การศึกษาคุณสมบัติกำลังรับแรงอัดและกำลังรับแรงดัดของคอนกรีตผสมเศษเซรามิค

ผู้แต่ง

  • Surachai Amnuaypornlert

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติกำลังรับแรงอัดและกำลังรับแรงดัดของคอนกรีตผสมเศษเซรามิคประเภทภาชนะเครื่องใช้จากโรงงานในจังหวัดพะเยา โดยการแทนที่มวลรวมละเอียดและมวลรวมหยาบด้วยเศษเซรามิคในอัตราส่วนผสมร้อยละ 2.5, 5 และร้อยละ 5, 10 ตามลำดับ โดยเปรียบเทียบกับตัวอย่างคอนกรีตควบคุมที่ไม่ผสมเศษเซรามิค ซึ่งศึกษาทดสอบกำลังรับแรงอัดที่อายุ 3, 7, 28 และ 56 วัน และการทดสอบกำลังรับแรงดัด โดยออกแบบส่วนผสมคอนกรีตเท่ากับ  210, 240, 280 ksc. จากการศึกษาพบว่าเศษเซรามิคที่นำมาผสมในคอนกรีตทำให้กำลังรับแรงอัดเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันเมื่อเพิ่มเศษเซรามิคแทนที่ทรายมากขึ้นจะทำให้กำลังรับแรงอัดลดลง ซึ่งอัตราส่วนที่เหมาะสมและให้กำลังรับแรงอัดสูงสุดคือ เศษเซรามิคแทนที่ทรายร้อยละ 2.5 และแทนที่หินร้อยละ 10 ซึ่งมีค่ากำลังอัดเฉลี่ยมากกว่าตัวอย่างคอนกรีตควบคุมคิดเป็นร้อยละ 103.43 และค่ากำลังรับแรงดัดเฉลี่ยของคานคอนกรีตที่ผสมเศษเซรามิคมีค่ามากกว่าตัวอย่างคานคอนกรีตควบคุมทุกอัตราส่วนการออกแบบส่วนผสมคอนกรีตคิดเป็นร้อยละ 113.15

References

[1] ชัชวาลย์ เศรษฐบุตร (2552) “หนังสือคอนกรีตเทคโนโลยี (Concrete Technology)”; พิมพ์ครั้งที่ 8กรุงเทพฯ;คอนกรีตผสมเสร็จซีเแพค

[2] ณัฐพล สาวรัมย์ และคณะ (2554) “ศึกษาผลกระทบของวัสดุเหลือทิ้งเซรามิคที่ใช้เป็นมวลรวมหยาบต่อกำลังอัดและความทนทานของคอนกรีต”;วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น

[3] ดรุณี วัฒนศิริเวช (2554) “เซรามิคในอุตสาหกรรม (Industrial ceramics)”; พิมพ์ครั้งที่ 1 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

[4] ทวีชัย สำราญวานิช และคณะ (2550) “ศึกษาพฤติกรรมและวิธีการคำนวณกำลังรับแรงดัดของคานคอนกรีตเสริมเหล็กที่ผสมเส้นใย”; วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยบูรพา

[5] ธีระ เทพพรหม (2552) “ศึกษากำลังอัดของคอนกรีต โดยใช้หินฝุ่นเป็นส่วนผสมแทนทรายหยาบ”;วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

[6] นันทชัย ชูศิลป์ และคณะ (2556) “ศึกษาสมบัติเชิงกลของคอนกรีตผสมกระเบื้องเซรามิคที่ใช้แล้วแทนมวลรวมหยาบเสริมเส้นใยเหล็กที่เหลือทิ้งจากการกลึง”; วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

[7] ปริญญา จินดาประเสริฐ (2552) “หนังสือคอนกรีตเทคโนโลยี”; พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ; สมาคมคอนกรีตไทย; บริษัทปูนซีเมนต์อุตสาหกรรม

[8] มาตรฐานงานช่าง มยธ. “(ท) 105.2-2534 มาตรฐานการทดสอบการรับแรงดัดของคอนกรีตกรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทย”

[9] มาตรฐาน “American Society of Testing Materials ASTM C 39: Standard Test Method For Compressive Strength of Cylindrical Concrete Specimens)”

[10] มาตรฐาน “American Society of Testing Materials ASTM C 78: Standard Test Method for Flexural Strength of Concrete (Using Simple Beam with Third-Point Loading)”

[11] เรืองรุชดิ์ ชีระโรจน์ “การทดสอบวัสดุ (Construction Lab)”[ออนไลน์]เข้าถึงได้จาก:http://raungrut.sungkomonline.com/ [สืบค้นเมื่อ] 7 กรกฏาคม 2558

[12] วินิต ช่อวิเชียร (2544) “หนังสือคอนกรีตเทคโนโลยี (Concrete Technology)”; พิมพ์ครั้งที่ 9 กรุงเทพฯ;ป. สัมพันธ์พาณิชย์.

[13] สหเทพ ทองคล้าย และกิตติพงษ์ กิมะพงศ์ (2554) “ศึกษาการนำกากดินตะกอนจากการผลิตกระเบื้องหลังคาเซรามิคมาเป็นส่วนผสมทดแทนผงอลูมิเนียม”; วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

[14] Nuran Ay, Mevlut Unal “The use of waste ceramic tile in cement production”, Cement and Concrete Research 30 497-499, 2000.

[15] R.M.Senthamarai and P. Devadas Manoharan, “Concrete With Ceramic Waste Aggregate”, Elsevier, Cement and Concrete Composites, No. 27, Pp. 910-913, 2005.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-05-2018

How to Cite