การพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการ เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน ของโรงเรียนสังกัดเทศบาล กลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่นที่ 15

ผู้แต่ง

  • Pongpan Pintasaen
  • Pongpan Pintasaen

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการ เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน ของโรงเรียนสังกัดเทศบาล กลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่นที่ 15 เพื่อเสนอกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการ เพื่อรองรับประชาคมอาเซียนของโรงเรียนสังกัดเทศบาล กลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่นที่ 15 ซึ่งมีวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) วิเคราะห์สภาพการบริหารงานวิชาการ เพื่อรองรับประชาคมอาเซียนของโรงเรียนสังกัดเทศบาล กลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่นที่ 15 2) กำหนดกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการ เพื่อรองรับประชาคมอาเซียนของโรงเรียนสังกัดเทศบาล กลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่นที่ 15 3) การตรวจสอบและการประเมินกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการ เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน ของโรงเรียนสังกัดเทศบาล กลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่นที่ 15 โดยการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) และการสัมมนาอ้างอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship Techniques) จากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารการศึกษาและการจัดการศึกษาสำหรับโรงเรียนสังกัดเทศบาล กลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่นที่ 15 ผลการวิจัยพบว่า

  1. 1. สภาพการบริหารงานวิชาการโรงเรียนสังกัดเทศบาล กลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่นที่ 15 จำแนกตามสภาพแวดล้อมภายใน ในภาพรวม มีสภาพการบริหารงานวิชาการอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านโครงสร้างและนโยบาย รองลงมาคือ ด้านประสิทธิภาพการเงิน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านผลผลิตและการบริการและด้านการบริหารจัดการ
  2. 2.  สภาพการบริหารงานวิชาการโรงเรียนสังกัดเทศบาล กลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่นที่ 15 จำแนกตามสภาพแวดล้อมภายนอก ในภาพรวม มีสภาพการบริหารงานวิชาการอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการเมืองและกฎหมาย รองลงมา คือ ด้านสังคมและวัฒนธรรม ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือด้านเศรษฐกิจ
  3. 3. กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการ เพื่อรองรับประชาคมอาเซียนของโรงเรียนสังกัดเทศบาล กลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่นที่ 15 ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก 8 กลยุทธ์รองดังนี้ กลยุทธ์หลักที่ 1) พัฒนากระบวนการบริหารวิชาการ เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน  กลยุทธ์รอง 1) พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน กลยุทธ์รอง  2) ส่งเสริมกระบวนการจัดการเรียนรู้ กลยุทธ์รอง 3)พัฒนาครูให้มีศักยภาพและความสามารถ กลยุทธ์หลักที่ 2) พัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพเป็นพลเมืองอาเซียน กลยุทธ์รอง 1) พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะเด็กไทยในประชาคมอาเซียน กลยุทธ์รอง 2 ) ส่งเสริมการเรียนรู้ตามความถนัดและศักยภาพผู้เรียน  กลยุทธ์หลักที่ 3) การสร้างความตระหนักและเจตคติในการเป็นประชาคมอาเซียน กลยุทธ์รอง 1) เสริมสร้างความเข้าใจและการเตรียมความพร้อมครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน กลยุทธ์รอง 2) สร้างความตระหนักและเจตคติที่ดีต่อบทบาททางการศึกษาเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน และกลยุทธ์หลัก
    ที่ 4) ส่งเสริมการบริหารจัดการ โดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม กลยุทธ์รอง ส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และผลการตรวจสอบกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการ เพื่อรองรับประชาคมอาเซียนของโรงเรียนสังกัดเทศบาล กลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่นที่ 15 มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย (2558).

ชรัติ อุ่นสัมฤทธิ์. (2550). การนำเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา
ของกองทัพบกเพื่อส่งเสริมความมั่นคงของชาติ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต).

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเพมหานคร.

ดาราวรรณ สุขคันธรักษ์. (2556). ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐานสู่ประชาคมอาเซียน. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กรุงเทพมหานคร.

ต่อตระกูล บุญปลูก. (2557). การเตรียมความพร้อมด้านการจัดการเรียนรู้ของครูและผู้บริหารสถานศึกษา
สู่ความเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558: กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านเวียงพานในสังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงราย
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

เทิดพงษ์ ศรีวิเศษ. (2557). การบริหารสถานศึกษาเพื่อความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต.
กรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสรวิศ ทนุการ. (2559).
ความพร้อมในการพัฒนาสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. นครปฐม. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554)
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี 2550. และที่แก้ไข เพิ่มเติม

(ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2554. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา.
Koontz, H. and H. Weihrich. (1990). Essentials of Management. New York : Mc Graw – Hill Book

Company.
รายงานการวิเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่นที่ 15 ปีการศึกษา 2557 (2557 :117- 123)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-05-2018

How to Cite