ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ระดับความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู และ 4) ตัวแปรพยากรณ์ของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้าฝ่ายบริหารงานวิชาการและครูที่กำลังพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 จำนวน 372 คน งานวิจัยนี้ใช้โรงเรียนเป็นหน่วยสุ่มโดยใช้วิธีการคำนวณจากสูตร Yamane ได้ 109 โรง จากโรงเรียนทั้งหมด 148 โรง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับโดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.986 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก (M = 4.38, SD = .478) 2) ระดับความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูอยู่ในระดับมาก (M = 4.20, SD = .478) 3) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูอยู่ในระดับค่อนข้างสูง (rX,Y = .626) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู มีตัวแปรพยากรณ์เพียงสองตัว คือ ความยืดหยุ่นในการปรับตัว เป็นตัวแปรพยากรณ์ที่ดีที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 รองลงมาคือ วิสัยทัศน์นำการเปลี่ยนแปลง สามารถพยากรณ์ความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Information and Learning ดำเนินการโดยสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ โดยเจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิในการทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่งานบทความ ทั้งรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การทำฉบับสำเนา การแปล และการผลิตซ้ำในรูปแบบต่างๆ ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไข การปรับข้อความ หรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียน
References
Aiemphaya, K., Noymanee, N., Anukulwech, A., & Raso, D. (2020). Management of education in globalization. Journal of Education MCU, 8(1), 332-360.
Ash, R., & Persall, M. (2007). The principal as chief learning officer, the new work of formative leadership. Stamford University Birmingham.
Boonchuay, N., Jun-eam, P., & Pinyoanantapong, B. (2012). Strategic plan for developing appropri-ate creative leadership for school administrators. Journal Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage, 6(3),155-166.
Chaleoykitti, S., Kamprow, P., & Promdet, S. (2019). Patient safety and quality of nursing service. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 15(2), 66-70.
Chusriwat, S. (2019). Creative leadership of educational Institution administrators affecting effec-tiveness of schools under Kalasin elementary educational service area office district 1. Journal of Humanities and Social Sciences Nakhon Phanom University, 5(3), 53-61
Damsab, Y., Buddhicheewin, N., & Dhammasaccakarn, W. (2019). Leadership development of school administrators in the context of a multicultural society. Journal of Education Studies, 47(1), 272-293.
Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2021, September 20). Coronavirus dis-ease 2019 (COVID-19). Department of Disease Control. https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/int_protection.php
Kaewhan, T., & Koomkhinam, T. (2021). Creative leadership of educational Institution administra-tors affecting competency of teachers under Nong Khai secondary education service area office. Journal of Modern Learning Development, 6(4), 164-175.
Khamanee, K. (2001). Thinking science. Academic Quality Development Institute
Mathuros, S. (2021). Management education online in the new normal COVID-19. Rajapark Jour-nal, 15(40), 33-42.
Mungkasem, U. (2000). Good public and social affairs administration. Civil service development institute.
Narathiwat Primary Educational Service Area Office District 1. (2021). Basic information under aca-demic year 2021. Narathiwat Primary Educational Service Area Office District 1.
Office of the Rajabhat Institute Council. (2001). Learning documents accompanying educational innovation courses. Office of the Rajabhat Institute Council.
Patiphan, K., Podaphon, C., & Sereewat, W. (2013). Creative leadership. Klang Nana Wittaya Print-ing House.
Phusara, K., Manphdung, N., & Montaisong, T. (2019). The relationship between creative leadership of school administrators and effectiveness of schools under the supervision of Phranakhon Si Ayutthaya primary education service area office 1. Journal of Management Science Review, 21(2), 51-60.
Prayatsap, P. (2014). The role of educational institution administrators affecting the development of learners' characteristics to become an international standard school under the Office of Sec-ondary Education Service Area 14 Pathum Thani Province [Master of Education Thesis, Rajamanga-la University of Technology Thanyaburi]. DSpace JSPUI. http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2523
Ritcharoon, P. (2016). Research techniques for learning development. Chulalongkorn University.
Sinlarat, P. (2010). Strategies for driving innovation in the transition of "Sattasila" education to schools. Chulalongkorn University.
Sittisomboon, M. (2016, September 20). Educational innovation development. ACADEMIA. https://www.academia.edu/23644340
Srisa-ard, B. (2017). Basic research. Suweeriyasan.
Srisaat, B. (2004). Statistical methods for research (4th ed.). Suwiriyasas.
Suesut, J., Buranachart, S., Umnueyrat, S., & Gunma, N. (2021). Creative leadership characteristics of secondary school administrators affecting to the effectiveness of northern secondary schools under the office of the basic education commission. Journal of Humanities and Social Sciences University of Phayao, 9(2), 1-22.
Suthirat, C. (2009). Innovation of learning management that focuses on learners. Danex Inter Cor-poration.
Suwannasri, T., & Piampuechana, N. (2021). Creative leadership of educational Institution adminis-trators affecting the effectiveness of educational Institutions. Under vocational education, Maha Sarakham Province. Journal of Mahamakut Wittayalai University Roi Et Campus, 10(1), 742-755.
Thaweerat, P. (1997). Research methods in behavioral sciences and social sciences. Bureau of Educational and Psychological Testing Srinakharinwirot University.
Vejyalak, N. (2018). Principles of learning management. Chulalongkorn University.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). Harper and Row Publication.