การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านเพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ในงานทัศนศิลป์สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษาชั้นปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านเพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ในงานทัศนศิลป์สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาองค์ประกอบศิลป์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ตามกรอบแนวคิดของการศึกษาที่เน้นผลลัพธ์และห้องเรียนกลับด้านเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ 2) วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ของการใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ 3) ประเมินการสอนและศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดการศึกษาที่เน้นผลลัพธ์และห้องเรียนกลับด้านของนักศึกษา งานวิจัยนี้ได้เก็บข้อมูลโดยให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบผ่านระบบการจัดการเรียนรู้ (LMS: Learning Management System) ก่อนเรียน ทำการสอนทฤษฎีและให้นักศึกษาทำแบบทดสอบหลังเรียน หลังจากนั้นมอบหมายให้นักศึกษาสร้างสรรค์ผลงานจำนวน 5 ชิ้นงาน ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์
ผลงานตามหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ ทำการประเมินการสอนของอาจารย์โดยนักศึกษาและประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาโดยใช้แบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า 1) กระบวนการจัดการเรียนรู้แบ่งได้ 4 ขั้นตอน คือ (1) ให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองและทำแบบทดสอบ (2) อาจารย์สอนภาคทฤษฎีและทำแบบทดสอบหลังเรียน (3) ให้นักศึกษาสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามหลักทฤษฎีการจัดองค์ประกอบ (4) อาจารย์ผู้สอนให้คำแนะนำเรื่องความสมบูรณ์ของผลงานทัศนศิลป์โดยใช้ทฤษฎีการจัดองค์ประกอบที่นักศึกษาได้ศึกษาในบทเรียน โดยผลงานทัศนศิลป์นี้จะเป็นตัวชี้วัดความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษา 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนค่อนข้างจะมีความใกล้เคียงกัน ผู้วิจัยทำการทวนสอบนักศึกษาโดยให้อธิบายความรู้ความเข้าใจที่ได้รับจากการศึกษา พบว่า นักศึกษามีความรู้ในทฤษฎีเป็นอย่างดี 3) ผลการประเมินการสอนของอาจารย์โดยนักศึกษา พบว่า ด้านความเป็นครู ด้านการประเมินผล และด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ของผู้สอนอยู่ในระดับดีมาก ด้านการส่งเสริมสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ดีอยู่ในระดับดี และนักศึกษามีความพอใจในการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน ด้านการเรียนการสอนระดับมากที่สุด (M = 4.54) ด้านการวัดและประเมินผล (M = 4.51) ด้านกระบวนการเรียนรู้ (M = 4.50) ด้านบรรยากาศการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก (M = 4.47)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Information and Learning ดำเนินการโดยสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ โดยเจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิในการทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่งานบทความ ทั้งรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การทำฉบับสำเนา การแปล และการผลิตซ้ำในรูปแบบต่างๆ ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไข การปรับข้อความ หรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียน
References
Channgam, S., & Piriyasurawong, P. (2018). Learning model via flipped classroom merge with augmented reality for analytical thinking skill of undergraduate students. Journal of Thonburi University, 12(29), 229-240. http://www.thonburi-u.ac.th/Journal/Document/12-29/Journal12_29_21.pdf
Department of Academic. (2011). Khwāmkhit sāngsan [Creative thinking]. Department of Academic Ministry of Education.
Learning and Teaching Innovation Center. (2004, March 25). The flipped classroom. https://ltic.kku.ac.th/home/2020/02/25/flipped-classroom/
Limvong, T., & Saengri, Y. (2019). Flipped classroom: New learning for 21st century skills. Mahidol R2R e-Journal, 6(2), 9-17. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/mur2r/article/view/241469/164227
Panich, V. (2013). Khrū phư̄a sit sāngha ʻong rīan klap thāng [Teachers to build a flipped classroom for students]. S.R. Printing Mass Products Company Limited.
Phoyen, K. (2019).Creative thinking: Talent that teachers should create to student. Journal of Education Silpakorn University, 17(1), 9-27. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/176939/145267
Punmanee, A. (2014). Fưk hai khit pen khit hai sāngsan [Practice to think, think creatively]. Chulalongkorn University Press.
Saenboonsong, S. (2017). The development of flipped classroom model using cloud technology approach on Academic Achievement in Computer Science for Teacher Course for undergraduate students. Journal of Graduate Studies Valaya Alongkron Rajabhat University, 11(Special), 133-146. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JournalGradVRU/article/view/116515/89651
Seubsom, K., & Meeplat, N. (2017). The development of flipped classroom with the integration of multimedia classroom teaching through Google Classroom. APHEIT Journals, 6(2), 118-127. https://apheit.bu.ac.th/jounal/science-july-2560/12_15_flip%20class%20room_proof2_formatted.pdf
Srihiran, W. (2017). Critical thinking with flipped classroom. Graduate Studies Journal, 14(65), 19-27.