha University.
Sriwichairat, N. (2013). A development of learning package on experiential intelligence based on 4 mat approach for enhancing early childhood’s analytic thinking competency [Master’s Thesis]. Nakhon Sawan Rajabhat University.
Suriyonplengsaeng, C. (2011). The creation of a self-learning instruction book for kindergarten teachers for the purpose of teaching music rhythm [Master’s Thesis]. Mahidol University.
TeJagupta, C. (2019). Čhittawitthayā nai kānphatthanā dek [Psychology of Child Development] nai ʻēkkasān kānsō̜n chut wit čhittawitthayālæ witthayākān kānrīanrū [Psychology And Learning Methodology] (5th ed.). Department of Education Sukhothai Thammathirat Open University.