การจัดการทรัพยากรมนุษย์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในมหาวิทยาลัยพิษณุโลก
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการจัดการทรัพยากรมนุษย์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในมหาวิทยาลัยพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การวิจัย ได้แก่ เจ้าหน้าที่ที่เข้ารับการอบรมพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน จำนวน 52 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ที่มีต่อการจัดการทรัพยากรมนุษย์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกรายด้านพบว่า ด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านอื่นอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ ด้านความปลอดภัยและสุขภาพ ด้านการฝึกอบรมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้านพนักงานและแรงงานสัมพันธ์ ด้านค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่น ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน และด้านการสรรหาและคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์ ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ประกอบด้วย ด้านปริมาณงาน ด้านคุณภาพงานด้านเวลาในการทำงาน และด้านค่าใช้จ่าย โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการทรัพยากรมนุษย์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อยู่ในระดับสูงในระดับปานกลางทุกด้าน ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ ควรมีการปรับปรุงนโยบายการสรรหาและคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์ และการประเมินผลการปฏิบัติงาน ให้มีความชัดเจนและโปร่งใส เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น
References
ปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมบางชัน. (ปริญญาบริหารธุรกิจ
มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธนบุรี. กรุงเทพมหานคร.
นงนุช วงษ์สุวรรณ. (2550). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: จามจุรีโปรดักท์.
นาตภา ไทยธวัช. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์และประสิทธิภาพในการ
ปฏิบัติงาน: กรณีศึกษาบริษัท กระจกพีเอ็มเค – เซ็นทรัล จำกัด. (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยธนบุรี. สมุทรปราการ.
ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล. (2543). การออกแบบการวิจัย. (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2550). การจัดการและพฤติกรรมองค์กร. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
สมใจ ลักษณะ. (2552). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. คณะวิทยาการจัดการ. กรุงเทพมหานคร :
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
โสภา ทองอ่อน. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคคลากรวิทยาลัยอาชีวะ ศึกษาพระนครศรีอยุธยา. (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.
Babaei Z, Oormazdi H, Akhlaghi L, Rezaie S, Razmjou E, Soltani-Arabshahi SK, Meamar AR,
Hadighi R. (2012). Molecular characterization of the Iranian isolates of Giardia lamblia:
application of the glutamate dehydrogenase gene. Iranian J Publ Health.37, 75–82.
Best, John W. (1981). Research in Education. (4 th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.
Cronbach, Lee J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper & Row.
Gitman, Lawrence J.; & Carl McDaniel. (2008). The Future of Business: The Essentials. (4th ed.) Ohio:
South Western Cengage Learning.
Likert Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M (Ed.),
Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.
Mondy, R,W.; R.M. Noe; & S.R Premeaux. (1999). Human Resource Management. (7 th ed.). New Jersey:
Upper Saddle River.
Xinzhu Liu & Anne Mills. (2007). Public Ends, Private Means: Strategic Purchasing of Health Services.
Washington DC: World Bank Publications.