ผลการศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อการสอนทางไกลแบบฉุกเฉินด้วยเทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้ รายวิชาโครงงานด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ สมองกล เกมเพื่อการศึกษา ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อการสอนทางไกลแบบฉุกเฉินด้วยเทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้ จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19) ด้วยเทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้ ร่วมกับการวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ กรณีศึกษาวิชา “โครงงานด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ สมองกล เกมเพื่อการศึกษา” ของนักศึกษาวิชาชีพครู วิชาเอกคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จำนวน 29 คน ในปีการศึกษา 2/2564 โดยแบ่งการจัดการเรียนรู้ออกเป็น 2 ส่วน คือ ด้านความรู้เกี่ยวกับหุ่นยนต์ และ ด้านทักษะการปฏิบัติเกี่ยวกับการต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์ การเขียนโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์เซนเซอร์ การเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ สุดท้ายให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในการจัดทำชิ้นงาน การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบของเกมการเขียนโปรแกรมบูรณาการแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสำรวจออนไลน์เกี่ยวกับการประเมิน การสอนทางไกลแบบฉุกเฉิน 6 ด้าน คือ ด้านความเรียบง่าย ด้านการเข้าถึง ด้านค่าใช้จ่าย ด้านความยืดหยุ่น ด้านความเอาใจใส่ของผู้สอน และด้านผลการเรียนรู้และการนำไปใช้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลจากการศึกษาในภาพรวมชี้ให้เห็นว่า ผู้เรียนเห็นด้วยเกี่ยวกับเครื่องมือต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.50 (SD = 0.67) และผลจากการวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนชี้ให้เห็นว่าการย้ายการศึกษาแบบกระทันหันไม่ได้ส่งผลกระทบกับผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับทั้งในด้านของเนื้อหาวิชาการและทักษะการฝึกปฏิบัติ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Information and Learning ดำเนินการโดยสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ โดยเจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิในการทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่งานบทความ ทั้งรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การทำฉบับสำเนา การแปล และการผลิตซ้ำในรูปแบบต่างๆ ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไข การปรับข้อความ หรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียน
References
Aguilera-Hermida, A. P., Quiroga-Garza, A., Gómez-Mendoza, S., Del Río Villanueva, C. A., Avolio Alecchi, B., & Avci, D. (2021). Comparison of students’ use and acceptance of emergency online learning due to COVID-19 in the USA, Mexico, Peru, and Turkey. Education and Information Technologies, 26(6), 6823-6845. https://doi.org/10.1007/s10639-021-10473-8
Ahmed, V., & Opoku, A. (2022). Technology supported learning and pedagogy in times of crisis: the case of COVID-19 pandemic. Education and Information Technologies, 27(1), 365-405. https://doi.org/10.1007/s10639-021-10706-w
Bozkurt, A., & Sharma, R. C. (2020). Emergency remote teaching in a time of global crisis due to corona-virus pandemic. Asian Journal of Distance Education, 15(1), i-vi. https://doi.org/10.5281/zenodo.3778083.
Cahyadi, A., Widyastuti, S., & Hendryadi, H. (2021). Emergency remote teaching evaluation of the higher education in Indonesia. Heliyon, 7(8), e07788. https://doi.org/10.1016/j.heliyon.2021.e07788
Chang, G. C., & Yano, S. (2020, March 24). How are countries addressing the Covid-19 challenges in edu-cation? A snapshot of policy measures. Unesco. https://bit.ly/3rqObsW
Chang, H. Y., Wang, C. Y., Lee, M. H., Wu, H. K., Liang, J. C., Lee, S. W. Y., & Hsu, C. Y. (2015). A review of features of technology-supported learning environments based on participants’ perceptions. Computers in Human Behavior, 53, 223-237.
Ghamrawi, N. (2022). Teachers’ virtual communities of practice: A strong response in times of crisis or just another Fad? Education and Information Technologies, 27(5), 5889-5915. https://doi.org/10.1007/s10639-021-10857-w
Gopal, R., Singh, V., & Aggarwal, A. (2021). Impact of online classes on the satisfaction and performance of students during the pandemic period of COVID 19. Education and Information Technologies, 26(6), 6923-6947. https://doi.org/10.1007/s10639-021-10523-1
Harasim, L. (2000). Shift happens: Online education as a new paradigm in learning. The Internet and Higher Education, 3(1-2), 41-61. https://doi.org/10.1016/S1096-7516(00)00032-4
Iglesias-Pradas, S., Hernández-García, Á., Chaparro-Peláez, J., & Luis Prieto, J. (2021). Emergency re-mote teaching and students’ academic performance in higher education during the COVID-19 pandemic: A case study. Computers in Human Behavior, 119, 1-18. https://doi.org/10.1007/s10639-021-10473-8
Panigrahi, R., Srivastava, P. R., & Sharma, D. (2018). Online learning: Adoption, continuance, and learning outcome—A review of literature. International Journal of Information Management, 43, 1-14.
Pimentel, J. L. (2010). A note on the usage of Likert scaling for research data analysis. USM R&D Journal, 18(2), 109-112.
Solvie, P., & Kloek, M. (2007). Using technology tools to engage students with multiple learning styles in a constuctivist learning environment. Contemporary Issues in Technology & Teacher Education, 7(2), 7-27.
Tongliemnak, P. (2021, January 1). Samrūat phonkrathop COVID - sipkāo čhut plīan khrang samkhan khō̜ng kānsưksā lōk [Explore the impact of COVID-19, a major turning point in world education]. Equitable Educa-tion Fund. https://www.eef.or.th/article1-02-01-211/
Wayo, W., Charoennukul, A., & Kankayant, C. (2019). Online learning under the COVID-19 epidemic: Con-cepts and applications of teaching and learning management. Regional Health Promotion Center 9 Journal, 14(34), 285-298. https://doi.org/10.14456/rhpc9j.2020.18