การศึกษาสถานการณ์ ปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยของเด็ก
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันด้านการใช้งานอินเทอร์เน็ต ปัญหาที่เกิดจากการใช้งานอินเทอร์เน็ต ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหา และความต้องการเรียนรู้การใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยของเด็ก โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ เด็กอายุ 8-12 ปี จาก 27 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งเป็นตัวแทนของแต่ละภูมิภาค จำนวน 6,694 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสถานการณ์ปัจจุบันด้านการใช้งานอินเทอร์เน็ต ปัญหาที่เกิดจากการใช้งานอินเทอร์เน็ต และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีโทรศัพท์หรือแท็บเล็ตที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เป็นของตนเอง กิจกรรมขณะใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุด คือ การเล่นเกม โดยช่วงเวลาในการทำกิจกรรมต่างๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต คือ ช่วงหลังเลิกเรียน ส่วนสถานที่ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตมากที่สุด คือ ที่บ้าน 2) ปัญหาที่เกิดจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากที่สุด คือ การดาวน์โหลดรูป เกม หนัง เพลง และข้อความจากอินเทอร์เน็ตโดยไม่ทราบว่ามีลิขสิทธิ์ถูกต้องหรือไม่ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหา คือ การได้รับคำแนะนำจากครูและการชักชวนของเพื่อน 3) กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการเรียนรู้วิธีป้องกันอันตรายจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตจากผู้ปกครองมากที่สุด โดยการเรียนรู้จากที่บ้านผ่านการดูคลิปจากยูทูบและการค้นหาข้อมูลด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Information and Learning ดำเนินการโดยสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ โดยเจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิในการทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่งานบทความ ทั้งรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การทำฉบับสำเนา การแปล และการผลิตซ้ำในรูปแบบต่างๆ ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไข การปรับข้อความ หรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียน
References
Boonprakong, K. (n.d.). Khrū + bān sān phalang sāng kānrīanrū [Teachers + homes, weaving the power to create learning]. Holistic Learning Creative Media and Content. https://bit.ly/3N1DP9A
Castro, T. S., Osório, A. J., & Bond, E. (2015). Everybody does pirating-children’s views about online piracy. ConfiguraÇÕes, 16, 11-24. https://doi.org/10.4000/configuracoes.2806
Chandarasiri, P. (2019). Rōk tit kēm phāwa khukkhām sukkhaphāp dek Thai thī phō̜mǣ tō̜ng chūai dūlǣ læ pō̜ngkan [Game addiction is a health threatening condition for Thai children that parents need to take care of and prevent.]. ThaiHealth Promotion Foundation. https://bit.ly/3u7oifw
Child online safety index. (2021). DQ Institute. https://www.dqinstitute.org/impact-measure/#cosi_page
Department of Children and Youth. (2020). Kānsamrūat sathānakān dek kap phai ʻō̜nlai 2563 [Thai children and online dangers survey 2020]. Internet Foundation for the Development of Thailand. https://inetfoundation.or.th/Welcome/media_download?id=158
Digital Economy Promotion Agency. (2021). Nǣo patibatkān songsœ̄m sapsin thāng panyā dān dičhithan [Best practices on digital IP promotion]. depa. https://www.depa.or.th/th/article-view/ip-series-best-practices-digital-ip-promotion
Electronic Transactions Development Agency. (2021). Rāingān phonlakārasamrūat phrưttikam phūchai ʻinthœ̄net nai prathēt Thai pī sō̜ngphanhārō̜ihoksipsām [Thailand internet user behavior 2020]. Electronic Transactions Development Agency. https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/publications/Thailand-Internet-User-Behavior-2020.aspx
Intellectual Property Awareness Network. (2021). Contribution to UK IPO copyright education tools for school teachers. Intellectual Property Awareness Network. https://ipaware.org/ipan-director-contributes-to-uk-ipo-copyright-education-tools-for-school-teachers/The International Telecommunication Union. (2020). Guidelines for parents and educators on Child Online Protection. Child Online Protection. https://www.itu-cop-guidelines.com/
Kanjanawasee, S. (2001). Thritsadī kānthotsō̜p bǣp dangdœ̄m [Classical test theory]. Chulalongkorn University.
Liu, C., Ang, R. P., & Lwin, M. O. (2013). Cognitive, personality, and social factors associated with adolescents' online personal information disclosure. Journal of Adolescence, 36(4), 629-638. https://doi.org/10.1016/j.adolescence.2013.03.016
Mahidol University. (2014). Kham nænam samrap phūpokkhrō̜ng rư̄ang kānchai ʻinthœ̄net khō̜ng dek læ wairun [Guidance for parents on internet usage of children and teen]. Media Zone Printing.
Moreno, M. A., Egan, K. G., Bare, K., Young, H. N., & Cox, E. D. (2013). Internet safety education for youth: stakeholder perspectives. BMC Public Health, 13(543), 1-6. https://doi.org/10.1186/1471-2458-13-543
Mubarak, S., & Mani, D. (2015). Adolescents’ safe online behaviour: A multifactor analysis based on social cognitive theory [Paper presented]. Pacific Asia Conference on Information Systems (PACIS 2015), Singapore. https://aisel.aisnet.org/pacis2015/239/
Valcke, M., Wever, B. D., Keer, H. V. & Schellens, T. (2011). Long-term study of safe internet use of young children. Journal Computers & Education archive, 57(1), 1292-1305. https://doi.org/10.1016/j.compedu.2011.01.010
Vanichbuncha, K. (2009). Sathiti samrap ngānwičhai [Statistic for Research]. Dharmasarn Printing.