การเปรียบเทียบประสิทธิภาพทางความร้อนของเตาหลอมโลหะอลูมิเนียมแบบเบ้าหลอม ที่ใช้เชื้อเพลิงน้ำมันหมูร่วมก๊าซปิโตรเลียมเหลวและน้ำมันดีเซล

ผู้แต่ง

  • Supakiat Supasin
  • Sumpun Chaitep
  • Saritporn Vittayapadung

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการทดสอบเตาหลอมโลหะอลูมิเนียมแบบเบ้าหลอมระหว่างน้ำมันหมูร่วมกับก๊าซปิโตรเลียมเหลวมาเปรียบเทียบกับเตาหลอมโลหะอลูมิเนียมที่ใช้เชื้อเพลิงน้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง โดยทำการหลอมโลหะอลูมิเนียมขนาดน้ำหนัก 4 กิโลกรัมในการทดสอบ ผลการทดสอบพบว่า เตาหลอมโลหะอลูมิเนียมแบบเบ้าหลอมโดยใช้เชื้อเพลิงน้ำมันหมูร่วมกับก๊าซปิโตรเลียมเหลวประสิทธิภาพทางความร้อน 6.47% มีการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงก๊าซปิโตรเลียมเหลวเท่ากับ 59.93 kW มีค่าใช้จ่ายเท่ากับ 73.88 บาท และใช้น้ำมันหมูเท่ากับ 60.93 kW มีค่าใช้จ่ายเท่ากับ 26.56 บาท ค่าใช้จ่ายโดยรวมในการหลอมเท่ากับ 100.44 บาท ส่วนเตาหลอมโลหะอลูมิเนียมที่ใช้น้ำมันดีเซลมีประสิทธิภาพทางความร้อนเท่ากับ 6.64%  มีความสิ้นเปลืองน้ำมันดีเซลเท่ากับ 113.01 kW มีค่าใช่จ่าย 150 บาท จึงเป็นแนวทางในการใช้พลังงานทดแทนอีกทางหนึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายจากเดิมที่ใช้เชื้อเพลิงน้ำมันดีเซลในกระบวนการหลอมโลหะ

References

[1] Supasin, S. and Chaitep, S. (2008). Lard as an Alternative Fuel Replacing Diesel Oil in Crucible Furnace. The 2nd Symposium on Engineering and Architecture for the Sustainable Development in the Greater Mekong Sub-Region, Luang Prabang, Laos. pp 91-94.

[2] Supasin, S. and Chaitep, S. and Vorayos, N. (2008). Design of Burner for Aluminum Crucible Furnace using Liquefied Petroleum Gas (LPG) and Land Oil as Fuels. The 15th Tri-University International Joint Seminar and Symposium, Zhenjiang, China. pp 194-197.

[3] สัมพันธ์ ไชยเทพ ศุภเกียรติ สุภสินธุ์ พีรพันธ์ บางพาน และ พัฒนโชค สายอ้าย. (2551). การวิจัยออกแบบสร้างหัวเผาเพื่อใช้ในเตาหลอมโลหะอลูมิเนียมแบบเบ้าหลอมโดยใช้เชื้อเพลิงก๊าซปิโตรเลียมเหลวและน้ำมันหมู. การประชุมวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชน แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1. 15-16 ธันวาคม 2551. มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก. หน้า 159-168.

[4] เจษฎายุทธ ดงเทียม และ สมเพียร นามกุล. (2548). เตาหลอมเศษอลูมิเนียมแบบต่อเนื่อง. รายงานปริญญาตรีนิพนธ์ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

[5] ธวัชชัย สิทธิสระดู่. (2547). การปรับปรุงสมรรถนะของเตาหลอมทองแดงโดยใช้อุปกรณ์อุ่นอากาศ.วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[6] ธนาคม สุนทรชัยนาคแสง. (2547). การถ่ายเทความร้อน. สำนักพิมพ์ท้อปจำกัด. กรุงเทพฯ.

[7] สุนันท์ ศรันยนิตย์. (2545). การถ่ายเทความร้อน. พิมพ์ครั้งที่ 1: สำนักพิมพ์สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น). กรุงเทพฯ.

[8] ขจร ธนวัฒน์โกวิท, ชัยณรงค์ โปร่งจิต และ ณัฏฐพงษ์ เพชรนิล. (2537). การออกแบบและสร้างหัวเผาโดยใช้น้ำมันพืชเป็นเชื้อเพลิง. รายงานปริญญาตรีนิพนธ์ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-05-2018

How to Cite