รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อการบริโภคสื่อและข่าวสารที่เหมาะสมของผู้ด้อยโอกาสบนพื้นที่สูงจังหวัดเชียงราย
บทคัดย่อ
การศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อการบริโภคสื่อและข่าวสารที่เหมาะสมของผู้ด้อยโอกาสบนพื้นที่สูงจังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการการจัดการเรียนรู้เพื่อการบริโภคสื่อและข่าวสารของผู้ด้อยโอกาสบนพื้นที่สูง ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการบริโภคสื่อและข่าวสารของผู้ด้อยโอกาสบนพื้นที่สูงและ พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การบริโภคสื่อและข่าวสารที่เหมาะสมของผู้ด้อยโอกาสบนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ด้อยโอกาสที่อาศัยบนพื้นที่สูงในจังหวัดเชียงราย จำนวน 250 คนและ ใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิในการร่างรูปแบบจำนวน 5 คน และกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจสอบรูปแบบจำนวน 10 คน เลือกมาแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้างและแบบสอบถาม ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ได้ค่าอยู่ระหว่าง .66 - 1.00 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์หาค่าสถิติพื้นฐานและการวิเคราะห์เส้นทาง(path analysis)โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปลิสเรล ส่วนการร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ การบริโภคสื่อและข่าวสารที่เหมาะสมของผู้ด้อยโอกาสบนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงรายใช้การประชุมเชิงปฏิบัติการและการตรวจสอบรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการใช้การสนทนากลุ่ม
- ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสบนพื้นที่สูงมากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นเพศชาย อายุ 36-45ปี มากที่สุด สัญชาติไทย เกือบครึ่งหนึ่งไม่ได้เรียนหนังสือ ประกอบอาชีพรับจ้าง มีรายได้ต่อเดือน 3001 - 5000 บาท ส่วนใหญ๋ไม่เคยได้รับการเรียนรู้เรื่องสื่อ สำหรับผู้มีประสบการณ์การเรียนรู้เรื่องสื่อส่วนใหญ่ได้รับจากหน่วยงานและการเรียนรู้ด้วยตนเองใกล้เคียงกัน
- สภาพ ปัญหาและความต้องการการบริโภคสื่อและข่าวสารของผู้ด้อยโอกาสบนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงรายพบว่า แหล่งข้อมูลและข่าวสารที่รับรู้มากที่สุด ได้แก่ โทรทัศน์ ซึ่งส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ในการรับรู้เพื่อติดตามข่าวสาร ประเภทข้อมูลข่าวสารที่ส่วนใหญ่เลือกรับคือ ข่าวบันเทิงและข่าวการเมือง ส่วนสถานที่รับรู้ข่าวสารส่วนใหญ่เลือกรับรู้จากบ้าน ในช่วงกลางคืน (หลัง18.00น.-24.00น.)
- สภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อการบริโภคสื่อและข่าวสารผู้ด้อยโอกาสบนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงราย พบว่า สภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อการบริโภคสื่อและข่าวสารที่มากที่สุด คือ การแจ้งข่าวสารที่สำคัญแก่ผู้ด้อยโอกาสอย่างสม่ำเสมอ ส่วนปัญหาการจัดการเรียนรู้ของหน่วยงานเพื่อการบริโภคสื่อและข่าวสารที่มีปัญหามากที่สุดคือ การขาดบุคลากรที่มีความสามารถจัดทำระบบสารสนเทศเกี่ยวกับผู้ด้อยโอกาส ส่วนความต้องการจัดการเรียนรู้เพื่อการบริโภคสื่อและข่าวสารของผู้ด้อยโอกาสบนพื้นที่สูง ส่วนใหญ่ต้องการในลักษณะจัดอบรมให้ความรู้ การที่จะทำให้ผู้ด้อยโอกาสบนพื้นที่สูงสามารถบริโภค/ใช้สื่อและรับรู้ข่าวสารที่ถูกต้องและเหมาะสมคือ การจัดทำเป็นหลักสูตร ส่วนความรู้และทักษะที่เกี่ยวกับสื่อและข่าวสาร เพื่อที่จะทำให้สามารถบริโภค/ใช้สื่อและรับรู้ข่าวสารที่ถูกต้องและเหมาะสม พบว่า ผู้ด้อยโอกาสบนพื้นที่สูงควรมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับสื่อและข่าวสารมากที่สุด
- ปัจจัยที่มีอิทธิพลรวมสูงสุดต่อการบริโภคสื่อและข่าวสารของผู้ด้อยโอกาสบนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงราย ได้แก่ ปัจจัยด้านความน่าเชื่อถือของข่าวสาร ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงสูงสุดต่อการบริโภคสื่อและข่าวสารของผู้ด้อยโอกาสบนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงราย ได้แก่ ปัจจัยด้านความน่าเชื่อถือของข่าวสารและปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมสูงสุดต่อการบริโภคสื่อและข่าวสารของผู้ด้อยโอกาสบนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงราย ได้แก่ ปัจจัยด้านเจตคติต่อสื่อและข่าวสาร ส่วนปัญหาการบริโภคสื่อและข่าวสารของผู้ด้อยโอกาส บนพื้นที่สูงได้แก่ ไม่มีเวลาเพราะต้องไปทำงาน
- รูปแบบการจัดการเรียนรู้การบริโภคสื่อและข่าวสารที่เหมาะสมของผู้ด้อยโอกาสบนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงราย คือ รูปแบบ NEWS & MEDIA model มีองค์ประกอบดังนี้ Network (N) คือ การจัด
การเรียนรู้ในลักษณะเครือข่าย Environment (E) คือ การจัดการเรียนรู้ ตามบริบท ของสภาพแวดล้อม
Wake up (W) คือ การกระตุ้นให้รู้จักเลือกและใช้สื่อ และข่าวสารอย่างเหมาะสม Source (S) คือ การจัดแหล่งข้อมูลและข่าวสารให้เข้าถึงได้ง่าย Material (M) คือ การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการรับรู้และข่าวสาร Educate (E) คือ การให้ความรู้ในการบริโภคสื่อและข่าวสารที่ถูกต้อง Development (D) คือ พัฒนาวิธีการจัดการเรียนรู้ เพื่อการบริโภคสื่อและข่าวสารอย่างต่อเนื่อง Informationการ (I) คือ จัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศ เพื่อการเรียนรู้สื่อและข่าวสารอย่างเป็นระบบ Advice (A) คือ การให้คำแนะนำ ช่วยเหลือหรือแจ้งข่าวสารเป็นประจำ
References
สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558.จาก,
http://www.edu.tsu.ac.th/major/administration/data/.../เครือข่ายสังคม.doc.
นิลาวัณย์ พาณิชย์รุ่งเรือง.( 2540). ความน่าเชื่อถือและความพึงพอใจของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ที่มีต่อรายการข่าวภาคค่ำทางโทรทัศน์ทั้ง 5 ช่อง (3, 5, 7, 9, 11). (วิทยานิพนธ์วารสารมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร.
พัชรินทร์ เศวตสุทธิพันธ์. (2537). การสำรวจทัศนคติและพฤติกรรมการเลือกรับชมรายการโทรทัศน์
ของผู้ชมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์วารสารมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร.
ภัททิรา กลิ่นเลขา. (2557). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อและความต้องการรูปแบบรายการโทรทัศน์
ของคนพิการทางสายตา. (งานวิจัย). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. สงขลา.
Adam Burke (1999). Communications & Development: a practical guide. London :
Social Development Division Department for International Development.