การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ดนตรีสำหรับเด็กออทิสติก

Main Article Content

เปมิกา เกษตรสมบูรณ์
เทพิกา รอดสการ
นัฏฐิกา สุนทรธนผล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ดนตรีสำหรับเด็กออทิสติก และศึกษาผลการใช้รูปแบบผลการจัดการเรียนรู้ดนตรีของเด็กออทิสติก ผู้วิจัยได้กำหนดวิธีการดำเนินงานเป็น 3 ระยะ ได้แก่ การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ การทดลองและประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กออทิสติกที่อยู่ในระดับเรียนได้ อายุ 13-15 ปี เลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 10 คน โรงเรียนสงขลาพัฒนาปัญญา โดยมีเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการจำเป็น แบบสัมภาษณ์เชิงลึก รูปแบบการจัดการเรียนรู้ดนตรีสำหรับเด็กออทิสติก แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินสังเกตพฤติกรรมนักเรียนการจัดการเรียนรู้ดนตรีสำหรับเด็กออทิสติก สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานที่วิเคราะห์โดยความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรง ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ดนตรีสำหรับเด็กออทิสติกที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย M = Morphology การศึกษาโครงสร้างภายนอก E = Elemental music ความรู้พื้นฐานทางดนตรี สร้างขึ้นผ่านสื่อโดยใช้สัญลักษณ์มือ L = Learning relationship ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในการจัดการเรียนรู้ O = Ostinato การขับร้องโดยใช้เพลงที่ไม่ซับซ้อน D = Deftness การปฏิบัติเครื่องดนตรี I = Improvisation การสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาขณะนั้นผ่านเสียงดนตรี E = Exchange impression การแบ่งปันความประทับใจการเรียนดนตรี ประกอบไปด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ 12 แผน การหาคุณภาพมีความสอดคล้อง ได้ผล IOC ที่มากกว่า 0.5 และ 4) การประเมินผล เป็นการศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ดนตรีสำหรับเด็กออทิสติก พบว่า รูปแบบการสอนดนตรีสำหรับเด็กออทิสติกช่วยให้เด็กออทิสติกมีความรู้ความเข้าใจทางดนตรีและการแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ได้ โดยประเมินจากกระบวนการเรียนรู้เริ่มต้นของเด็กออทิสติกที่มีต่อความรู้ด้านทฤษฎีและการปฏิบัติทางดนตรี มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่ 3.00 จากคะแนนเต็ม 3 คะแนน เป็นผลการประเมินในระดับดีมาก

Article Details

How to Cite
เกษตรสมบูรณ์ เ., รอดสการ เ., & สุนทรธนผล น. (2025). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ดนตรีสำหรับเด็กออทิสติก. Journal of Information and Learning [JIL], 36(1), e272854. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jil/article/view/272854
บท
บทความวิจัย

References

Association, A. M. T. (2022, January 28). Music therapy. https://www.musictherapy.org/events/amta_2022_conference

Hourigan, R., & Hourigan, A. (2009). Teaching music to children with autism: Understandings and perspectives. Music Educators Journal 96(1), 40–45. https://journals.sagepub.com/doi/10.1177/0027432109341370

Joyce, B. R., Weil, M., & Showers, B. (1992). Models of teaching. Allyn & Bacon.

Kammanee, T. (1999). Kānčhatkān rīan kānsō̜n thī nēn phū rīan pen sūnklāng [Learner-centered teaching design]. Odean Store.

Kammanee, T. (2007). Rūpbǣp kān rīan kānsō̜n: Thāng lư̄ak thī lāklāi [Teaching and learning formats: various options] (13th ed.). Chulalongkorn University.

Kammanee, T. (2009). Sāt kānsō̜n [The science of teaching] (9th ed.). Chulalongkorn University.

Kammanee, T. (2010). Sāt kānsō̜n ʻongkhwāmrū phư̄a kānčhat krabūankān rīan rū thī mī prasitthiphāp [Teaching science: knowledge for organizing an effective learning Process] (13th ed.). Chulalongkorn University.

Kesanee, S., Jaingam, S., & Jitgaroon, P. (2017). The development of reading skills through multisensory integrated learning combined with the 3Rs teaching approach for students with intellectual disabilities. Journal of Humanities and Social Sciences, Graduate School, Pibulsongkram Rajabhat University, 11(1), 13–21. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU/article/view/90652

Nakwong, T. (2004). Teaching music for children according to Carl Orff's Method (2nd ed.). Kasetsart University.

Panitchying, T. (2010). The effects of music activities by Orff theme towards early childhood creativity at Srinakharinwirot University [Master’s Thesis, Srinakharinwirot University]. Srinakharinwirot University Institutional Repository. https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/1102

Piaget, P. (1969). The mechanisms of perception. Basic Book.

Promnin, K. (2017). Music activities to enhance music attitude for disadvantaged children [Master's thesis, Chulalongkorn University]. Chula DigiVerse. https://digiverse.chula.ac.th/Info/item/dc:16382

Ruengdarakarn, N. (2008). Autistic children and children with attention deficit disorder. Holistic Publishing.

Siriratrekha, T. (2007). Kānbambat thāng lư̄ak nai dek phisēt [Alternative therapy for special children]. Teachers' Council of Ladprao.

Sutthajit, N. (2012). Music education: Principles and essential content. Chulalongkorn University.

Thongnuan, P. (2011). The effects of organizing lively learning with an emphasis on using agents on academic achievement, reasoning ability, and communication ability in Mathematics: Relationships and functions of grade 10 students [Master's thesis, Srinakharinwirot University]. Srinakharinwirot University Institutional Repository. https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/783

Wainer, H., & Braun, H. I. (1988). Test validity. Routledge.