พฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกซื้อและใช้รถยนต์กระบะ ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง

ผู้แต่ง

  • Suthichai Punyaroj

บทคัดย่อ

   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกซื้อและใช้รถยนต์กระบะปิกอัพในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างซึ่งจำแนกตามเพศ เกี่ยวกับสภาพพฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกซื้อและใช้รถยนต์กระบะปิกอัพในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 3)เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสำคัญต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกซื้อและใช้รถยนต์กระบะปิกอัพในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่างผู้วิจัยได้กำหนดกลุ่มตัวอย่าง โดยเลือกจาก ประชาชนผู้ใช้รถกระบะในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-Test และ ค่าความถี่จากการศึกษา พบว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกซื้อและใช้รถยนต์กระบะปิกอัพในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ด้านวัตถุประสงค์ของการซื้อรถยนต์ ส่วนใหญ่ใช้เป็นรถบรรทุกสินค้า คิดเป็นร้อยละ 27.00  ด้านการได้รับข่าวสารเกี่ยวกับรถกระบะ ส่วนใหญ่รับทราบโดยวิธีการป้ายโฆษณา คิดเป็นร้อยละ 25.00 ด้านแนวโน้มการซื้อรถกระบะ ต้องการซื้อ คิดเป็นร้อยละ 68.00  ด้านระยะเวลาในการตัดสินใจซื้อรถกระบะครั้งต่อไป ไม่เกิน 1 ปี คิดเป็นร้อยละ 66.17จากการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งจำแนกตามเพศ ที่มีต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกซื้อและใช้รถยนต์กระบะปิกอัพในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง  รายด้านในภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และทั้ง 4 ด้านไม่แตกต่างกันด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสำคัญต่อการเลือกซื้อและใช้รถยนต์กระบะปิกอัพ ของผู้บริโภคในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ในภาพรวม อยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านการส่งเสริมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์และการบริการ ด้านช่องทางราคาการจัดจำหน่าย และด้านราคา ตามลำดับ

References

กฤษฎา ช่อขำ. ( 2550). การรับรู้ข้อมูลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์กระบะ ยี่ห้ออีซูซุ ของผู้บริโภค
จังหวัดปทุมธานี. [ออนไลน์].https://www2.citu.tu.ac.th/citu/
www/sites/all/themes/maxx/research_student/Aree.pdf (สืบค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2559)

วัชชิรานนท์ ทองเทพ. (2547). ความร่วมมือในการทำข่าวระหว่างสำนักข่าวไทยกับสำนักข่าวต่างประเทศหลังการเปลี่ยนแปลงสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อ.ส.ม.ท.สู่ภาพลักษณ์การเป็นสถานีโทรทัศน์ แห่งความทันสมัย: Modernine Television. การค้นคว้าอิสระ วารสารศาสตร์มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท. ข่าวสด. [ออนไลน์ ]. https://www.khaosod.co.th/car- vehicle/news_60807 (สืบค้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน. 2559)

ศิริรัตน์ ปิติพัฒนพงศ และดร.ไกรชิต สุตะเมือง. ( 2557). ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อรถยนต์ที่ผลิตมิ
จากประเทศจีน ในเขตกรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล: กรณีศึกษารถยนต์ยี่ห้อเฌอรี่ [ออนไลน์ ].
https://thaiejournal.com/journal/2557volumes1/24.pdf (สืบค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2559)

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

สุรเชษฐ์ ติงสมิตร. (2548). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์นิสสันในเขตกรุงเทพมหานคร
สารนิพนธ์ บธ.ม. (การตลาด). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.

สมเดช มุงเมือง; ณัฐกิตต์ เฮงตระกูล; และวิรุณสิริ ใจมา. (2551). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อ
การตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลมือสองใน จังหวัดเชียงรายของผู้บริโภค. สารนิพนธ์
บธ. ม.เชียงราย: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.ถ่ายเอกสาร.

อารีย์ เขาจารีและสุพัชรจิต จิตประไพ. (2554). การบริหารประสบการณ์ลูกค้าของศูนย์บริการ ISUZU UNT
Club. บริษัท อีซูซุอึ้งง่วนไต๋ จำกัด.

อุทุมพร แม้นศิริกุล (2550 ). ปัจจัยด้านการปฏิบัติงานที่มีผลต่อคุณภาพการให้บริการของศูนย์บริการโต้โยต้า ใน
จังหวัดปทุมธานี. [ออนไลน์]. https://www.facebook.com/Toyotaunt/info?tab=p a ge_info
(สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2559)

Kotler, Philip.(2007). การจัดการการตลาด ฉบับเอเชีย. แปลโดยอุทิส ศิริวรรณ. กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น
อินโดไชน่า, 2007

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-05-2018

How to Cite