ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทัศนคติเชิงบวกโดยวิธีจิตตปัญญา รายวิชา 161342 การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

ผู้แต่ง

  • Namfon Gunma

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการเสริมสร้างทัศนคติเชิงบวกโดยวิธีจิตตปัญญา  รายวิชา 161342 การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตที่กำลังศึกษาหลักสูตรปริญญาการศึกษาบัณฑิต แขนงวิชาภาษาไทย ชั้นปีที่ 4  ภาคเรียนที่ 3  ปีการศึกษา 2558 กลุ่มเรียนที่ 7 จำนวน 1 ห้องเรียน นิสิตจำนวน 50 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1. แบบทดสอบทัศนคติเชิงบวก  (Positive Attitude Quotient) เป็นมาตรประมาณค่า  5 ระดับ (Rating Scales) 2. นิทาน จำนวน 6 เรื่อง และวิดีโอ จำนวน 3 เรื่อง และ 3. แบบสอบถามความพึงพอใจ ผลการวิจัย สรุปดังนี้

  1. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทัศนคติเชิงบวกโดยวิธีจิตตปัญญา รายวิชา 161342 การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ พบว่า นิสิตมีมุมมอง ความคิดและทัศนคติทางบวก เกิดความรู้สึกที่หลากหลาย มีความต้องการพัฒนาตนเองไปในทางที่ดีขึ้นและจะนำแนวคิดที่ได้จากการจัดกิจกรรมไปใช้ในชีวิตประจำวัน ประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนของตนเองและการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
  2. ผลการทดสอบทัศนคติเชิงบวกหลังจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทัศนคติเชิงบวกโดยวิธีจิตตปัญญา รายวิชา 161342 การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ พบว่า นิสิตร้อยละ 94 เป็นผู้ที่มีทัศนคติเชิงบวก
  3. นิสิตมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทัศนคติเชิงบวกโดยวิธีจิตตปัญญา  รายวิชา 164342 การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายข้อ

References

ครูใจร้าย แต่ได้ใจเรา Sabina Women’s Story. สืบค้นเมื่อวันที่18 พฤษภาคม 2559 จาก
https://www.youtube.com/watch?v=HTkZUZ6PPTw&t=1s

ชลลดา ทองทวี และคณะ.(2551).หนังสือรวบรวมบทความการประชุมวิชาการประจำปี 2551 เรื่อง จิตต

ปัญญาศึกษา การศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์. กรุงเทพฯ:โครงการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.

เชิดชูพระคุณครู Teachers. สืบค้นเมื่อวันที่18 พฤษภาคม 2559 จาก
https://www.youtube.com/watch?v=kktv5MWRmpY

เทิดศักดิ์ เดชคง. (2547). มีดีบ้างไหม?. กรุงเทพฯ: มติชน.

นิภา แก้วศรีงาม.(2547).ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking) พึงคิดว่าทุกปัญหามีทางออก ไม่ใช่ทุกทาง
ออกเป็นปัญหา.วารสารวงการครู,1(12):76-78.

ประเวศ วะสี.(2551).หนังสือรวบรวมบทความการประชุมวิชาการประจำปี 2551 เรื่อง จิตตปัญญาศึกษา
การศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์. กรุงเทพฯ:โครงการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.

พรรณราย ทรัพยะประภา.(2548).จิตวิทยาประยุกต์ในชีวิตและในการทำงาน. กรุงเทพมหานคร.โรงพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตนะ บัวสนธ์. (2551). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. ( พิมพ์ครั้งที่2). นครสวรรค์ : หจก.ริมปิง
การพิมพ์.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ.(2552). บริหารจิตให้…คิดบวก .Productivity World, ปีที่14 ฉบับที่ 83 (พ.ย. – ธ.ค.
2552), หน้า 54-60.

สุธาสินี นาคสินธุ์. (2552). การวิเคราะห์องค์ประกอบของการคิดเชิงบวกของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3. ปริญญา
นิพนธ์ กศ.ม. (จิตวิทยาการแนะแนว). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.

สุธาสินี ใจสมิทธ์.(2559). ใช้ชีวิต เรียนรู้ เปลี่ยนแปลง เติบโต.กรุงเทพมหานคร:คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.

อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา.(2553).ด้วยรักบันดาล นิทานสีขาว เล่มที่ 4. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร:
ฟรีมายด์ พับลิซซิ่ง จำกัด.

อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา.(2554, มิถุนายน 20). ต้องสร้างเด็กให้เป็นคนดีก่อน แล้วความเก่งจะตามมา.
เดลินิวส์, หน้า 23.

อาจารย์ใหญ่ ครูผู้ให้ The Everlasting Teacher. สืบค้นเมื่อวันที่18 พฤษภาคม 2559 จาก
https://www.youtube.com/watch?v=Fc8CaO0LgXA

Best, John W. 1977. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice Hall, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-05-2018

How to Cite