การใช้แบบเรียนภาษาไทยจากสื่อเพลงเพื่อพัฒนาทักษะภาษาไทยให้นักศึกษาเวียดนาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบเรียนภาษาไทยโดยใช้เพลงเป็นสื่อการสอนเพื่อพัฒนาทักษะภาษาไทยให้นักศึกษาเวียดนาม ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยโดยสร้างเครื่องมือแบบเรียนภาษาไทยจากสื่อเพลง จำนวน 8 หน่วย ได้แก่ หน่วยที่ 1 ช้าง ช้าง ช้าง หน่วยที่ 2 โอ้ ทะเลแสนงาม หน่วยที่ 3 ตาอินกับตานา หน่วยที่ 4 ลอยกระทง หน่วยที่ 5 วัน เดือน ปี หน่วยที่ 6 คู่กัด หน่วยที่ 7 สบายดีหรือเปล่า และหน่วยที่ 8 อย่ายอมแพ้ จากนั้นปรับปรุงเครื่องมือตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน แล้วจึงนำเครื่องมือไปทดลองกับกลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาชาวเวียดนาม ระดับปริญญาตรีวิชาเอกภาษาไทย ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศแห่งมหาวิทยาลัยดานัง (University of Foreign Language Studies-The University of Danang) จำนวน 21 คน
ผลการวิจัยพบว่า แบบเรียนภาษาไทย ประกอบด้วย เนื้อเพลงและคำศัพท์จากเพลง ความรู้เพิ่มเติม และหลักการใช้ภาษาไทยจากเพลงโดยใช้ภาษาเวียดนามอธิบายบางส่วน มีกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนได้ทบทวนเนื้อหาที่เรียนมา ทำให้นักศึกษาเวียดนามมีความรู้ด้านการใช้ภาษาไทย ได้พัฒนาทักษะทางภาษาไทย โดยเฉพาะด้านการฟัง สามารถทำแบบฝึกหัด และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ระหว่างเรียนและหลังเรียน โดยมีค่าประสิทธิภาพ (E1=75.86/E2=74.71) แสดงให้เห็นว่านักศึกษาเวียดนามเข้าใจเรื่องหลักการใช้ภาษาไทย และได้พัฒนาทักษะการใช้ภาษาไทยจากการฟังเพลง แบบเรียนภาษาไทยนี้จึงสามารถนำไปใช้เป็นสื่อการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยให้นักศึกษาเวียดนาม สิ่งสำคัญ คือ นักศึกษาเวียดนามสามารถนำไปใช้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Information and Learning ดำเนินการโดยสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ โดยเจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิในการทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่งานบทความ ทั้งรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การทำฉบับสำเนา การแปล และการผลิตซ้ำในรูปแบบต่างๆ ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไข การปรับข้อความ หรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียน
References
Cam TU, T. (2016,May). Thai teaching technique for Vietnamese students, Hanoi University. In S. Mahavarakorn (Chair), The Proceedings of the 3rd National Academic Conference: The Thai teaching in Asia [Symposium], Bangkok, Thailand.
Fongsri, P. (2013). Kānsāng læ phatthanā khrư̄angmư̄ wičhai [The creation and development of research tools]. Darnsutha Press.
Nuangchalerm, P. (2013). Wičhai kān rīan kānsō̜n [Research on learning and teaching]. Chulalongkorn University.
Permkaysorn, N. (2004). Kānsō̜n phāsā læ watthanatham Thai kǣ chāo tāngprathēt [Teaching culture and Thai to foreigners]. Vannavidas Journal, 4, 268-278. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2004.15
Promwong, C. (2013). Kānthotsō̜p prasitthiphāp sư̄ rư̄ chut kānsō̜n [The Media and learning lessons Efficiency Test]. Silpakorn Educational Research Journal, 5(1), 7-20.
Rivers, M. W. (1972). Teaching foreign-language skills. The University of Chicago.
Saranrom Radio. (2019, March 7). Thai language teaching in Vietnam [Facebook page]. Facebook. Retreived May 10, 2019, from https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2298366673517912&id=550177278336869
Srilan, P., & Pornumpaisakul, N. (2019). A learning package on Thai civilization to improve Thai language skills of Vietnamese students based on the song honoring his Majesty King Bhumipol Adulyadej. Institute of Culture and Arts Journal, 21(1), 10-20. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/203187/158954
Temalin, B., & Stempleski, S. (2006). Kitčhakam kānrīanrū watthanatham [Cultural awareness] (S. Wongbiasuj, Trans.). Windows on the World.