การพัฒนาตัวชี้วัดคุณลักษณะความพอเพียงตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • Manutsanun Kumtun

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบเชิงสำรวจและองค์ประกอบเชิงยืนยันตัวชี้วัดคุณลักษณะความพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดเชียงราย จำนวน 1,000 คน โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการพัฒนาตัวชี้วัดคุณลักษณะความพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.925 ผลการศึกษา พบว่า ความพอเพียง ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ความพอประมาณมี 4 ตัวชี้วัด คือ 1) ความประหยัด 2) ความพออยู่ พอกิน พอใช้ 3) การรู้จักพอ 4) ความพอประมาณกับสภาพของตน (2) ความมีเหตุผลมี 3 ตัวชี้วัด คือ 1) การใช้ทรัพยากรอย่างฉลาดและรอบคอบ 2) การใช้ทรัพยากรให้เกิดความยั่งยืน 3) การลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ (3) การมีภูมิคุ้มกันมี 3 ตัวชี้วัด คือ 1) การมีจิตใจเข้มแข็ง 2) การปรับตัวพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง 3) การวางแผนการออมและการดำเนินชีวิต (4) ความรู้มี 4 ตัวชี้วัด คือ 1) การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับทรัพยากร 2) การแสวงหาความรู้ 3) ความรอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง 4) การพัฒนาและสืบทอดภูมิปัญญาชาวบ้าน (5) คุณธรรมมี 4 ตัวชี้วัด คือ 1) ความซื่อสัตย์ สุจริต 2) ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ 3) ความขยันหมั่นเพียร อุตสาหะ 4) การรู้รักสามัคคี

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2549). คู่มือปฏิบัติการเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริม
วิสาหกิจชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาในสถานศึกษา.
กรุงเทพมหานคร: ม.ป.พ.

เกรียงศักดิ์ ซื่อเลื่อม, ปราณี สุทธิสุคนธ์ และดุษณี ดำมี. (2550). "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง: สู่กลยุทธ์
การบริหาร". วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา 5(2): 105-106.

คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง. (2548). เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร?. สืบค้นเมื่อ 27
สิงหาคม 2559, จาก http://www.sufficiencyeconomy.org/

ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธ์. (2548). การใช้ SPSS เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร.

ดุจเดือน พันธุมนาวิน และดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2550). "จิตพฤติกรรมศาสตร์กับเศรษฐกิจพอเพียง:
เศรษฐกิจพอเพียงกับจิตพฤติกรรมศาสตร์". วารสารพัฒนบริหารศาสตร์ 47(1): 27-29.

ไทยรัฐออนไลน์, (2558): ศธ.ประกาศนโยบายเศรษฐกิจพอเพียง. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2559, จาก
https://www.thairath.co.th/content/476724)

ธวัชชัย วรปัสสุ. (2554). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงใน
สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1. (ปริญญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย. เลย.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2548). โมเดลลิลเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.

นิคม มูสิกะคามะ. (2542). ทฤษฎีใหม่ในหลวง: ชีวิตที่พอเพียง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ร่วมด้วย
ช่วยกัน.

นิวัติ เลิศสรรสิริ. (2548). การพัฒนาบุคลากรด้วยวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนขนาดเล็ก
อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม, มหาสารคาม.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2542). การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: โกมลคีมทอง.

รุจิพร จารุพงษ์ และคณะ. (2543). เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการเกษตรที่พึ่งตนเอง. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม
2559, จาก http://www.eto.ku.ac.th/neweto/e-book/other/other42.pdf

สยุมพร ลิ่มไทย. (2549). "กระทรวงมหาดไทยกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง". พัฒนาชุมชน.
45(8) : 16-19.

สหัทยา พลปัถพี. (2548). การนำเสนอแนวทางการพัฒนาคนให้มีคุณลักษณะตามปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2543). ทฤษฎีสังคมการสร้างการประเมินค่าการใช้ประโยชน์. กรุงเทพมหานคร:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). เส้นทางสู่...ความพอเพียง. กรุงเทพฯ:
บริษัท 21 เซนจูรี จำกัด.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2552). แนวทางการนิเทศเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา. กรุงเทพฯ:
ศูนย์ประสานงานกลางการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.สำนักกิจการพิเศษ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

สีลาภรณ์ บัวสาย. (2549). เศรษฐกิจพอเพียง ร่วมเรียนรู้ สายข่าย ขยายผล. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน
กองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

เสรี ชัดแช้ม. (2547). การวิเคราะห์องค์ประกอบยืนยัน. วารสารวิจัยและวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา,
2(1), 15-42.

อภิชัย พันธเสน. (2544). พุทธเศรษฐศาสตร์ วิวัฒนาการทฤษฎีและการประยุกต์กับเศรษฐศาสตร์สาขา
ต่างๆ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-05-2018

How to Cite