คุณลักษณะครูในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนที่มีนักเรียนข้ามวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • Tanyaporn Promkan
  • Tanyaporn Promkan

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบเชิงสำรวจ และองค์ประกอบเชิงยืนยันของคุณลักษณะครูในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนที่มีนักเรียนข้ามวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย  ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูที่สอนอยู่ในโรงเรียนที่มีนักเรียนข้ามวัฒนธรรม อำเภอเชียงของ เชียงแสน และแม่สาย จังหวัดเชียงราย จำนวน 1,000 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามคุณลักษณะ โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.978 ผลการศึกษาพบว่าประกอบด้วย 10 องค์ประกอบสำคัญ คือ องค์ประกอบด้านการเป็นนักประเมินที่ดี ด้านความรู้ความสามารถและการปรับตัว ด้านทักษะการสื่อสาร ด้านทักษะการสอนและการจัดการเรียนรู้อย่างเชี่ยวชาญ ด้านสมรรถนะทางวัฒนธรรม ด้านความสามารถในการใช้เทคโนโลยีและการสื่อสาร ด้านจิตวิญญาณความเป็นครู ด้านการเป็นแบบอย่างที่ดี ด้านทักษะทางวัฒนธรรม และด้านการพัฒนาตนเองเพื่อเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่2)พ.ศ.2545
และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่3)พ.ศ.2553. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์. (2556). AEC ทำให้การพัฒนาประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร?. สืบค้นเมื่อ
15 พฤษภาคม 2559, จาก http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/636620.

ฉัตรศิริ ปิยะมล. (มปป.). สถิติขั้นสูงและการวิเคราะห์ข้อมูล. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2559, จาก
http://www.priv.nrct.go.th/ewt_dl.php?nid=1105.

ชุตินันท์ จันทรเสนานนท์. (2552). สมรรถนะเชิงวัฒนธรรม. (ปริญญานิพนธ์ กศ.ด.). จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

ณิชาภา จันทร์เพ็ญ. (2556). การพัฒนาตัวบ่งชี้และแบบวัดสมรรถนะข้ามวัฒนธรรมของครู: การ
ทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของการวัดตามภูมิหลังของครู. (วิทยานิพนธ์การศึกษา
มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

โณทัย อุดมบุญญานุภาพ. (2557). คุณลักษณะครูรุ่นใหม่กับการปฏิรูปหลักสูตรผลิตครูในศตวรรษ
21. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2559, จาก https://mylifeintoday2535.blogspot.com.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (มปป.). คุณลักษณะของครูไทยในอนาคต. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2559,
จาก http://sornorinno.blogspot.com/2010/09/c-c-teacher.html.

ภราดาวิศิษฐ์ ศรีวิชัยรัตน์. (2553). คุณภาพครูและคุณภาพการศึกษา.ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2559,
จาก www.escd.or.th/escd/document/seminar/.../teacher_leader.doc.

ลัดดาวัลย์ สืบจิต. (2556). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม
ฤตินันท์ สมุทร์ทัย. 2556. การวิจัยนาร่องการพัฒนาหลักสูตรการผลิตครูสาหรับศตวรรษที่ 21.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

วิจารณ์ พานิช.(2555). วิถีการสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสด
ศรีสฤษดิ์วงศ์.

สุวณี อึ่งวรากร.(2558). อภิวัฒน์การเรียนรู้สู่คุณภาพการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารเครือข่าย
วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 2 (1), 65-770.

เสรี ชัดแช้ม. (2547). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน. วารสารวิจัยและวัดผลการศึกษา
มหาวิทยาลัยบูรพา, 2(1), 15-42.

สมชาย โพธิ์แก้ว. (2547). คุณลักษณะและความรู้ความสามารถที่พึงประสงค์ของครูในทศวรรษหน้า
(พ.ศ. 2547-2557).(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

สมบูรณ์ สุริยวงศ์. (2550). การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis). กรุงเทพมหานคร:
สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2548). มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน
เลขาธิการคุรุสภา.

อภิณห์พร สถิตย์ภาคีกุลและคณะ. (2556). รายงานการวิจัยการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรการผลิตครู
ในศตวรรษที่ 21 : กรณีศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช:
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

อ่องจิต เมธยะประภาส. (2557). E-Teacher. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2559, จาก
(https://www.gotoknow.org/posts/589309, 2557).

Chiu, Chi-Yue & Hong,Ying-Yi.(2006). Social psychological of culture. Psychology Press.

Diller,Jerry V. & Moule, Jean (2005). Cultural Competence : a primer for educators.

Hammond and Baratz Snowden (2005). A Good Teacher in Every Classroom:The National Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-05-2018

How to Cite