การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนิสิตปริญญาตรีตามแนวคิดการเรียนเชิงรุกร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์

Main Article Content

อพัชชา ช้างขวัญยืน
รุจโรจน์ แก้วอุไร
วินัย วงษ์ไทย
เอื้อมพร หลินเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนรู้ฯ และ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ฯ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร ในรายวิชาวิถีชีวิตในยุคดิจิทัล ภาคเรียนที่ 3 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 24 คน โดยเป็นการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการเรียนรู้ (2) แบบวัดความเป็นพลเมืองดิจิทัล (3) แบบประเมินตนเองสำหรับผู้เรียน (4) แบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนิสิตปริญญาตรีตามแนวคิดการเรียนเชิงรุกร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล และปัจจัยที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ประกอบด้วย ระบบสังคมออนไลน์ หลักการตอบสนองและระบบสนับสนุน โดยรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการเรียนการสอน 6 ขั้น คือ (1) นำเข้าสู่บทเรียน (2) นำเสนอสถานการณ์ (3) ศึกษาค้นคว้า (4) วิเคราะห์ (5) สร้างองค์ความรู้ และ (6) สะท้อนคิด ซึ่งมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนิสิตปริญญาตรีตามแนวคิดการเรียนเชิงรุกร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ พบว่า นิสิตมีความเป็นพลเมืองดิจิทัลหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนิสิตมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลฯ อยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
ช้างขวัญยืน อ., แก้วอุไร ร., วงษ์ไทย ว., & หลินเจริญ เ. (2023). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนิสิตปริญญาตรีตามแนวคิดการเรียนเชิงรุกร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์. Journal of Information and Learning [JIL], 34(1), 24–33. https://doi.org/10.14456/jil.2023.3
บท
บทความวิจัย

References

Autthaporn, J.(2013). Development of an active online instructional model to enhance learning behaviors of undergraduate students [Master’s thesis, Chulalongkorn University] . CUIR. http://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/43141/1/5583371327.pdf

Bellanca, J., Brandt J. (2019). Thaksa hǣng ʻanākhot mai: kānsưksā phư̄a satawat thī 21 (2nd ed.) [21st century skills rethinking how students learn]. Bookscape.

Bunsong, N. (2018). Social media of enhance 21st century education. Veridian E-Journal,Silpakorn University, 11(1), 145-154.

Changkwanyeun, A., Kaewurai, R., Wongthai, W., & Lincharoen, A. (2021). Active learning approach to enhance digital citizenship. Journal of Education Naresuan University, 23(3), 452-465. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/240431/169176

Damjub, W. (2019). Social media for teaching and learning in the 21st century. Journal of Liberal Arts, Mae Jo University, 7(2), 143-159. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalartsjournal/article/view/232338/158697

Electronic Transactions Development Agency. (2013). Thailand internet user profile 2013. https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/documents-for-download/Thailand-Internet-user-Profile-2013.aspx.

Electronic Transactions Development Agency. (2021). Thailand internet user behavior 2021. https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/publications/Thailand-Internet-User-Behavior-2021_Slides.aspx

Fink, L. D. (2003). Creating significant learning experiences: An integrated approach to designing college courses. Jossey-Bass.

International Society for Technology in Education. (2016). ISTE Standards: Students. https://www.iste.org/standards/iste-standards-for-students

Inthanon, S. (2020). Thaksa kān ʻao čhai khao mā sai čhai rao thāng dičhithan (3rd ed.) [Digital Empathy]. Walk on Cloud.

Joyce, B., & Weil, M. (1996). Model of teaching (5th ed.). Allyn and Bacon.

Joyce, B., Weil, M., & Calhoun, E. (2009). Model of teaching (8th ed.). Pearson Education.

Kaplan, A. M., & Haenlein, M. (2010). Users of the world, Unite! The challenges and opportunities of social media. Business Horizons, 53(1), 59-68.

Kidrakarn, P., & Pattiyathani, S., (2002). Effectiveness index: E.I. Journal of Educational Measure-ment, Mahasarakham University, 8, 30-36.

Marquez, R. (2011). Analysis of social network: Good idea or not?. Kenesaw State University.

Pakdeeviroch, C. (2013). The effects of organizing active learning in mathematical process skills on mathematical problem solving ability, critical thinking ability and self-confidence of matha-yomsuksa III students [Master’s thesis, Srinakharinwirot University]. SWU IR. http://ir.swu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/3714/2/Cherdsak_P.pdf

Poolsawasd, B. (2011). Sip konlayut kāntalāt ʻō̜nlai khayao lōk [iMarketing 10.0]. Provision.

Ribble, M. (2011). Digital citizenship in school (3rd ed.). Printed in United States of America.

Thongkhumchuenvivat, J. (2021). The relationships between digital intelligence skills and behav-iors of Thai teenagers’ digital citizenship in Bangkok area. Journal Communication Art Review, 25(3), 232-243. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/251488/169968.

Thummanond, C., Visessuvanapoom, P., Suraseth, C., Wintachai, J., Tantixalerm, C., & Tinmala, D. (2021). The effects of using blended learning program on learning engagement of undergraduate students. Journal of Education Naresuan University, 23(2), 140-151. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/244878/168006

Trairut, N. (2020). The development of active learning model through online social networking to promote creative thinking of undergraduate students. Journal of Education, Srinakharinwirot Uni-versity, 21(2), 130-142. http://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/13019/10771

Wisetsat, C. (2019). Developing of learning model to enhance innovative thinking skill of pre-service teachers [Doctoral dissertation, Mahasarakham University]. MSUIR. http://202.28.34.124/dspace/bitstream/123456789/35/1/59010563010.pdf