แนวทางการจัดการเรียนรู้ด้วยประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เรื่อง มนุษย์กับความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ดุษฎีพร สังข์สอาด
สุรีย์พร สว่างเมฆ

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ด้วยประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เรื่อง มนุษย์กับความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ 2) เพื่อศึกษาความฉลาดรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท โดยคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 3 แผน 2) แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ 3) ใบกิจกรรมการเรียนรู้ และ 4) แบบประเมินความฉลาดรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีสามเส้า ค่าเฉลี่ยและร้อยละ


ผลการวิจัยสรุปว่า การจัดการเรียนรู้ด้วยประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีลักษณะดังนี้ 1) ขั้นวิเคราะห์ปัญหา เลือกใช้ประเด็นปัญหาทรัพยากรธรรมชาติที่กระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและลำดับคำถามในการวิเคราะห์ปัญหาจากทรัพยากรธรรมชาติสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2) ขั้นรวบรวมข้อมูล ใช้แอปพลิเคชัน Padlet แบบคอลัมน์ที่ลำดับคำถามด้านทรัพยากรสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศลงแต่ละคอลัมน์เพื่อใส่ข้อมูลที่สืบค้น 3) ขั้นทำความเข้าใจประเด็นและความสัมพันธ์ของปัญหาทางสังคม ใช้การอภิปรายเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อแสดงความตระหนักด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 4) ขั้นแสดงบทบาทสมมติ จัดการประชุมประชาคมเสนอแนวทางการแก้ปัญหาในบทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ 5) ขั้นสะท้อนคิด ให้นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาจากสถานการณ์โดยคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในบริบทของห้องเรียน และรายงานพฤติกรรมด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความฉลาดรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระหว่างการจัดการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับผลการประเมินหลังจัดการเรียนรู้ โดยคะแนนเฉลี่ยระหว่างการจัดการเรียนรู้จากใบกิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 54.81 ระดับมีความสนใจในประเด็นสภาพภูมิอากาศ ในวงจรปฏิบัติการที่ 1 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 81.44 ระดับมีการแสดงออกของพฤติกรรม ในวงจรปฏิบัติการที่ 3 สอดคล้องกับคะแนนเฉลี่ยหลังการจัดการเรียนรู้จากแบบประเมินความฉลาดรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือ ร้อยละ 80.1 ซึ่งอยู่ในระดับมีการแสดงออกของพฤติกรรม

Article Details

How to Cite
สังข์สอาด ด., & สว่างเมฆ ส. (2023). แนวทางการจัดการเรียนรู้ด้วยประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เรื่อง มนุษย์กับความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. Journal of Information and Learning [JIL], 34(1), 59–72. https://doi.org/10.14456/jil.2023.6
บท
บทความวิจัย

References

Athman, E. J., & Monroe, M. (2004). The effect of environmental-based education on students' critical thinking skills and disposition toward critical thinking. Environmental Education Research, 10(4), 507-522.

Dalelo, K. (2011). Climate change literacy among postgraduate students of Addis Ababa University, Ethiopia. Southern African Journal of Environmental Education, 28, 85-104. https://www.ajol.info/index.php/sajee/article/view/122245

Eilks, I. (2010). Making chemistry teaching relevant and promoting scientific literacy by focusing on authentic and controversial socio-scientific issues. International Journal of Science Education, 44(1), 163-184.

Kitkư̄akūn, S. (2014). Kānčhatkān rīanrū witthayāsāt: thitthāng samrap khrū satawat thī 21 [Learning management science, Direction for teachers in the 21st century]. Junladiskanpim publisher.

Kemmis, S. and McTaggart, R. (Eds.). (1988). The action research planner (3rd ed.). Deakin University Press.

Kollmuss, A. (2002). Mind the gap: Why do people act environmentally and what are the barriers to pro-environmental behavior. Environmental Education Research, 8(3), 239-260. https://doi.org/10.1080/13504620220145401

Lee, Y. C., & Grace, M. (2012). Students’ reasoning and decision making about a socio-scientific issue: A cross-context comparison. Science Education, 96(5), 787-807.

Manōsō̜n, S. (2019). Development of Climate Literacy for lower secondary school students using inquiry instruction and games [Master’s thesis, Chulalongkorn University]. CUIR. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64768

Marzetta, K. L. (2016). Changing the climate of beliefs: A conceptual model of learning design elements to promote climate change literacy. Journal of Sustainability Education, 16, 1-18.

Miléř, T., & Sládek, P. (2011). The climate literacy challenge. Procedia Social and Behavioral Sciences, 12, 150-156. https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S187704281100111X

Ministry of Natural Resources and Environment. (2018). Thailand’s National Adaptation Plan. Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning.

Niepold, F., Herring, D., & McConville, D. (2007, June 5). The case for climate literacy in the 21st Century [Paper presentation]. The 5th International Symposium on Digital Earth., China. https://rose.geog.mcgill.ca/geoide/files/geoide/CaseForClimateLiteracy.pdf

Phanyōsī, P. (2015). Effect of socio-scientific issues based learning on environmental literacy of lower secondary school students [Master’s thesis, Chulalongkorn University]. CUIR. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51304

Sadler, T. D. (2011). Socio-scientific issues in the classroom: Teaching, learning and research, contemporary trends and issues in science education (39th ed). Gainesville.

Sīsuphotčhanānon, S. (2017). Development analytical thinking skill for industrial program and inventory systems of undergraduates by teaching on Padlet. Vocational Education Innovation and Research Journal, 1(2), 1-6. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ve-irj/article/view/195763/136055

U.S. Global Change Research Program. (2009, July 20). Climate literacy: The essential principles of climate science: a guide for individuals and communities. GlobalChange.gov. https://www.globalchange.gov/about

Wanwisēt, W. (2015). Kān plīanplǣng saphāp phūmiʻākāt: Phonkrathop tō̜ prathētthai [Climate change: Impact on Thailand]. The Secretariat of the Senate, 5(17), 1-25.

Zeidler, D. L. (2011). Global sustainability and public understanding of science: The role of socio-scientific issues in the international community. Asia-Pacific Forum on Science Learning and Teaching, 12(1). 1-9.

Zeidler, D. L., & Keefer, M. (2003). The role of moral reasoning and the status of Socio-scientific issues in science education. Kluwer Academic.

Zeidler, D. L., Sadler, T. D., Simmons, M. L., & Howes, E. V. (2005). Beyond STS: A research-based framework for Socio-Scientific issues education. Science Education, 89, 357-377.

Zeidler, D., Sadler, T., Applebaum, S., & Callahan, B. (2009). Advancing reflective judgment through Socio-scientific Issues. Journal of Research in Science Teaching, 46(1), 74 -101.