การศึกษาความผูกพันต่อองค์การของครูในสถานศึกษาคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • Boonsanti Prathumpee

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของครูในสถานศึกษาคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลนครราชสีมา จำแนกตามเพศ อายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การทดสอบ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One-way ANOVA และตรวจสอบความแตกต่างเป็นรายคู่       โดยวิธีการตรวจสอบความแตกต่างของเชฟเฟ่ (Scheffe´) ผลการวิจัยพบว่า 1)  ความผูกพันต่อองค์การของครูในสถานศึกษาคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลนครราชสีมา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2)  ความผูกพันต่อองค์การของครูในสถานศึกษาคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลนครราชสีมา จำแนกตามเพศ โดยภาพรวมและรายด้านพบว่า ครูที่มีเพศต่างกันมีความผูกพันต่อองค์การไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  3)  ความผูกพันต่อองค์การของครูในสถานศึกษาคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลนครราชสีมา จำแนกตามอายุ โดยภาพรวมพบว่า ครูที่มีอายุต่างกันมีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  4)  ความผูกพันต่อองค์การของครูในสถานศึกษาคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลนครราชสีมา จำแนกตามวุฒิการศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านพบว่า มีความผูกพันต่อองค์การไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  5)  ความผูกพันต่อองค์การของครูในสถานศึกษาคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลนครราชสีมา จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน โดยภาพรวมและรายด้าน พบว่า มีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

จิราพร ล่ากระโทก. (2556). ความผูกพันต่อองค์การของครูสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดตราด. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ (Organizational Behaviors). กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ธารินี สุเพ็งคำ. (2552). ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครู สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษา ข่อนแก่น เขต 4. รายงานการศึกษาอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พรทิพย์ แสงจันทร์ผ่อง. (2552). ความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี 3 ฉะเชิงเทรา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

มณีกาญจน์ เวียงรัตน์. (2556). ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอวัฒนานคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

รันตญา กอกเชียงแสน. (2556). ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัท ฮีโน่ มอเตอร์ส แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด.
งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิทยา ด่านธำรงกุล. (2546). การบริหาร. กรุงเทพฯ : เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น.

วิภาดา คุปตานนท์. (2551). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ : เทคนิคการจัดการสมัยใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ส เจริญ การพิมพ์.

วิภาส ทองสุทธิ์. (2552). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : อินทรภาษ.

ศิริพร ไทยกรณ์. (2554). ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

สมยศ นาวีการ. (2549). การบริหารและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : กรุงธนพัฒนา.

สุธาวัลย์ แจ้งประจักษ์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานครู สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียนเทศบาลกลุ่มการศึกษาท้องถิ่น ที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2549). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่ : แนวคิดและทฤษฎี. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Collins, Laurene E. (2011). Will they stay? Exploring mission attachment and organizational commitment among employees in a nonprofit organization. A Dissertation for the Degree Doctor of Philosophy, Capella University.

Greenberg, J. and R. A. Baron. (2008). Behavior in organization. 9th ed. Upper Saddle River, New Jersey : Pearson Education.

Kumar, Arun S. (2014). “An empirical study: relationship between employee motivation, satisfaction and organizational commitment”. Int. J. Manag. Bus. Res. 4(2) : 81-93.

Meyer, J. P. and N. J. Allen. (1991). “A three-component conceptualization of organizational commitment”. Human Resource Management Review. 1(1) : 61-89.

Weng, Qingxiong and others. (2010). “The relationship between career growth and organizational commitment”. Journal of Vocational Behavior. 77(3) : 391-400.

Yamane, Taro. (1973). “Statistics : An introductory analysis”. 3rd ed. New York : Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-05-2018

How to Cite