ความสามารถของผู้จัดทำบัญชีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • Ratchanok Phramsiri
  • Butsanee Thawa
  • Nathawat Prangam

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสามารถของผู้จัดทำบัญชีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความสามารถของผู้จัดทำบัญชีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความสามารถของผู้จัดทำบัญชีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง สรุปเป็นแนวทางในการดำเนินงานต่อไปกลุ่มตัวอย่างได้แก่ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 105 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ T-Test

ผลจากการศึกษา พบว่า ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความสามารถของผู้จัดทำบัญชีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก การเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งจำแนกตามเพศ เกี่ยวกับความสามารถของผู้จัดทำบัญชีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก รายด้านในภาพรวม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณาตามรายด้าน พบว่า ทุกด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะและสิ่งที่ควรปรับปรุง ได้แก่ ประเด็นที่ 1 พนักงานบัญชีกองทุนหมู่บ้านต้องมีความสามารถในการใช้แบบฟอร์มทางการบัญชี ตามที่ระบุในคู่มือการจัดทำบัญชีได้อย่างถูกต้อง ประเด็นที่ 2 พนักงานบัญชีกองทุนหมู่บ้านต้องมีความละเอียดรอบคอบในการทำงาน ประเด็นที่ 3 หน่วยงานที่จัดการฝึกอบรมต้องสร้างหลักสูตรฝึกอบรมด้านการบัญชีได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่กองทุนหมู่บ้านต้องการ และประเด็นสุดท้าย พนักงานบัญชีของกองทุนหมู่บ้านต้องมีความเป็นอิสระในการทำงาน (ไม่ถูกครอบงำโดยบุคคลอื่น)

References

กรวิกา อรินใจ. (2553). แนวทางการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านหนองโบสถ์ อำเภอสันทราย จังหวัด
เชียงใหม่. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

เกศสุดา ปินไชย และอาวรณ์ โอภาสพัฒนากิจ. (2551). แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านหนองโบสถ์ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

เรืองศิลป์ ภูแก้ว. (2554). ความคิดเห็นของสมาชิกที่มีต่อการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน บ้านโคกสี
ทองหลาง ตำบลโคกสีทองหลาง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม.

(รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. ชัยภูมิ.
สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. (2554). คู่มือบัญชีกองทุนหมู่บ้านและ
ชุมชนเมืองแห่งชาติ พัฒนา หลักสูตรโดยทีมงานธนาคารออมสิน. กรุงเทพฯ : สหพัฒนการพิมพ์.

สำนักงานสถิติจังหวัดพิษณุโลก. (2555). รายงานข้อมูลที่สำคัญของจังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. 2554. พิษณุโลก.

สิริรัตน์ เกียรติพิริยะ. (2553). ประสิทธิผลการดำเนินงานโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในเขต
อำเภอเมืองนครสวรรค์. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
นครสวรรค์.

สุชาติ พึ่งสาย. (2550). การศึกษาผลการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง : กรณีกองทุนหมู่บ้าน
ของตำบลบ้านคลองสวน อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ. (วิทยานิพนธ์
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี. กรุงเทพมหานคร.

อรลักษณ์ วิชัยธรรม. (2550). การบริหารระบบการควบคุมภายในของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ใน
เขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. (บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

Best; J. W. (1981). Research in Education (4th ed.). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.

Valenzuela, Carlos R. (1992). Remote sensing and geographical information systems for
resource management in developing countries. Dordrecht : Kluwer Academic.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-05-2018

How to Cite