รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่โครงการหลวง กรณีศึกษา บ้านดอยสะโง๊ะ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทรัพยากรและ ศักยภาพด้านการท่องเที่ยวบ้านดอยสะโง๊ะ เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่เหมาะสมกับท้องถิ่น ผลการวิจัยพบว่า ทรัพยากรด้านการท่องเที่ยว ประกอบด้วย 1) พิพิธภัณฑ์อาข่า 2) ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงดอยสะโง๊ะ 3) จุดชมวิวดอยสะโง๊ะ 4) ชมภูเขาล้างทองบ่อที่ตำนานเก่าแก่สมัยโบราณที่บ้านเขาสะโง๊ะ 5) ดอยช้างงู หรือ ดอยสะโง๊ะ และ 6) ที่พักในชุมชน “ลาวาเล่” ศักยภาพด้านการท่องเที่ยว พบว่า ผู้อาศัยในชุมชนมีระดับความรู้พื้นฐานของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศด้านความหมายของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศทุกข้อมากที่สุดและมีภาพรวม ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยรวม 4.47 มีระดับความรู้พื้นฐานของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในองค์ประกอบของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ด้านพื้นที่ทุกข้อมากที่สุดและมีภาพรวม ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยรวม 4.39 รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่เหมาะสมกับท้องถิ่น คือ การพัฒนาชุมชน การปรับภูมิทัศน์ให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิมรวมถึงความปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยวและความสะอาดในชุมชน
References
______. (2546). รายงานสถิติจำนวนประชากรเมืองพัทยา 2546. เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2538). รายงานการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ.
กรุงเทพมหานคร.
คมสัน วราฤทธิ์. (2544). ศักยภาพของชุมชนท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กรณี
ศึกษา : ชุมชนลำน้ำว้า อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จงรักษ์ อินทยนต์. (2545). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการท่องเที่ยวบ้านโป่งร้อน
ตำบลใหม่พัฒนา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ฉัตรชัย ด้วงจาด.(2545). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กรณี
ศึกษา : ความคิดเห็นของชุมชนบางกอกน้อย จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธนวัฒน์ ขวัญบุญ. (2545). ศักยภาพของประชาชนท้องถิ่นในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
กรณีศึกษา : บ้านร่องกล้า อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวางแผนสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาชุมชนและชนบท บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
ธัชชนัญ จารุวัฒนพงษ์. (2545). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
น้ำตกพรหมโลก ตำบลพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาชนบทศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2540). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย.
กรุงเทพมหานค. โรงพิมพ์ศรีอนันต์.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา.(2542). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. จุลสารการท่องเที่ยวปีที่ 18 เล่มที่ 1
(มกราคม-มีนาคม).
ยศ สันตสมบัติและคณะ. (2544). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและ
การจัดการทรัพยากรในจังหวัดแม่ฮ่องสอน. ศูนย์ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. (2540). นโยบายการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. เสนอต่อการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร.
______. (2541). “รายงานหลัก การศึกษาเพื่อกำหนดรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล.” เสนอต่อการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร.