การเฝ้าระวังข้อมูลเท็จในสื่อสังคมของสมาคมผู้บริโภคสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มุ่งนำเสนอข้อค้นพบจากโครงการสร้างกลไกการเฝ้าระวังและเตือนภัยผู้บริโภคเท่าทันสื่อภาคใต้ของสมาคมผู้บริโภคสงขลา แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1) การพัฒนาเครือข่ายเฝ้าระวังข้อมูลเท็จ 2) จำนวน ประเภท และรูปแบบของข้อมูลเท็จ 3) การหักล้างข้อมูลเท็จ และ 4) วิธีการเตือนภัยผู้บริโภค โดยพบว่า 1) การพัฒนาเครือข่ายเฝ้าระวังข้อมูลเท็จในสื่อสังคม มีการคัดเลือกอาสาสมัครจากเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในจังหวัดภูเก็ต กระบี่ สงขลา สตูล และปัตตานี มีการฝึกอบรมเพื่อการรู้เท่าทันสื่อและข่าวสาร และการเก็บรวบรวมข้อมูลเท็จเพื่อการเฝ้าระวัง 2) ข้อมูลเท็จมี 5 ลักษณะ ได้แก่ การโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงของอาหารและยา การโฆษณาอวดอ้างเกินจริงของเครื่องสำอาง การพนันออนไลน์ การหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ต และโควิด-19 โดยประเภทข้อมูลเท็จที่พบมากที่สุดคือการทำให้เข้าใจผิดจากข้อเท็จจริง (ร้อยละ 32.8) 3) การหักล้างข้อมูลเท็จ มีการคัดเลือกจากความเร่งด่วนในท้องถิ่นที่คาดว่าจะสร้างผลกระทบต่อผู้บริโภคในพื้นที่ มีการตรวจสอบข้อมูลจาก อย. มากที่สุด (ร้อยละ 32.0) และได้จัดทำแบนเนอร์สำหรับการแถลงข้อเท็จจริงเพื่อใช้สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย และ 4) วิธีการเตือนภัยผู้บริโภค โดยเบื้องต้นมีการชี้แจงกลับไปยังแหล่งที่มาของข้อมูลเท็จเกือบทุกกรณี และจัดรายการในเพจเฟซบุ๊กในทุกวันจันทร์ของสัปดาห์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Information and Learning ดำเนินการโดยสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ โดยเจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิในการทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่งานบทความ ทั้งรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การทำฉบับสำเนา การแปล และการผลิตซ้ำในรูปแบบต่างๆ ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไข การปรับข้อความ หรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียน
References
Electronic Transactions Development Agency. 2020. Thailand internet user behavior 2020. ETDA. https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/publications/Thailand-Internet-User-Behavior-2020.aspx
First Draft. (2018, December 6). Waves of disinformation in the Brazilian elections. First Draft. https://medium.com/1st-draft/waves-of-disinformation-in-the-brazilian-elections-7e4c4383323
Lewandowsky, S., Cook, J., Ecker, U., Albarracin, D., Amazeen , M. A., Kendeou, P., Lombardi, D., Newman, E. J., Pennycook, G., Porter, E., Rand, D. G., Rapp, D. N., Reifler, J., Roozenbeek, J., Schmid, P., Seifert, C. M., Sinatra, G. M., Swire-Thompson, B., van der Linden, S., ... Zaragoza, M. S. (2020). The debunking handbook 2020. https://sks.to/db2020
Lu, J. (2020). Themes and evolution of misinformation during the early phases of the COVID-19 outbreak in China - An application of the crisis and emergency risk communication model. Frontiers in Communication, 5, Article 57. https://doi.org/10.3389/fcomm.2020.00057
Manager Online. (2021, August 15). K̄h̀āw plxm! Ṭhnākhār krung thịy terīym mxb ngein h̄ı̂ pchch. Nả bạtr pchch.Yụ̄nyạn tạw tn thī̀ tū̂ ATM reìm 24 s̄.Kh [Fake news about Krung Thai Bank giving money to people who confirm their identity by ID at an ATM]. Manager Online. https://mgronline.com/uptodate/detail/9640000080060
Ruangnapakul, N. (2022). Handbook of media surveillance and literacy. Good Head Printing and Packaging Group.
Songkla Consumer Association. (n.d.). Khorngkār brip̣hokh pheụ̄̀x chīwit s̄ngk̄hlā khwām pĕn mā k̄hxng khorngkār brip̣hokh pheụ̄̀x chīwit s̄ngk̄hlā [Songkla consumer for life project: History of Songkla consumer for life project. Songkla Consumer Association. https://consumersongkhla.or.th/our-history/
Wang, C. C. (2020). Fake news and related concepts: Definitions and recent research development. Contemporary Management Research, 16(3), 145-174. https://doi.org/10.7903/cmr.20677
Wardle, C., & Derakhshan, H. (2017). Information disorder: Toward an interdisciplinary framework for research and policymaking. Council of Europe.
World Health Organization. (2022, Apirl 13). Infodemic. World Health Organization. https://www.who.int/health-topics/infodemic#tab=tab_1
Plus News. (2021, September 21). S̄ld cı dĕk m.2 Don kong sụ̄̂x mụ̄x t̄hụ̄x reīyn xxnlịn̒ kherīyd s̄ênleụ̄xd nı s̄mxng tæk s̄eīy chīwit [A grade 8 student died as a result of stress and a brain rupture caused by cheated online shopping]. 3 Plus News. https://ch3plus.com/news/crime/middaynews/258562