การออกแบบและสร้างระบบควบคุมความเป็นกรด-ด่าง และออกซิเจนละลายน้ำ ในบ่อเลี้ยงปลาแฟนซีคาร์พ

ผู้แต่ง

  • Nitipong Somchaiwong
  • Thanaphol Intayuang
  • Anuruk Paoka
  • Issaret Namaung

คำสำคัญ:

การตัดสินใจซื้อ, ยางรถกระบะ, ส่วนประสมทางการตลาด, ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร, ปัจจัยส่วนบุคคล

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการออกแบบระบบวัด และควบคุมความเป็นกรด-ด่าง(pH) ออกซิเจนละลายน้ำ(DO) ประกอบด้วยเซ็นเซอร์วัดค่าความเป็นกรด-ด่าง และเซ็นเซอร์วัดค่าออกซิเจนละลายน้ำ เป็นอุปกรณ์ตรวจวัดส่งค่าไปยังอุปกรณ์ควบคุมในการประมวลผลค่าที่ได้จากอุปกรณ์ตรวจวัด ไปสั่งการชุดควบคุมความเป็นกรด-ด่าง ชุดควบคุมค่าออกซิเจนละลายน้ำอัตโนมัติ โดยใช้วิธีปรับค่าความเป็นกรด-ด่าง ด้วยการเติมสารละลายเข้มข้นด่าง(น้ำปูนขาว) และสารละลายเข้มข้นกรด(น้ำส้มสายชู) นำไปปรับค่าความเป็นกรด-ด่าง ในบ่อทดลองขนาด 10.5 ลูกบาศก์เมตร ให้มีค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ระหว่าง 7.0-7.5 และทำการปรับค่า ออกซิเจนละลายน้ำ ให้มีค่าไม่น้อยกว่า 7 มิลลิกรัมต่อลิตร ด้วยการควบคุมความเร็วรอบของปั๊มเติมอากาศ จากผลการวิจัยพบว่า ระบบควบคุมความเป็นกรด-ด่าง และออกซิเจนละลายน้ำ สามารถควบคุมค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ในช่วง 7.0-7.5 และสามารถควบคุมค่าออกซิเจนโดยการเติมอากาศลงในน้ำเพื่อให้ได้ค่าไม่น้อยกว่า 7 มิลลิกรัมต่อลิตร

References

เกียรติศักดิ์ ชินาภาษ. (2548). เครื่องควบคุมระดับค่าพีเอชแบบอัตโนมัติสำหรับบ่อเลี้ยงกุ้งก้ามกราม.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

เกวลิน คุ้มรักษ์. (2555). ระบบติดตามสภาพน้ำบ่อปลาเพื่อธุรกิจปลาสวยงาม. วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน.

กีรดิษ สายพัทลุง. (2557). ระบบควบคุมการเติมออกซิเจนแบบอัตโนมัติในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำโดยใช้พลังงานทดแทนร่วม. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

จักรกฤช สุขุมทอง. (2555). การวัดปริมาณออกซิเจนละลายน้ำโดยใช้เครือข่ายตรวจวัดแบบไร้สายด้วยระบบปฏิบัติการ TinyOS. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ธวัชชัย ทองเหลี่ยม, วีระศักดิ์ ชื่นตา, หฤทัย ดิ้นสกุล และบรรเจิด เจริญพันธ์. (2556). ระบบตรวจวัดคุณภาพน้ำและประมวลผลแบบอัตโนมัติสำหรับกระชังปลาทับทิม. การประชุมวิชาการงานวิจัยและพัฒนาเชิงประยุกต์ ครั้งที่ 6.

ธรรมพันธุ์ ภาสบุตร, ปฐมาภรณ์ ศรีผดุงธรรม.(2552). ระบบเพิ่มออกซิเจนในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำอัตโนมัติโดยใช้ลังงานจากเซลล์แสงอาทิตย์. การประชุมวิชาการงานวิจัยและพัฒนาเชิงประยุกต์ ครั้งที่ 1, ECTI-CARD 2009, 4 - 6 พฤษภาคม 2552, กรุงเทพฯ.

วิภา ประพินอักษร. (2546). อัตราบริโภคออกซิเจนของปลาสวยงามบางชนิด. วิทยานิพนธ์เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อนุศักดิ์ ประพัฒน์. (2551). ระบบตรวจสอบปริมาณออกซิเจนในน้ำโดยอัตโนมัติโดยใช้เครือข่ายเซ็นเซอร์ไร้สายสำหรับฟาร์มกุ้ง. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Boyd, C. E. 1979. Water Quality in Warmwater Fish Ponds. Agriculture Experiment Station,Auburn University, Auburn, Alabama.
James A Mueller, William C. Boyle, H. Johannes Popel. (2002). Aeration: principles and practice, 11rd, CRC Press.

Lawson, T.B. (1995). Fundamentals of Aquaculture Engineering. Chapman and Hall, NewYork.

M.López, J.M. Gómez, J. Sabater, A. (2010). based Wireless monitoring of pH and temperature in a fish farm. Herms IEEE 802.15.4

Moein Faramarzi, Saeed Kiaalvandi, Farnaz Iranshahi and Dara Mirzabaghery. (2011). Influence of Different pH Levels on Growth Performance, Survival Rate And Two Blood Factors of Common Carp(Cyprinus carpio). Global Veterinaria.

Tor-Inge Kvaksrud. (2006). Range Measurements in an Open Field Environment, Design Note DN018, Texas Instrument.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-05-2018

How to Cite