ลักษณะการกระจายตัวและระยะห่างของรากต้นมะขามป้อมที่มีผลต่อกำลังรับแรงเฉือนบนลาดเชิงเขา

ผู้แต่ง

  • Surachai Amnuaypornlert

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการกระจายตัวและระยะห่างของรากต้นมะขามป้อมที่มีผลต่อเสถียรภาพของลาดเชิงเขา โดยทำการทดสอบแรงดึงรากต้นมะขามป้อมประสานดินจำนวน 2 ต้น ซึ่งเลือกต้นที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 7.5.เซนติเมตรขึ้นไป เพื่อหาค่ากำลังรับแรงดึงสูงสุดของรากต้นมะขามป้อม และทำการเก็บตัวอย่างดินแบบคงสภาพบริเวณภายในพุ่มต้นไม้เพื่อหาคุณสมบัติทางกายภาพของดินและนำค่าพารามิเตอร์ที่ได้ คือค่า , , , และค่า CR ที่ได้นำมาวิเคราะห์หาค่าอัตราส่วนความปลอดภัยด้วยโปรแกรม KUslope 2.1 โดยกำหนดระยะปลูกสมมุติ คือ 2.0x2.0 , 3.0x3.0 , 4.0x4.0 เมตร และความลาดเอียงสมมุติที่ 25, 30 , 35 , 40 , 45 ,และ 50 องศา เพื่อหาค่าอัตราส่วนความปลอดภัย จากการศึกษาพบว่าค่าอัตราส่วนความปลอดภัยของดินจะเพิ่มขึ้นเมื่อเสริมรากต้นมะขามป้อมบนลาดเอียง

References

[1] กนกศักดิ์ ทรายทา และคณะ (2554) “ศึกษาการกระจายตัวของรากต้นมะค่าที่มีผลต่อเสถียรภาพลาดดิน บริเวณดอยแม่สลองบริเวณโรงแรมเซ็นทรัลฮิลล์” ปริญญานิพนธ์ สาขาวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

[2] เกียรติพงษ์ กว้างปาละ และคณะ (2552) “การศึกษาการกระจายตัวของรากต้นประดู่ป่าที่มีผลต่อการพังทลายของลาดดินอาคารเรียนและปฏิบัติการวิศวกรรมโยธา” ปริญญานิพนธ์ สาขาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงราย

[3] ชูเลิศ จิตเจือจุน (2543) “ศึกษาเปรียบเทียบโปรแกรมวิเคราะห์เสถียรภาพของลาดดิน ในงานก่อสร้างทางวิศวกรรมปฐพีและธรณีโดยทั่วไปวิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์เสถียรภาพ”วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต (วิศวกรรมโยธา) สาขาวิศวกรรมโยธา ภาควิชาวิศวกรรมโยธา: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

[4] ชัยชนะ อนุศิลป์ และคณะ (2546) “ศึกษาการวิจัยเชิงทดลองเพื่อศึกษาคุณสมบัติด้านวิศวกรรมของดินที่เสริมด้วยรากกระถินเทพาและหญ้าแฝก” วิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กรุงเทพ

[5] ดิลกรัตน์ กวาวทอง และคณะ (2551) “การศึกษาการใช้หญ้าแฝกเพื่อเสริมเสถียรภาพเชิงลาดดินและการควบคุมการชะล้างพังทลายของคณะวิศวกรรมโยธา” ปริญญานิพนธ์ สาขาวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

[6] มรรควัฒน์ กระจง และคณะ (2552) “การศึกษาการกระจายตัวของรากต้นสักที่มีผลต่อการพังทลายของลาดดินบริเวณ อาคารเรียนและปฏิบัติการวิศวกรรมโยธา” ปริญญานิพนธ์ สาขาวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

[7] ราตรี วิวัฒน์ฐิติชัย และคณะ (2554) “ศึกษาการกระจายตัวของรากต้นเต็งที่มีผลต่อเสถียรภาพของลาดดิน” ปริญญานิพนธ์ สาขาวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

[8] รัชชานนท์ อริยะมั่ง และคณะ (2552) “การศึกษาปริมาณความหนาแน่นของรากต้นมะค่าโมงที่มีผลต่อหน่วยแรงเฉือนของดิน อาคารเรียนและปฏิบัติการวิศวกรรมโยธา” ปริญญานิพนธ์สาขาวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

[9] รัฐธรรม อิสโรฬาร (2547) “การพัฒนาโปรแกรมวิเคราะห์เสถียรภาพลาดดินด้วยวิธี Generalized Limit Equilibrium” วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมโยธา) สาขาวิศวกรรมโยธา ภาควิชาวิศวกรรมโยธา: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

[10] วิชัย สังวรปทานสกุล และคณะ (2543) “การศึกษาการเปรียบเทียบการวิจัยการเสริมกำลังของดินโดยใช้ราก”ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

[11] Stokes, A. & Mattheck, C. 1996. "Variation of wood strength in roots of forest trees". Journal of Experimental Botany. 47, 693-699.

[12] Abe, K., Ziemer, R. R., (1991b).“Effect of tree roots on a shear zone: modeling reinforced shear strength,” Can. J. For. Res. 21, 1012-1019.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-05-2018

How to Cite