การพัฒนากระบวนการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ แบบผสมผสาน ผ่านสื่อการสอนและระบบ ครูพี่เลี้ยง เพื่อส่งเสริมคุณภาพการศึกษาระดับท้องถิ่น โรงเรียนวัดยางงาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1
บทคัดย่อ
งานวิจัย เรื่องการพัฒนากระบวนการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ แบบผสมผสาน ผ่านสื่อการสอนและระบบครูพี่เลี้ยง เพื่อส่งเสริมคุณภาพการศึกษาระดับท้องถิ่น โรงเรียนวัดยางงาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและพัฒนากระบวนการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ แบบผสมผสาน ผ่านสื่อการสอนและระบบครูพี่เลี้ยงเพื่อส่งเสริมคุณภาพการศึกษาระดับท้องถิ่น 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ แบบผสมผสาน ผ่านสื่อการสอนและระบบครูพี่เลี้ยง เพื่อส่งเสริมคุณภาพการศึกษาระดับท้องถิ่น 3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกระบวนการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ แบบผสมผสาน ผ่านสื่อการสอนและระบบครูพี่เลี้ยงเพื่อส่งเสริมคุณภาพการศึกษาระดับท้องถิ่น ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ขั้นการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ระยะที่ 2 ขั้นการหาความตรงของกระบวนการเรียนรู้ ระยะที่ 3 ขั้นการใช้กระบวนการเรียนรู้ ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) ผลการประเมินคุณภาพของกระบวนการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ แบบผสมผสาน ผ่านสื่อการสอนและระบบครูพี่เลี้ยง อยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.11 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ แบบผสมผสาน ผ่านสื่อการสอนและระบบครูพี่เลี้ยง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.20 อยู่ในเกณฑ์ดีมาก สรุปได้ว่าวิชาภาษาอังกฤษ แบบผสมผสาน ผ่านสื่อการสอนและระบบครูพี่เลี้ยง สามารถนำไปใช้ได้จริง
References
2.กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. 18 พฤศจิกายน 2559, http://www.curriculum51.net/upload/cur-51.pdf
3. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. (พ.ศ. 2560-2564), 19มีนาคม 2560, http://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422
4.ประภัสรา โคตะขุน.(2554). รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิดของทฤษฎีคอน-สตรัคติวิสม์. 25 ธันวาคม 2559,https://sites.google.com/site/prapasara/khorngsrang-raywicha-m-1 [
5.แก้วตา เข้มแข็ม. (2549). การสอนที่เน้นกระบวนการ.25 ธันวาคม 2559, http://www.gotoknow.org/blogs/posts/206283
6.สมสนิท นามราช.(2545). ร่วมปฏิรูปการเรียนรู้กับครูต้นแบบ การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นเป็นสำคัญ การสอนแบบ ผู้เรียนเป็นสำคัญ,(หน้า 5-6). กรุงเทพฯ:สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
7.วันวิสา บุญช้าง.( 2554). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้วยโครงงานผ่านสื่อไอซีทีเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา วิชาการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
8.สิทธิพล อาจอินทร์. ธีรชัย เนตรถนอมศักดิ์. 2554, .กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน ในรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตร5 ปี Project Based Learning in Curriculum Development Course for Five-Year Bachelor’s Degree Students.. วารสารมข,ปีที่1,ฉบับที่1, ( หน้า 1-2),
9..Berman, S. (1997). Project Learning for the Multiple Intelligences Classroom. (p.1-2) , Illinois : Skylight Training and Publishing
10..ศิริรัตน์ เพ็ชร์แสงศร(2555). การเรียนแบบผสมผสาน และการประยุกต์ใช้ .5 มิถุนายน 2559 , http://www.inded.kmitl.ac.th/journal/images/stories/year11_1/vol11_01_a4.pdf,