การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูในระดับชั้นเรียนด้วยรูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้ผลการปฏิบัติการสอนเป็นฐานและส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษแบบบูรณาการกับสาระการเรียน ผ่านระบบการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 36

ผู้แต่ง

  • Saroj Saaskyium

คำสำคัญ:

โพเทนชิโอเมทริก ไมโครไทเทรชัน ออกซาเลต ผัก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูในระดับชั้นเรียน ด้วยรูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้ผลการปฏิบัติการสอนเป็นฐานด้วยกระบวนการ Lesson study 2) เพื่อพัฒนาสมรรถนะการใช้ภาษาอังกฤษแบบบูรณาการกับสาระการเรียนรู้ 3) เพื่อพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีโดยการเรียนผ่านระบบการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเพื่อนครูและผู้ร่วมกระบวนการการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นภายใต้บริบทของแต่ละโรงเรียน การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่ ครูผู้ทำการสอนในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) ในเครือข่ายโรงเรียน EIS (English for Integrated Studies)  และต้องเป็นผู้เคยผ่านการอบรมจากโครงการ e-CLIP  อย่างเต็มเวลา โดยมีรายชื่อปรากฏในบัญชีผู้ผ่านการอบรมในโครงการ กลุ่มตัวอย่างคือ ครูผู้สอนอยู่ในในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) ในเครือข่ายโรงเรียน EIS (English for Integrated Studies) สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งอยู่ในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนบน  จำนวน  6  คน  ซึ่งได้มาจากการคัดเลือกโดยเป็นไปตามข้อกำหนดของโครงการ คือ ผ่านการอบรมในโครงการ e-CLIP อย่างเต็มเวลา และเป็นผู้แสดงความประสงค์ที่จะเข้าร่วมโครงการโดยได้รับความเห็นชอบจากผู้อำนวยการสถานศึกษาอย่างเป็นทางการและมีลายลักษณ์อักษร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1. แบบประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของครูในรูปแบบ e-CLIP 2. แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนในรูปแบบ e-CLIP แบบวัดความพึงพอใจของครูต่อการใช้ระบบการจัดการเรียนในรูปแบบ e-CLIP 3. แนวทางการสัมภาษณ์ครูผู้ใช้ระบบการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ e-CLIP 4. แนวทางการสนทนากลุ่มของนักเรียนผู้เรียนจากระบบ e-CLIP/ กล้องบันทึกภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหว และเครื่องบันทึกเสียง สำหรับการบันทึกกิจกรรมระหว่างเรียน การสัมภาษณ์ครู นักเรียน ผู้บริหาร และเพื่อนครูการวิเคราะห์ข้อมูลใช้  ค่าสถิติ ได้แก่ ความถี่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุป ได้ดังนี้

            1.สมรรถนะด้านการใช้กระบวนการ Lesson study ผ่านรูปแบบ e-CLIP ของครู ด้านการใช้กระบวนการ  Lesson study ในการพัฒนาตนเองสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และดำเนินการตามกระบวนการของ Lesson study  ได้ครบถ้วนทุกขั้นตอน
            2. สมรรถนะความสามารถด้านการสอนโดยบูรณาการการใช้ภาษาอังกฤษของครู สูงขึ้นต่อเนื่อง
            3. สมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยี (Technology) ครูที่เข้าร่วมโครงการวิจัยครั้งนี้มีสมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยี (Technology) สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสามารถดำเนินการได้สมบูรณ์ในวงรอบที่ 3
            4. ผลความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบ e-CLIP ในระดับมาก ประเด็นที่มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ได้แก่ การอบรมความรู้กระบวนการ Lesson study และกระบวนการติดตาม

References

กระทรวงศึกษาธิการ. 2551. หลักสูตรการศึกษาแกนกลาง พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.
พงศ์เทพ จิระโร (นาวาตรี ดร.). 2558. การวัดและประเมินผลการเรียน (Educational Measurement & Evaluation)
จากเว็บไซต์https://drive.google.com/folderview?id=0B0gvp8DtPacRSlMwakVhSlZwOE0&usp=sharing
ค้นหาวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558

มนตรี แย้มกสิกร (รศ.ดร.) และคณะ. 2558. คู่มือการใช้งานระบบ e-CLIP. (ระบบออนไลน์).

แหล่งข้อมูล: http://www.e-CLIP.in.th/manual/manual_e-CLIP.pdf . ค้นหาวันที่ 5 ตุลาคม 2558
________________ 2558. รูปแบบ e-CLIP เอกสารประกอบการฝึกอบรมผู้บริหารต้นแบบครูต้นแบบเพื่อเป็นวิทยากร
แกนนำ e-CLIP – EIS. เชียงราย : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิเชียร เกตุสิงห์. 2543. คู่มือการวิจัยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์และทำปกเจริญผล.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. กระทรวงศึกษาธิการ. 2549. แบบบันทึกกิจกรรมสาระการเรียนรู้
พื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

Fernandez, Cannon; et al, 2006. Leading Lesson Study A Practical Guide for Teachers and
Facilitators. p. 14.

Lewis and Berry, 2002 “Find A Grave Memorial” website htpp://www.findagrave.com/cgi-
bin/fg.cgi?page=gr&GRid=13550877 Find date. October 10, 2015

Takahashi, Akihiko ; McDougal, Thomas. 2014. "Implementing a new national curriculum:
Case study of a Japanese school’s 2-year Lesson Study project". Annual
Perspectives in Mathematics Education: Using Research to Improve Instruction: 13–21.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11-05-2018

How to Cite