The โลกทัศน์ชาวไทลื้อ บ้านนายางใต้ เมืองน้ำบาก แขวงหลวงพระบาง สปป.ลาว: มุมมองจากนิทาน ตำนานและเรื่องเล่า โลกทัศน์ชาวไทลื้อ บ้านนายางใต้ เมืองน้ำบาก แขวงหลวงพระบาง สปป.ลาว: มุมมองจากนิทาน ตำนานและเรื่องเล่า
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง โลกทัศน์ชาวไทลื้อบ้านนายางใต้ เมืองน้ำบาก แขวงหลวงพระบาง: มุมมองจากนิทาน ตำนานและเรื่องเล่า มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโลกทัศน์ชาวไทลื้อ บ้านนายางใต้ เมืองน้ำบาก แขวงหลวงพระบาง สปป.ลาว จากนิทาน ตำนานและเรื่องเล่าที่สะท้อนอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ โดยศึกษาข้อมูลจากนิทาน 9 เรื่อง ตำนาน 7 เรื่อง และเรื่องเล่า 14 เรื่อง รวม 30 เรื่อง ที่ได้จากการลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลสัมภาษณ์และจากเอกสารที่มีการบันทึกไว้ นำข้อมูลมาแปลเป็นภาษาไทยแล้วศึกษาวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดโลกทัศน์ ผลการศึกษาพบโลกทัศน์ 5 ด้าน ได้แก่ 1) โลกทัศน์ด้านความเชื่อ ได้แก่ โลกทัศน์เกี่ยวกับความเชื่อดั้งเดิม โลกทัศน์เกี่ยวกับความเชื่อทางพุทธศาสนา โลกทัศน์เกี่ยวกับความเชื่อทางไสยศาสตร์ และโลกทัศน์เกี่ยวกับความเชื่อเรื่องลางร้าย 2) โลกทัศน์ด้านสังคมและวัฒนธรรม ได้แก่ โลกทัศน์เกี่ยวกับการแต่งงาน โลกทัศน์เกี่ยวกับการเป็นพลเมืองที่ดี โลกทัศน์เกี่ยวกับความสามัคคีในชุมชน และโลกทัศน์เกี่ยวกับการค้าขายแลกเปลี่ยน 3) โลกทัศน์ด้านค่านิยม ได้แก่ ค่านิยมเกี่ยวกับการทำบุญเพื่อให้หลุดพ้นจากการตกนรก ค่านิยมเกี่ยวกับการทำบุญเพื่อให้สัตว์พาขึ้นสวรรค์ และค่านิยมเกี่ยวกับการมีความเสมอภาคระหว่างผู้ชายผู้หญิง 4) โลกทัศน์ด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ โลกทัศน์เกี่ยวกับป่าไม้คือแหล่ง
หาอาหารที่สำคัญ โลกทัศน์เกี่ยวกับแหล่งน้ำคือภูมิศาสตร์ที่สำคัญต่อการตั้งถิ่นฐาน และโลกทัศน์เกี่ยวกับสัตว์ผู้กตัญญูกตเวที และ 5) โลกทัศน์ด้านภูมิจักรวาล ได้แก่ โลกทัศน์เกี่ยวกับนรก สวรรค์ และโลกทัศน์เกี่ยวกับพระจันทร์และดวงดาว
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Anantasan, S. (2000). Folklore Theory and Techniques. Bangkok: Ramkhamhaeng University.
Chinchang, A. (1988). Kap Seng Bang Fai: A case study of Mueang District, Yasothon Province (Master's thesis). Srinakharinwirot Mahasarakham University, Mahasarakham.
Jornnamon, U. (2013). World View, Folk tales, Tai Lue, Chiang Kham District, Phayao Province. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 1 (3), 28-38.
Mitphraphan, W. (2016). Variables and identity descriptions of the Tai Lue diaspora of Muang Yong. Rom Pho Thong Village Tha Ko Subdistrict, Mae Suai District, in Chiang Rai Province. (Doctoral dissertation). Chulalongkorn University, Bangkok.
Phra Chanta Chantawangso (2017). History of Ban Na Yang Nuea and Na Yang Tai, Na Yang Group Nambak District Luang Prabang Province, Laos. Luang Prabang : Unpublished manuscript.
Phrakrupariyatkittitamrong. (2014). Changing values in Present society. Journal of MCU Social Science Review, 3 (3), 1-13.
Pongsapit, A. (1991). .Culture, religion and ethnicity :Analyzing Thai society using anthropological approaches. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Punnotok, T. (1994). Northeastern literature. Bangkok: Ramkhamhaeng University Press.
Wongkul, P. (1997). The power of literature. Bangkok: Dokya Press.
Yongrot, W. (1997). A study on cosmo-geography in the mural paintings of the Early Ratanakosin Period in Bangkok (Master's thesis). Silpakorn University, Bangkok.