อาหารไทใหญ่: กลวิธีการตั้งชื่อและภาพสะท้อนวัฒนธรรมอาหารของชาวไทใหญ่ ในจังหวัดเชียงใหม่ อาหารไทใหญ่: กลวิธีการตั้งชื่อและภาพสะท้อนวัฒนธรรมอาหารของชาวไทใหญ่ ในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

พรรณิดา ขันธพัทธ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการตั้งชื่ออาหารไทใหญ่        ตามความสัมพันธ์กับความหมาย และภาพสะท้อนวัฒนธรรมอาหารของชาวไทใหญ่จากชื่ออาหาร ซึ่งศึกษาจากชื่ออาหารจำนวน 287 ชื่อ โดยใช้แนวคิดอรรถศาสตร์ปริชานและภาษาศาสตร์มานุษยวิทยา ผลการวิจัยพบว่า กลวิธีการตั้งชื่ออาหารมีทั้งชื่ออาหารที่เป็นความหมายแบบตรง และชื่ออาหารที่เป็นความหมายแบบอุปลักษณ์ กลวิธีการ ตั้งชื่ออาหารไทใหญ่แบบความหมายตรงเมื่อจำแนกตามการขึ้นต้นในตำแหน่งแรกของชื่ออาหารพบ 5 โครงสร้าง ได้แก่ 1) ชื่ออาหารที่ขึ้นต้นด้วยส่วนประกอบของอาหาร  2) ชื่ออาหารที่ขึ้นต้นด้วยประเภทของอาหาร 3) ชื่ออาหารที่ขึ้นต้นด้วยวิธีการทำอาหาร 4) ชื่ออาหารที่ขึ้นต้นด้วยลักษณะของอาหาร และ 5) ชื่ออาหารที่ขึ้นต้นด้วยชื่อเฉพาะของอาหาร ส่วนการตั้งชื่ออาหารไทใหญ่แบบอุปลักษณ์แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ การตั้งชื่ออาหารแบบอุปลักษณ์สมบูรณ์ และการตั้งชื่ออาหารแบบอุปลักษณ์กึ่งสมบูรณ์ สิ่งที่มักนำมาเป็นอุปลักษณ์ในการตั้งชื่ออาหาร ได้แก่ มนุษย์ สัตว์ วัตถุจากธรรมชาติ สิ่งของต่าง ๆ และสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ ด้านภาพสะท้อนวัฒนธรรมอาหารของชาวไทใหญ่จากชื่ออาหารพบชื่ออาหารของชาวไทใหญ่ส่วนมากมักจะมีคำว่า “ข้าว” “ถั่ว” และ “ผัก” ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงวิถีวัฒนธรรมอาหารของชาวไทใหญ่ที่เน้นวัตถุดิบทั้ง 3 อย่างนี้เป็นส่วนประกอบหลักในอาหารประจำวัน

Downloads

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

Bangsut, S., & Arom, P. (2015). Deliciousness of Lanna: Cultural Heritage of Local Food. Bangkok: Sangdad.

Chiang Mai Rajabhat University. (2009). Tai Yai (Shan)_Thai Dictionary. Chiang Mai: Chiang Mai Rajabhat University.

Khomithin, A. (2005). A cognitive semantics study of food naming in Thai (Master's Thesis). Thammasat University , Bangkok.

Lakoff,G. (1987). Women Fire and Dangerous Things: What categories reveal about the mind. Chicago and London: The University of Chicago Press.

Lu, J. (2010). Naming Strateg and Metaphor in Thai and Chinese Languages (Master's Thesis). Kasetsart University, Bangkok.

Ongsakul, S. (2001). Lanna History (3rd ed.). Bangkok: Amarin.

Royal Institute. (2014). Linguistic Terms Dictionary (Applied Linguistics) (2nd ed.). Bangkok: Royal Institute.

Sao Tern Moeng. (1995). Shan_English Dictio nary. Maryland: DP Dunwoody Press.

The World Factbook. (2024). Explore All Countries – Burma. Retrieved July 25, 2024, from https://www.cia.gov/the_world_factbook/

countries/ burma/#people_and_society

Tuaycharern, P. (2001). The overview of language and linguistics studies (2th ed.). Bangkok: Thammasat University.

Wichasin, R. (2003). Knowing and Reading Shan Script. Chiang Mai: Department of Thai, Faculty of Humanity, Chiang Mai University.

Wongthai, N. (2016). The Study of the Chili Paste Names in 4 Regions of Thailand: The Reflection of Thai Living and Culture. Journal of Srinakharinwirot Research and Development (Humanities and Social Sciences Branch), 8(16), 88_100.